ข้อมูลเศรษฐกิจปี 2561
GDP – USD 8.36 แสนล้าน หรือ 5.61 ล้านล้านหยวน (+7.1%)
GDP per Capita – USD 14,907 (98,643 หยวน)
CPI – 2.3%
การค้ากับต่างประเทศ – USD 4.24 แสนล้าน (2.85 หยวน)
มูลค่าการนำเข้า – USD 1.09 แสนล้าน หรือ 7.33 ล้านล้านหยวน (+19.0%) โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ พลาสติก แร่เหล็ก เศษโลหะ น้ำมัน และตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ อาเซียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน
มูลค่าการส่งออก – USD 3.15 แสนล้าน หรือ 2.11 ล้านล้านหยวน (+9.0%) โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียนญี่ปุ่น รัสเซีย
การค้ากับไทย – USD 4,255.65 ล้าน (+1.83%) โดยเจ้อเจียงนำเข้าสินค้าจากไทย USD 1,401.15 ล้าน (+28.83%) และส่งออกไปไทย USD 2,854.50 ล้าน (-7.67%) ไทยเสียดุลการค้า USD -1,453.36 ล้าน
สินค้านำเข้าจากไทย – (1) พลาสติก (2) ยางพารา (3) เคมีภัณฑ์อินทรีย์ (4) แป้ง/อินูลิน (inulin) (5) เครื่องจักรกลไฟฟ้า
สินค้าส่งออกไปไทย – (1) เครื่องจักรกล (2) เครื่องจักรกลไฟฟ้า (3) พลาสติก (4) ปลา/ผลิตภัณฑ์ทางทะเล (5) เฟอร์นิเจอร์และเตียงนอน
ภาพรวมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ/ นโยบายที่สำคัญของมณฑลเจ้อเจียง
- ภาพรวมมณฑลเจ้อเจียง
1.1 มลฑลเจ้อเจียง (Zhejiang) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจีน เป็นมณฑลชายฝั่งทะเลที่มีความร่ำรวยและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของจีน (รองจากมณฑลกวางตุ้ง เจียงซู และชานตง) ปัจจุบันมีประชากร 57 ล้านคน มีนครหางโจวเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรม ดิจิทัล และเมืองอัจฉริยะของจีน โดยเป็นที่ตั้งของ Alibaba Group ธุรกิจ E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ตั้งเป้าหมายเป็นเส้นทางสายไหมด้านดิจิทัลของจีนและ
มีมูลค่าการค้า E-Commerce ข้ามพรมแดน 13,000 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2562 จัดสรรหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม 16,000 ตัว ผลักดันการประยุกต์ใช้ Big Data/ Cloud Computing/ AI ในภาคอุตสาหกรรม และจะใช้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครบทุกด้านภายในปี 2565
1.2 มีขนาด GDP 5.61 ล้านล้านหยวน (8.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 7.1 และมี GDP ต่อหัว
ของประชากร 98,643 หยวน (14,907 ดอลลาร์สหรัฐ) มีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศ 2.85 ล้านล้านหยวน (4.24 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นที่ตั้งของตลาดค้าส่งอี้อู ตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่ตั้งของท่าเรือหนิงโป-โจวซาน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ Maritime Silk Road ของจีน ซึ่งเป็นท่าเรือระดับโลกและมีปริมาณการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือมากที่สุดในโลกต่อเนื่อง 10 ปี เจ้อเจียงยังมีบทบาทด้านการต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยได้รับเลือกเป็นสถานที่จัดการประชุมผู้นำ G20 ครั้งที่ 11 ที่นครหางโจวเมื่อปี 2559 และการประชุม World Internet Conference ที่เมืองอูเจิ้นในทุกปีตั้งแต่ปี 2557 และจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 ในปี 2565 ที่นครหางโจว
- ผลการดำเนินงานสำคัญของรัฐบาลมณฑลเจ้อเจียงในปี 2561
2.1 ผลักดันการปฏิวัติในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของภาคเอกชน อาทิ ริเริ่มนโยบาย “ดำเนินเรื่องเพียงหนึ่งครั้ง” ซึ่งลดขั้นตอนการติดต่อและดำเนินงานที่ภาคเอกชนจะได้รับจากภาครัฐ โดยร้อยละ 100 สามารถยื่นขออนุมัติได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของทางการ และร้อยละ 63.6 สามารถยื่นขออนุมัติโดยใช้หลักฐานเพียงชนิดเดียว ลดเวลาอนุมัติเอกสารเหลือเพียง 4 วันทำการ ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ มีการทดลองเขตท่าเรือเสรี
มีการส่งมอบเครื่องบินโบอิ้งลำแรกที่ผลิตในโรงงานของบริษัทโบอิ้งแห่งใหม่เมืองโจวซาน (Zhoushan) และ
มีมูลค่าการค้าผ่านระบบออนไลน์ขยายตัวร้อยละ 35
2.2 ผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรม ผลักดันโครงการเศรษฐกิจดิจิทัลให้เป็น “โครงการหมายเลขหนึ่ง” ของรัฐบาลโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านดิจิทัลในทุก ๆ ด้านให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 โดยการผลิตในหมวดเศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่าการเติบโตร้อยละ 13.1 มีโรงงานและสายพานการผลิตไร้มนุษย์เกิดขึ้นใหม่จำนวน 66 แห่ง มีกิจการระบบ Cloud เกิดใหม่กว่า 120,000 แห่ง ปรับสัดส่วนการลงทุนในด้านต่าง ๆ ให้สมดุล โดยมีโครงการเกิดใหม่ในมณฑลเจ้อเจียงจำนวน 326 โครงการ แบ่งเป็นลงทุนในโครงการคมนาคมขนส่งร้อยละ 25.8 ลงทุนในโครงการเทคโนโลยีระดับสูงร้อยละ 22.6 และการลงทุนในภาคเอกชนร้อยละ 17.8
2.3 ผลักดันโครงการก่อสร้างที่สำคัญภายในเมือง ครอบคลุมการคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภค อาทิ ระบบคมนาคมอัจฉริยะ และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในเขตเศรษฐกิจอ่าวหางโจว โดยมูลค่าเศรษฐกิจ
นครหางโจวขยายตัวมากถึง 1.35 ล้านล้านหยวน และหนิงโปขยายตัวมากกว่า 1 ล้านล้านหยวน พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมีนักท่องเที่ยวมากถึง 690 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว
1 ล้านล้านหยวน
- นโยบายสำคัญของรัฐบาลมณฑลเจ้อเจียงในปี 2562
3.1 ส่งเสริมการเติบโตอย่างมั่นคงของกิจการภาคเอกชน ตั้งเป้าหมาย GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ
ออกนโยบาย “บัญชีขาว” เพื่อช่วยเหลือกิจการที่ประสบปัญหาผ่านมาตรการทางลดภาษีและลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่ไม่จำเป็นของภาคเอกชน โดยคาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้มากกว่า 1.5 แสนล้านหยวน
ต่อปี พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ สร้างแพลตฟอร์มการค้าระหว่างประเทศที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น พัฒนาระบบการค้าออนไลน์ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ BRI
3.2 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ในการผลิตที่มีคุณภาพ มีมูลค่าการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 2.6
ของ GDP ขยายตัวร้อยละ 12 ผลักดันโครงการ “Zhejiang Made” เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์
ของผลิตภัณฑ์ ตั้งเป้าแบรนด์คุณภาพใหม่ 300 กิจการ จัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัล 1 หมื่นล้านหยวน สร้างเขตดิจิทัล 100 แห่ง และผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวร้อยละ 15 ประยุกต์ใช้ IoT/ Big Data/ Cloud Computing/ 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ cybersecurity รถยนต์พลังงานใหม่ กิจการสิ่งทอ การแพทย์ อุตสาหกรรม
การบิน มีโครงการอัจฉริยะ 5,000 โครงการ เพิ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะในอุตสาหกรรมการผลิต 1.7 หมื่นตัว
3.3 ส่งเสริมนโยบายการพัฒนาของชาติ พัฒนาเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ส่งเสริมการเปิดกว้างทางการค้า เศรษฐกิจดิจิทัล พัฒนาทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจการภาคเอกชน สนับสนุนเมืองเจียซิง (Jiaxing) ในทุก ๆ ด้านให้รองรับการพัฒนาจากนครเซี่ยงไฮ้ ยกระดับสาธารณูปโภคเขตหมู่เกาะโจวซาน รวมมือในการพัฒนาระเบียงนวัตกรรม G60 (มีชื่อตามเส้นทางหลวง G60 เพื่อมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามเส้นทางหลวง 9 เมืองหลักทางทิศตะวันออกของจีน โดยรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง เจียงซู อานฮุย ร่วมกันประกาศ “ปฏิญญาซงเจียง G60 Science & Technology Innovation Valley”)
3.4 ส่งเสริมโครงการ “4 การก่อสร้างสำคัญ” พัฒนา “กลุ่มเมืองทั้งห้า” ประกอบไปด้วยเมืองหูโจว (Huzhou) เจียซิง (Jiaxing) เส้าซิง (Shaoxing) หวงซาน (Huangshan) และฉวีโจว (Quzhou) ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีให้เป็นกลุ่มเมืองระดับโลก ส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวหางโจว พัฒนาสวนสาธารณะ การคมนาคม และพัฒนาเมือง พร้อมทั้งสนับสนุนเขตหนิงโปโจวซาน เจียซิง และหูโจวให้เป็นเขต “อ่าวดิจิทัล” ที่สำคัญในอนาคต พัฒนาสวนสาธารณะให้สวยงามและดึงดูดนักท่องเที่ยว พัฒนา Transportation Hub โดยเน้นย้ำระบบคมนาคมแบบ “1 ชั่วโมง” ในการเดินทางภายในมณฑลเชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองรอง