ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลส่านซีได้ที่ http://www.shaanxi.gov.cn
ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่
ชื่อย่อมณฑล “ส่าน” หรือ “ฉิน” ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลต่างๆ ดังนี้
ระยะทางจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 880 กิโลเมตร และส่วนที่กว้างที่สุดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกมีระยะทางประมาณ 490 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 205,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นเทือกเขา ร้อยละ 36 ที่ราบสูง ร้อยละ 45 และที่ราบลุ่ม ร้อยละ 19 พื้นที่ของมณฑล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ มีภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูเขาไท่ป๋าย (สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,767 เมตร) และภูเขาฮว่าหลง (สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,917 เมตร) มณฑลส่านซีมีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเว่ย แม่น้ำจิง แม่น้ำลั่ว และแม่น้ำอู๋ติ้ง ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) นอกจากนี้ มณฑลส่านซียังเป็นจุด “ต้า ตี้ หยวน เตี่ยน” หรือ จุดศูนย์กลางแผ่นดินของประเทศจีนซึ่งอยู่ที่ตำบลหย่งเล่อ อำเภอจิ่งหยัง เมืองเสียนหยาง
ข้อมูลประชากร
สถิติจากสำนักงานสำรวจประชากรมณฑลส่านซี ปี 2559 มณฑลส่านซีมีประชากรทั้งหมด 38.12 ล้านคน
สภาพภูมิอากาศ
ภูมิอากาศในสานเป่ยและส่านหนานแตกต่างกันมาก มักเกิดฝนแล้งและน้ำท่วมฉับพลันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่สานเป่ย ซึ่งมีพรมแดนติดกับทะเลทรายของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทำให้อากาศค่อนข้างแปรปรวน อากาศแห้งแล้งและมีฤดูหนาวยาวนาน ในส่วนทางใต้ของมณฑล มีอากาศชื้นและไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของมณฑลอยู่ระหว่าง 9-16 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 396-802 มิลลิเมตร/ปี
ทรัพยากรสำคัญ
บริเวณตอนบนของมณฑลส่านซีกลายเป็นเขตรองรับทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะทรัพยากรด้านพลังงาน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 41 ล้านล้านหยวน จัดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ มีปริมาณถ่านหินที่สำรวจพบแล้วราว 164,300 ล้านตัน น้ำมันดิบที่สำรวจพบมีปริมาณ 1,000 ล้านตัน ก๊าซธรรมชาติตามการคาดการณ์อยู่ที่ราว 6-8 ล้านล้านลูกบาก์ศเมตร (สำรวจพบแล้ว 480,000 ล้านลูกบาศ์กเมตร) ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรด้านพลังงาน ทำให้อุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยถ่านหินที่ผลิตได้มีคุณภาพดี ให้ความร้อนสูง และมีขี้เถ้า ซัลเฟอร์ และฟอสฟอรัสต่ำ
นอกจากนี้ เงื่อนไขทางธรรมชาติและสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ทำให้มณฑลส่านซีมีทรัพยากรพืชและสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเขตภูเขาฉินปาทางตอนใต้ของมณฑล ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภูมิอากาศแบบเขตเหนือ-ใต้ มีสมุนไพรจีนหลากหลายจนถูกขนานนามว่าเป็นคลังทรัพยากรพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
มณฑลส่านซีเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยในเป็นอดีตเป็นศูนย์กลางการปกครองของจีนถึง 13 ราชวงศ์ (ตั้งแต่ราชวงศ์โจวตะวันตกถึงราชวงศ์ถัง) รวมระยะเวลาทางประวัติศาสตร์กว่า 3,000 ปี ซึ่งปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานทางโบราณสถาน และโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย
มณฑลส่านซียังเป็นแหล่งกำเนิดการปฏิวัติแห่งประเทศจีน โดยประธานเหมาเจ๋อตุงและพรรคก๊กมินตั๋งได้มาพำนักในพื้นที่ตอนบนของมณฑลส่านซี เพื่อเป็นฐานบัญชาการการปฏิวัติกว่า 13 ปี ปัจจุบัน เมืองเหยียนอานยังคงทำนุบำรุงสถานที่ประวัติศาสตร์การปฏิวัติไว้เป็นอย่างดี
ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในมณฑลมีความเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สุสานกองทัพทหารดินเผา (ปิงหม่าหย่ง) วัดฝ่าเหมินซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กำแพงเมืองโบราณนครซีอาน และพระราชวังต้าหมิง นอกจากนี้ ยังมี เขตท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันงดงาม เช่น เขาฮวาซาน เขตอนุรักษ์นิเวศวิทยาแห่งชาติเทือกเขาฉินหลิง และน้ำตกฮู่โข่ว
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง มณฑลส่านซีแบ่งเป็น 10 เมืองและอีก 1 เขตปกครองพิเศษที่เพิ่งแยกออกมาจากนครเสียนหยาง ได้แก่ เขตสาธิตเทคโนโลยีเกษตรหยางหลิง
เลขาธิการพรรคฯ (ตั้งแต่ ก.ค. 2563) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. (ตั้งแต่ ส.ค. 2563)
ผู้ว่าการมณฑล (ตั้งแต่ ส.ค. 2563)
ปธ.สภาผู้แทน ปชช. (ตั้งแต่ ม.ค. 2565)
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลส่านซีได้ที่ http://www.shaanxi.gov.cn
1.1 เขตซินเฉิง(新城区)
เป็นที่ตั้งของย่านธุรกิจ และแหล่งอาหาร แหล่งช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียง พร้อมทั้งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทางราชการหลายแห่
1.2 เขตเยี่ยนถา (雁塔区)
เป็นเขตอนุรักษ์ที่รัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นเขตที่ตั้งของเจดีย์ห่านป่าใหญ่ องค์เจดีย์สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 652 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง โดยก่อนหน้านี้ในปีค.ศ. 648 ในรัชสมัยจักรพรรดิถังไท้จง (TANG TAI ZHONG) พระราชโอรส เจ้าชายหลี่จื้อได้สร้างวัดต้าสือเอินซื่อ (TA SI EN SI) (วัดกตัญญุตาราม) นี้ขึ้นก่อน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของพระราช จากนั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นตามคำขอของพระถังซำจั๋ง ในบริเวณวัดดังกล่าว
1.3 เขตฉวี่เจียง(曲江区)
เป็นที่ตั้งของย่านเขตใหม่ทีรัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่สาธิตอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมระดับประเทศและเขตที่อยู่อาศัยระดับสูงในนครซีอาน พร้อมทั้งยังเป็นที่ตั้งของแหล่งชอปปิ้ง ร้านอาหารขนาดใหญ่
1.4 เขตสาธิตอุตสาหกรรมไฮเทคทางการเกษตรหยางหลิง(西安杨凌农业示范区)
เขตหยางหลิง ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกษตรศาสตร์” ของประเทศจีน เป็นเขตสาธิตทางอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูงระดับประเทศเพียงแห่งเดียวในปัจจุบัน ซึ่งก่อตั้งและจัดการโดยคณะกรรมการระดับประเทศในกระทรวงต่างๆ 19 กระทรวงและรัฐบาลมณฑลส่านซีภายในประกอบด้วยเขตประสิทธิภาพต่างๆ 7 เขตได้แก่ เขตเกษตรศาสตร์ เขตสาธิตการจัดสร้างหมู่บ้านในชนบท และการเกษตรสมัยใหม่ เขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง เขตสหศาสตร์การเกษตร เขตทดลองทางการเกษตร เขตบริการ เขตรับรองและสันทนาการ
1.5 เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครซีอาน (西安经济技术开发区)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครซีอานจัดตั้งขึ้นที่นอกเขตประตูทางเหนือของนครซีอาน เนื้อที่รวมตามโครงการ 23.5 ตารางกิโลเมตรเขตนี้ ได้แบ่งออกเป็นเขตสำคัญใหญ่ๆ 4 เขต ได้แก่
เขตการพาณิชย์ส่วนกลาง
เป็นเขตพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ การเงิน การ ประกันภัย ธุรกิจการค้าการพาณิชย์ ธุรกิจอาหาร บ ัน เทิง สถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล เป็น เขต อุตสาหกรรมการบริการที่อำนวยความสะดวก ให้ แก่ นัก ลงทุน
เขตนิคมอุตสาหกรรม “จิงเว่ย”
เป็นเขตที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรม วัตถุดิบ
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ “เฉ่าถาง”
เป็นเขตที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เวชภัณฑ์ ชีวภาพ ธุรกิจพักผ่อนตาก อากาศและธุรกิจด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
มณฑลส่านซี เป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออกระดับชาติแห่งแรกทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 2.8 ตร.กม. ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ปี คศ. 2002 ซึ่งเขตนี้เป็นเขตดูแลพิเศษของหน่วยงานศุลกากร สินค้าที่ออกจากเขตนี้สามารถดำเนินการด้านการส่งออกได้ตลอด 24 ชั่วโมงภายในสำนักงานที่ตั้งอยู่ในเขต
หลายปีมานี้ เขตพัฒนาฯแห่งนี้รักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้กว่าร้อยละ 40 เขตนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงเขตเศรษฐกิจระดับต้นของเมืองซีอานเท่านั้น แต่ดัชนีทางเศรษฐกิจทุกตัวล้วนอยู่ใน รายชื่อระดับต้นๆของเขตพัฒนาระดับชาติในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งช่วยเร่งพัฒนาการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งนครซีอานให้เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง
1.6 เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งนครซีอาน (西安高新技术产业开发区)
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งนครซีอาน (เขตซีอานเกาซิน) ถือเป็นเขตแนวหน้าทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งนครซีอานและภูมิภาคตะวันตก เป็นขั้วบวกทางเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่งที่สุดในนครซีอานและมณฑลส่านซี อีกทั้งเป็นหน้าต่างเปิดรับสู่ภายนอก
ปัจจุบันเขตซีอานเกาซินได้กลายเป็นเขตที่มีบรรยากาศการลงทุนที่ดีในภูมิภาคกลางและตะวันตกของจีน ถือเป็นเขตพัฒนาทางเศรษฐกิจที่คึกคักเขตหนึ่ง จนกลายเป็นเขตสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งชาติ
1.7 ฐานการผลิตอากาศยานแห่งชาติเอี๋ยนเหลียงนครซีอาน (西安阎良国家航空高技术产业基地)
นครเอี๋ยนเหลียงหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า中国航空城(เมืองแห่งอากาศยานของจีน) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2547 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครซีอาน ฐานการผลิตอากาศยานแห่งชาติเอี๋ยนเหลียง เป็นเขตอุตสาหกรรมผลิตอากาศยานชั้นสูงของนครซีอานที่ครบวงจร ครอบคลุมทั้งด้านการวิจัย ออกแบบ ผลิต และประกอบชิ้นส่วนและตัวเครื่องบิน ตลอดทั้งยังเป็นเขตฝึกอบรมทางด้านการบินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียอีกด้วย ประกอบไปด้วยฐานการผลิตอากาศยานขนาดต่างๆรวม 4 แห่งด้วยกันได้แก่
เขตการผลิตอากาศยานเอี๋ยนเหลียง (Yanliang Aviation manufacturing zone)
ด้วยพื้นที่ครอบคลุมกว่า 40 ตร.กม. เป็นฐานการผลิตและพัฒนาเครื่องบินทั้งลำ และเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินขนาดใหญ่
เขตอุตสาหกรรมการบินทั่วไปผู่เฉิง (Pucheng General Aviation industrial park)
เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของมณฑลส่านซี โดยอาศัยประโยชน์จากสนามบินภายในผู่เฉิงที่รัฐบาลตั้งเป้าให้เขตอุตสาหกรรมการบินแห่งนี้สามารถรองรับอุตสาหกรรมต่อยอด อาทิการแปรรูปวัสดุและชิ้นส่วนขนาดเล็กรวมไปถึงยังเป็นฐานการฝึกอบรมนักบิน
สวนอุตสาหกรรมการบินสนามบินนานาชาติเสียนหยาง (Xianyang Airport Industrial Park)
ด้วยพื้นที่จำนวน 12 ตร.กม. ใช้เป็นฐานการซ่อมบำรุงอากาศยานและรองรับระบบโลจิสติกส์
ศูนย์ฝึกอบรมการบินเฟิ่งเสียง (Baoji Fengxiang Flight Training Park)
เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมการบินและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในด้านการฝึกบินทั้งหมด
1.8 เขตนิเวศวิทยาฉ่านป้า (浐灞生态区)
แม่น้ำฉ่านและแม่น้ำป้าเป็นแม่น้ำสายหลักสำคัญในบรรดาแม่น้ำแปดสายที่ล้อมรอบนครฉางอัน แต่ด้วยการเจริญเติบโตของตัวเมือง ทำให้แม่น้ำเกิดมลภาวะเป็นพิษ รัฐบาลประจำนครซีอานจึงตัดสินใจจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแม่น้ำฉ่านและแม่น้ำป้าขึ้น โดยจัดตั้งให้เขตนี้เป็นเขตนิเวศวิทยาที่เน้นการรักษาธรรมชาติแวดล้อม และการบริหารบำบัดน้ำเสียเป็นหลัก เน้นการพัฒนาไปสู่ความเจริญแบบตัวเมืองเป็นรอง
1.9 เขตเมืองใหม่ซีเสียน(西咸新区)
เขตเมืองใหม่ซีเสียนเป็นการผนวกกันของพื้นที่เขตเดิมสองแห่งได้แก่นครซีอานและนครเสียนหยางโดยตั้งพื้นที่ 7 อำเภอในเขตเดิมทั้งสองใหม่ เป็นเมืองใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น”สวนการเกษตรสมัยใหม่(Modern garden city)” จากคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลส่านซีและรัฐบาลมณฑลส่านซี รวมไปถึงการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมภาคการเกษตรรูปแบบใหม่ที่สามารถตอบโจทย์การดำเนินการด้านการเกษตรที่ทันสมัยและสอดคล้องกับพื้นที่อนุรักษ์ทางนิเวศวิทยาและพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองใหม่ที่คิดเป็นพื้นที่รวมกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด
1.10 เขตเมืองใหม่ต้าซิ่ง (大兴新区)
เขตต้าซิ่ง เป็นเขตใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาจากเขตเมืองเก่าเป็นเขตที่คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปประจำนครซีอานกำหนดให้เป็นเขตแห่งการบูรณาการทางด้านความเป็นนานาชาติ (International metropolis) เขตต้าซิ่งตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครซีอาน บริเวณถ.ต้าชิ่ง(大庆路)ไปบรรจบกับเมืองโบราณทางวัฒนธรรมฮั่นฉางอัน
การขยายภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ในภาคตะวันตกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 (ปี 2549 – 2553) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งพัฒนาธุรกิจภาคบริการ ส่านซีก็มีลักษณะเช่นเดียวกับมณฑลทางภาคตะวันตกอื่น ๆ ที่มีการเติบโตด้านคมนาคมแบบก้าวกระโดดและมีการลงทุนจำนวนมหาศาล ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (ปี 2554-2558) รัฐบาลส่านซีวางเป้าหมายให้การคมนาคมในมณฑลส่านซีสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่เขตอื่นๆ โดยเฉพาะนครซีอานที่ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟไปยัง 20 มณฑล โดยรัฐบาลส่านซีได้กำหนดเป้าหมายในการยกระดับให้นครซีอานเป็นเมือง “One-day Transportation” โดยสามารถใช้เวลาเดินทางไปยังเมืองต่างๆได้โดยใช้ระยะเวลาเพียง 1 วัน
รัฐบาลส่านซีให้ความสำคัญกับโครงสร้างหลักด้านทางหลวงคุณภาพให้มีรูปแบบดังตัวอักษร 米สร้างเส้นทางด่วนพาดผ่านเขตฉินชวนแปดร้อยลี้โดยให้ทุกเส้นทางต้องเชื่อมโยงถึงกัน เส้นทางด่วนเหนือใต้จากซีอานถึงทางด่วนหวงหลิง (黄陵) ปัจจุบันเส้นทางด่วนซีอาน-ฮั่นจง เหยียนเหลียง-หยู่เหมินโค่ว ถือเป็นเส้นทางเชื่อมต่อภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้สำคัญระดับประเทศสายที่สอง ซึ่งเชื่อมโยงศูนย์กลางสองแห่งคือนครซีอานและนครเฉิงตูเข้าด้วยกัน และจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาจีนตะวันตกอย่างสูง ขณะเดียวกันก็พัฒนาเครือข่ายเส้นทางพร้อมสร้างทางหลวงสู่ชนบท เช่น เส้นทางด่วนยวีหลินถึงจิ้งเปียน เส้นทางด่วนสนามบินนานาชาติซีอาน-เสียนหยาง เส้นทางด่วนเอี๋ยนอาน-อานไซ ทางหลวงเส้นซีอานล้อมภูเขาเป็นต้น
ระบบรถไฟใต้ดินของนครซีอานเริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อเดือนกันยายน ปี 2549 และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2554 โดยเส้นทางรถไฟใต้ดินหมายเลข 2 เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟเป่ยเค่อไปสิ้นสุดยังศูนย์การประชุมนานาชาติฉวี่เจียง ระยะทางรวม 20.50 กิโลเมตรและเส้นทางรถไฟใต้ดินหมายเลข 1 จะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนกันยายนปีนี้ โดยเริ่มจากสถานีโห้วเหว่ยไจ้ไปสิ้นสุดยัง Xi’an Textile city ระยะทางรวม 23.9 กิโลเมตร
1)ซีอานเป่ย-เซินเจิ้น(G824)
2)ซีอานเป่ย-ปักกิ่ง(G88)3)
ซีอานเป่ย-ลั่วหยาง(หลงเหมิน)(G662)
4)ซีอานเป่ย-กวางโจวหนาน (G98/G95)
ในปี 2555 ส่านซีมีทางด่วนรวมระยะทางทั้งสิ้น 3,803 กม. นอกจากนี้ทางหลวงรวมกว่า 151,986 กม.
ตามแผนเครือข่ายทางด่วนของมณฑลส่านซีที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าภายใน 15 ปีมณฑลส่านซีจะสร้างเครือข่ายทางด่วนในลักษณะตัวอักษร 米 ครอบคลุม 10 เมืองของส่านซี เพื่อให้เป็นวงแหวนการเดินทางภายในมณฑลเพียง 1 วัน ในปี 2552 รัฐบาลส่านซียังได้ขยายแผนเครือข่ายทางด่วนเป็นโครงการ “ เครือข่ายทางด่วน 2637 ” โดยมีเป้าหมายการเดินทางจากนครซีอานสู่ 8 มณฑลเพื่อนบ้านรอบทิศทาง คือ กานซู หนิงเซี่ย มองโกลเลียใน ซานซี เหอหนาน หูเป่ย ฉงชิ่งและเสฉวน และกำหนดสร้างทางด่วนครอบคลุมส่านซีให้มีระยะทางรวม 8,080 กม. ภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปีฉบับที่ 13 (ปี 2559 – 2563) โดยเป็นทางด่วนระดับประเทศ 3,888 กม. และทางด่วนระดับมณฑล 4,192 กม. รวมมูลค่าการลงทุน 420,000 ล้านหยวน
เครือข่ายทางยกระดับในมณฑลส่านซีประกอบไปด้วยถนนวงแหวนรอบเมืองใหญ่ 4 แห่งด้วยกันได้แก่
1. ถนนวงแหวนรอบนครซีอาน ปัจจุบันถือเป็นอีกเส้นทางเลี่ยงเมืองเพื่อลดการติดขัดของการจราจรในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ปัจจุบันถนนวงแหวนเลี่ยงเมืองของนครซีอานเริ่มจากเขตป้าเฉียวทางตอนเหนือของนครซีอานไปบรรจบยังจุดเชื่อมต่อทางหลวงนครหลินถง โดยถนนวงแหวนหมายเลข 2 และ 3 ยังเป็นเส้นทางสำคัญในการคมนาคมขนส่งสินค้าที่สำคัญอีกด้วย
2.ถนนวงแหวนรอบนครยวีหลิน
3.ถนนวงแหวนรอบนครเป่าจี
4.ถนนวงแหวนรอบนครฮั่นจง
เริ่มเปิดให้ใช้เส้นทางได้เมื่อปี 2550 ถือเป็นอุโมงค์คู่ลอดภูเขาที่มีระยะทางยาวที่สุดในโลก ด้วยระยะทางรวมของสองอุโมงค์กว่า 36.04 กิโลเมตร โดยเริ่มจากหมู่บ้านอู่เซียงเขตฉางอันนครซีอานไปสิ้นสุดยังหมู่บ้านหยินผาน อ.จั้วสุ่ย ด้วยงบประมาณการลงทุนกว่า 3,193 ล้านหยวน
เนื่องจากมณฑลส่านซีเป็นมณฑลที่ไร้ทางออกสู่ทะเล ในส่วนของการคมนาคมทางน้ำมณฑลส่านซีใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเหลืองในการสัญจรและการใช้แนวทางการดำเนินการย้อนรอยความรุ่งเรืองของเส้นทางสายไหมในอดีตได้แก่การ ใช้เส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกที่เคยใช้ติดต่อการค้าระหว่างเอเชียกับยุโรปในอดีต โดยการเชื่อมต่อคมนาคมทางบกระหว่างเอเชียกับยุโรปในศตวรรษที่ 21 จะสามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือเหลียนหยูนก่างมณฑลเจียงซูไปยุโรปโดยไม่ต้องเอาสินค้าลงเรือออกสู่ทะเล แต่จะใช้ประโยชน์จากเส้นทางรถไฟในการขนส่งสินค้าผ่านมณฑลส่านซี-กานซู-ซินเจียงออกชายแดนประเทศจีนไปยังประเทศต่างๆในยุโรปจนถึงท่าเรือร็อตเตอร์ดัม รวมระยะทางกว่า 10,800 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกลางได้ลงทุนปฏิรูประบบการเดินรถไฟในเส้นทางยูเรเชีย หมายเลข 2ในส่วนของประเทศจีน จากเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลในการขับเคลื่อนเป็นระบบไฟฟ้าเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ถือเป็น Inland port ที่รัฐบาลตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าครบวงจร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครซีอานบริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำป้าและแม่น้ำเว่ย ทิศตะวันตกขนาบแม่น้ำป้า ทิศเหนือติดเส้นทางรถไฟวงแหวนเหนือ ทิศตะวันออกติดทางหลวงซี-หาน และทิศใต้ติดทางด่วนยกระดับอ้อมนครซีอาน รวมทั้งเป็นแหล่งรวมของแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำจิง เว่ย ฉ่านและป้า แบ่งเป็น 4 เขตหลัก คือ
1.1 เขตสินค้าทัณฑ์บนและโลจิสติกส์
1.2 เขตโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
1.3 เขตโลจิสติกส์ภายในประเทศ
1.4 เขตกลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
ในปี 2555 ที่ผ่านมาท่าสินค้านานาชาตินครซีอานมีมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินถาวรรวม 4,581 ล้านหยวน และมีมูลค่าการนำเข้าส่งออกรวม 350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 8
1. ท่าอากาศยานนานาชาติเสียนหยาง (Xianyang International Airport)
สนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยางถือเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่จีนตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของประเทศด้วยจำนวน 3 อาคารผู้โดยสารโดยในปี 2555 สนามบินนานาชาติเสียนหยางรองรับปริมาณผู้โดยสารถึง 23.42 ล้านคน ปัจจุบันมีสายการบินที่เปิดทำการบินในประเทศทั้งสิ้น 16 สายการบินและทำการบินระหว่างประเทศไปยังเกาหลีใต้,ฮ่องกง,ญี่ปุ่น,ไต้หวัน,มาเลเซีย ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรงจากนครซีอานไปยังกรุงเทพมหานครโดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย(FD) ทุกวันเวลา 22.30น.
2. ท่าอากาศยานเหยาชุน (Yaochun Airport)
เป็นสนามบินภายในที่เป็นใช้สำหรับเป็นสนามฝึกบินของกลุ่มบริษัท AVIC Xi’an Aircraft Industry (Group) Company หรือที่รู้จักกันในนาม “ซีเฟยกรุ๊ป” รัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่ผลิตและประกอบอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของมณฑลส่านซี ทั้งเครื่องบินพลเรือนและที่ใช้ในการพาณิชย์ ตั้งอยู่ในฐานการผลิตอากาศยานแห่งชาติเอี๋ยนเหลียง
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)
2) ในปี 2015 รัฐบาลได้วางแผนการทำงานเอาไว้ 7 ด้านด้วยกันดังนี้
รัฐบาลส่านซีให้ความสำคัญในด้านการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยแนวทางปี 2015 มีดังนี้
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง