ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐเขตปกครองตนเองซินเจียงได้ที่ http://www.xinjiang.cn/
ที่ตั้งและพื้นที่
เขตปกครองตนเองซินเจียงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,660,000 ตร.กม. ซึ่งคิดเป็นพื้นที่หนึ่งในหกของพื้นที่ทั้งประเทศ เขตพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นคือ เป็นพื้นที่แอ่งกะทะและเทือกเขาสลับกัน ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะดังกล่าวเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา
ทิศเหนือมีภูเขาอาร์เอ่อไท้ซาน และพื้นที่แอ่งกระทะจุนก๋าเอ๋อ ทิศใต้มีภูเขาคุนหลุน และพื้นที่แอ่งกระทะถาหลี่มู่ ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะถาหลี่มู่นั้นอยู่ระหว่างเทือกเขาไท้ซานและเทือกเขาคุนหลุนโดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 530,000 ตร.กม. นับเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทะเลทรายกว่า 800,000 ตร.กม. โดยมีทะเลทรายถ่าเค่อลามากัน ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของมณฑล ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอาณาเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 330,000 ตร.กม.
แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำถาหลี่มู่ซึ่งมีความยาว 2,100 กิโลเมตร
เขตปกครองตนเองซินเจียง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต ได้แก่
และเมืองระดับตำบล 17 เมือง ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีเขตเทศบาลอีก 5 เขต ได้แก่
ทรัพยากรธรรมชาติ
ซินเจียงมีแร่ธาตุกว่า 138 ชนิด โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นแร่ธาตุสงวนสำรอง 43 ชนิด และมีน้ำมันปิโตรเลียมสำรองที่ถูกค้นพบในบริเวณแอ่งกะทะเค่อลาหม่าจำนวน 208,600 ล้านตัน ซึ่งแหล่งน้ำมันดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2498 นอกจากนี้ยังมีแก๊สธรรมชาติ 10,300,000 ล้านคิวบิคเมตร
ทั้งนี้น้ำมันและแก็สธรรมชาติในซินเจียงนั้นมีปริมาณคิดเป็นอัตราส่วนที่ได้รับการสำรองทั้งหมดในประเทศจีนอยู่ถึงร้อยละ 30 และร้อยละ 34 ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นเขตที่มีปริมาณน้ำมันปิโตรเลี่ยมและแก็สธรรมชาติมากอยู่ในอันดับสามและอันดับหกของจีน ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีถ่านหินที่ได้รับการสำรองไว้โดยประมาณ 2,190,000 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณร้อยละ 40 ของปริมาณทั้งประเทศ ทั้งนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆอีกได้แก่ แร่ทองแดง ทองคำ แร่เหล็ก เป็นต้น
ในเดือนสิงหาคม ปี 2547 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกครั้งในเขตพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีปริมาณน้ำมันสำรองจำนวน 261 ล้านตัน และแก๊สธรรมชาติ 14.6 ล้านตัน
เดือนธันวาคม 2551 ได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่ ในพื้นที่แอ่งกระทะจุ่นก๋าเอ่อร์ (Dzungarian Basin) มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากกว่า 1 แสนล้านลูกบาศก์เมตร
คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่นี้ได้ในปริมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 50 ปี ทั้งนี้ พื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่เป็นดินหินภูเขาไฟ จากการคาดการณ์ ปริมาณที่ค้นพบในปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณก๊าซที่มีเท่านั้น เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถค้นพบบ่อก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่กว่าที่เคยพบในปัจจุบันได้
เขตปกครองตนเองซินเจียงยังเป็นเขตที่ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์เป็นอันดับสองของประเทศจีน จึงเป็นเขตที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชประเภทเมลอน ยางพารา มะเขือเทศ องุ่นถูหลู่ฟาน ปอ โดยมีปริมาณผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 ของผลผลิตทั้งประเทศ
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
เขตการปกครองตนเองซินเจียง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี ในอดีตถูกปกครองจากชนชาติหลากหลายกลุ่มด้วยกัน และมีการค้นพบปรากฏหลักฐานมนุษย์ยุคหินในซินเจียง ซึ่งเป็นมนุษย์ในยุคสมัยอดีตในช่วง 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในอดีตกษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปี ก่อนคริสตกาล – ปี ค.ศ.1884) ได้เข้ายึดครองพื้นที่ในเขตซินเจียง ต่อมาในสมัยราชวงฮั่นตะวันตกได้มีการสร้างเมืองทางแถบตะวันตกขึ้น และหนึ่งในนั้นคืออาณาเขตเมืองซินเจียงในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยดังกล่าวซินเจียงนับเป็นเขตปกครองสำคัญซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของเส้นทางสายไหมเดิม
ในยุคสมัยต่อมาซินเจียงได้ถูกใช้เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังกับประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมีความยาว 6,440 กิโลเมตร มีระยะทางไปจนถึงอาณาจักรโรมัน โดยทางการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองด่านเก็บภาษี และต่อมาในสมัยกษัตริย์กวงซูแห่งราชวงศ์ชิงได้สถาปนาชื่อเขตซินเจียงขึ้นใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ “ซีเจียง” เป็น “ซินเจียง”
ในปัจจุบัน และมีการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉี (แต่เดิมชื่อเมืองฉีหัว) เป็นเมืองหลวงของเขต ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นเขตปกครองตนเองซินเจียงจวบจนมาถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นของซินเจียงยังมีภาษาและวรรณคดีของชาวอุยเกอร์ ที่เป็นภาษาที่ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นนี้ยังปรากฏในบทกวี ดนตรีและการเต้นรำของชนชาติดังกล่าวในปัจจุบันอีกด้วย
ข้อมูลประชากร
ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญได้แก่
โดยรวมแล้ว ประชากรของซินเจียงเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ประมาณร้อยละ 60.4 และมีชนชาวฮั่นอยู่ร้อยละ 39.6
ปี 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรที่มีงานทำ 12.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 4.6 แสนคน อัตราว่างงานของประชากรในเขตเมืองเท่ากับร้อยละ 3.22
สภาพภูมิอากาศ
รูปแบบการปกครองของเขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง
Agriculture Department | Animal Husbandry Department |
Audit Department | Autonomous Regional General Office |
Civil Affairs Department | Communications Department |
Construction Department | Culture Department |
Development and Reform Commission | Economic and Trade Commission |
Education Department | Environmental Protection Bureau |
Ethnic Affairs Commission (Religious Affairs Bureau) | Finance Department |
Food and Drug Administration | Foreign Affairs Bureau (Overseas Chinese Affairs Office) |
Foreign Trade and Economic Cooperation Department | Forestry Bureau |
Grain Bureau | Health Department |
Industry and Commerce Administration | Justice Department |
Labour and Social Security Department | Land and Resources Department |
Legislative Affairs Office | Local Taxation Bureau |
Personnel Department | Population and Family Planning Commission |
Press and Publication Bureau (Copyright Bureau) | Prison Affairs Bureau |
Public Security Department | Quality and Technical Supervision Bureau |
Radio, Film and Television Bureau | Restructuring Economic System Office |
Science and Technology Department | Sport Bureau |
State-owned Assets Supervision and Administration Commission | Statistics Bureau |
Supervision Department | Tourism Bureau |
Water Resources Department |
เลขาธิการพรรคฯ
ประธานเขตฯ
ปธ.สภาผู้แทน ปชช.
ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐเขตปกครองตนเองซินเจียงได้ที่ http://www.xinjiang.cn/
1. เมืองอูหลู่มู่ฉี
เมืองอูหลู่มู่ฉีถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงของซินเจียงตั้งแต่ปี 2427 นับเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญของนโยบายการพัฒนาเขตตะวันตกของประเทศ และเป็นเมืองสำคัญของซินเจียงที่เชื่อมต่อระหว่างมณฑลอื่นๆ ของจีนรวมถึงเชื่อมไปยังต่างประเทศอีกด้วยโดยตัวเมืองมีพื้นที่ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณตอนเหนือของภูเขาเทียนซาน และตอนใต้ของพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ตร.กม. ซึ่งเมืองหลวงแห่ง
เมืองอูหลู่มู่ฉีได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งถ่านหิน” โดยมีแหล่งถ่านหินใต้ดินที่สำรองไว้กว่า 10 ล้านล้านตัน ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดี นอกจากนั้นเมืองอูหลู่มู่ฉียังมีทรัยพยากรเกลือ แร่ยิปซั่ม น้ำมันปิโตรเลียม ธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก ทองแดง ยูเรเนียม แมงกานีส และทองคำ
สิ้นปี 2559 เมืองอูหลู่มู่ฉีมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3.51 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ 43 ชนชาติ ทั้งนี้ชนชาติหลักๆได้แก่ ชนชาติฮั่น อุยกูร์ คาซัค หุย มองโกเลีย
เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมพื้นฐาน โดยเป็นเขตที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ เมืองอูหลู่มู่ฉียังเป็นแหล่งเพาะปลูกผักและผลไม้ของประเทศจีนที่สำคัญอีกด้วย
เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (รองจากนครซีอัน มณฑลส่านซี) ในขณะที่จีนให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” เมืองอูหลู่มู่ฉีถือเป็นจุดสำคัญบน “One Belt, One Road” ซึ่งเป็นประตูของจีนในการเปิดตัวสู่ทางตะวัน
1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอูหลู่มู่ฉี (Urumqi Economic and Technological Development Zone)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่มีอยู่ภายในเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำมันและถ่านหินที่มีและผลิตได้ในเขตพื้นที่โดยเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเขตที่เน้นการพัฒนาในอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ดังนี้
2. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ (Urumqi New and Hi-tech Industry Development Zone)
มีนโยบายในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การลงทุน และการบริการที่ดีเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนและการทำธุรกิจในเขตนี้ มุ่งเน้นการแข่งขันในอุตสาหกรรม 4 ประเภทได้แก่
ในขณะเดียวกันก็มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดั้งเดิม และเพิ่มศักยภาพของบุคคลากร เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นเขตศูนย์กลางบนแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม รวมทั้งสนับสุนนวัตกรรมของวิสาหกิจเขตฯ มีนโยบายให้เงินรางวัลแก่โครงการเทคโนโลยีในเขตฯ สูงที่สุด 5 ล้านหยวน
พื้นที่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงกว่าร้อยละ 99 สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์รวมไปถึงเขตพื้นที่ชนบทเขตเมืองต่างๆ โดยเส้นทางต่างๆ นั้นมีเมืองอูหลู่มูฉีเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ทางทิศตะวันออกมีถนนเชื่อมไปยังมณฑลกานสู มณฑลชิงไห่ ทิศใต้เชื่อมกับทิเบต ทิศตะวันตกมีถนนออกไปยังประเทศในแถบเอเชียกลาง
สิ้นปี 2559 ทางหลวงในเขตปกครองตนเองซินเจียงมีระยะทางทั้งสิ้น 182,100 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นทางด่วน 4,395 กิโลเมตร (ทางด่วนหลัก 8 เส้นทาง)
พื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนั้นมีเส้นทางรถไฟค่อนข้างน้อย โดยมีเส้นทางรถไฟสำคัญระหว่างเมืองหลานโจวถึงซินเจียงมีระยะทางประมาณ 2,000 กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งเชื่อมต่อเขตพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันตกของจีนเข้าด้วยกัน และมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทางตะวันออกของประเทศจีนกับทวีปยุโรป
ตามแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของจีนฉบับที่ 11 เมื่อถึงปี 2563 เขตปกครองตนเองซินเจียงจะมีเส้นทางรถไฟสายใหม่เพิ่มขึ้น 5 สายหลัก โดยรวมมูลค่าการลงทุนกว่า 26,600 ล้านหยวน ในจำนวนทางรถไฟ เป็นทางรถไฟที่สร้างเชื่อมต่อกับทางรถไฟเดิม 4 สาย และเป็นทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ 1 สาย เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายระบบเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันทั้งประเทศ เพื่อผลักดันระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามแผนการพัฒนา
จนถึงเดือน มิถุนายน 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีสนามบินเปิดให้บริการทั้งหมด 18 แห่ง เป็นมณฑลที่มีสนามบินมากที่สุดของจีน ซึ่งมีเส้นทางการบินภายในประเทศ 195 เส้น และเส้นทางการบินระหว่างประเทศ 40 เส้น
สนามบินนานาชาติของเมืองอู่หลูมู่ฉี มีเส้นทางการบินไปยังประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ยุโรปและแอฟริกา ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2550 รัฐบาลเขตปกครองตนเองซินเจียง การท่าอากาศยานแห่งประเทศจีน และสายการบินเซาส์ไชน่าแอไลน์ ได้ลงทุนร่วมกันเป็นเงินกว่า 2,800 ล้านหยวน เพื่อทำการขยายท่าอากาศยานประจำเมืองอูหลู่มู่ฉีออกไปอีกสามเท่าตัว เพื่อผลักดันให้ท่าอากาศยานดังกล่าวกลายเป็นท่าอากาศยานที่สำคัญแห่งทวีปเอเชียกลาง โดยในปี 2559 ได้รองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคน ติดอันดับที่ 17 ของจีน รวมทั้งรองรับการบรรทุกสินค้า 1.6 แสนตัน ติดอันดับที่ 17 ของจีน
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 13 (ค.ศ. 2559 – 2563)
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2017
รัฐบาลซินเจียงให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง