ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่
ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห พื้นที่ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีลักษณะแคบและยาว มีขนาดพื้นที่ 66,400 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่เพาะปลูก ร้อยละ 41 และพื้นที่ภูเขาร้อยละ 59
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และมณฑลกานซู
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลส่านซี และมณฑลกานซู
ทิศใต้ ติดต่อกับมณฑลกานซู
ข้อมูลประชากร
ปี 2563 เขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีประชากร 6.94 ล้านคน โดยมีชนชาติหุย (มุสลิม) อาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศจีน โดยมักตั้ง ถิ่นฐานบริเวณเขตภูเขาทางตอนใต้
สภาพภูมิอากาศ
มีภูมิอากาศแบบกึ่งอบอุ่นกึ่งแห้งแล้ง อุณหภูมิทางตอนเหนือและตอนใต้ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีความแตกต่างกันมาก ทางตอนใต้หนาวแต่ชื้นเพราะมักมีฝนตก ตอนเหนืออบอุ่นแต่แห้งแล้ง เขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีแสงแดดเฉลี่ยต่อปี 3,000 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดในประเทศจีน และมีพายุทรายมาก จึงสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า
ทรัพยากรที่สำคัญ
1. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำฮวงโห พาดผ่าน 12 อำเภอ รวมระยะทาง 397 กิโลเมตร
2. ทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะถ่านหิน ที่มีปริมาณมากและหลากหลายประเภท โดยพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีถ่านหินสะสมอยู่กว่า 200,000 ล้านตัน มากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ
3. ทรัพยากรแร่ธาตุ ปัจจุบันค้นพบแร่ธาตุกว่า 50 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ ยิปซั่ม (มีปริมาณสำรองมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ) ถ่านหิน ดินเหนียวทนไฟ หินปูนขาว สารละลายซิลิกา เหมืองแร่ซัลเฟอร์และเหล็ก เหมืองแร่ฟอสฟอรัส กระเบื้องดินเหนียว กระจก หินทราย และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
4. ทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งเชิงธรรมชาติและเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ ทะเลทรายซาหูที่มีทะเลสาบงดงาม ทะเลทรายซาพัวโถว เขาลิ่วผาน สุสานราชวงศ์ซีเซี่ย โบราณสถานท่อส่งน้ำ วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห และวัฒนธรรมของชนชาติหุย
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
มีการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยปลายยุคหินเก่าอายุราว 30,000 ปี มีการค้นพบการสร้างท่อส่งน้ำ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ได้เข้ามาตั้งรกรากขึ้นที่นี่ พร้อมเครื่องมือที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์ รวมไปถึงร่องรอยการใช้ไฟที่เมืองหลิงอู่ นอกจากนี้ในส่วนของการค้นพบวัฒนธรรมยุคหินของถ้ำหินบ้านหม่า และวัฒนธรรมบ้านฉี ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อราว 3,000-7,000 ปีก่อน สังคมที่นี่เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่สืบเชื้อสายจากมารดา เป็นสังคมที่สืบเชื้อสายจากบิดา เริ่มมีการเพาะปลูกและปศุสัตว์ และมีการติดต่อสัมพันธ์กับบริเวณที่ราบตอนกลางของจีนแล้ว
ในสมัยราชวงศ์ซางและราชวงศ์ซีโจว ชนเผ่าหูและชนเผ่าเชียง ได้เร่ร่อนอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือเขตฯ หนิงเซี่ยหุย และสมัยกษัตริย์โจวเซวียน (周宣王) ได้เริ่มมีการสำรวจสำมโนครัวในบริเวณเมืองกู้หยวน แสดงให้เห็นว่านอกจากมีจำนวนประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่มากแล้ว ยังมีระบบการบริหารปกครองอีกด้วย
สมัยชุนชิวจ้านกั๋ว (722-481ก่อนคริสตกาล) พบหลักฐานการซ่อมแซมกำแพงเมืองจีนในพื้นที่ และหลังจากปฐมจักรพรรดิฉินซี ได้รวบรวมจีนเป็นหนึ่งประเทศแล้ว มีการส่งกองทัพเข้ามาบุกเบิกและเริ่มพัฒนาการชลประทานทดน้ำจากแม่น้ำฮวงโหเข้าสู่พื้นที่
สมัยราชวงศ์ฮั่น (206-220ก่อนคริตสกาล) เศรษฐกิจและระบบ กสิกรรมของพื้นที่นี้ได้พัฒนาขึ้นมาก กษัตริย์ฮั่นอู่ตี้ (汉武帝) หรือหลิวเช่อ (ปี 140-88 ก่อนคริสตกาล) ได้เคยเสด็จเยือนพื้นที่นี้ถึง 2 ครั้ง และอพยพประชากรกว่า 700,000 คนมาที่นี่ ส่งผลให้การพัฒนาภาคเกษตรกรรม เจริญรุดหน้ามากขึ้น
สมัยราชวงศ์ถัง (คศ. 618- 907) หลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายจากนายอัน ลู่ซานและนายสื่อ จือหมิง (เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ถังเสื่อมอำนาจลง) ส่งผลให้กษัตรย์ถังซูจง หรือหลี่เสี่ยง (ปี 756) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมายังพื้นที่นี้ และขึ้นครองราชย์ ที่เมืองอู่หลิง ซึ่งสมัยนั้นมีความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและภาคการเกษตร อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าและคมนาคม เชื่อมโยงตะวันตกและตะวันออกที่สำคัญ
ในปี 1038 ผู้นำชนชาติต่างเซี่ยง นามว่าหลี่หยวนห้าวได้ก่อตั้งอาณาจักรซีเซี่ยขึ้น โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ซิงชิ่งฝู่” (ปัจจุบัน คือ นครหยินชวน) แต่มีระยะเวลาเรืองอำนาจเพียง 189 ปี
ปี 1227 หลังจากราชวงศ์หยวนได้ทำลายราชวงศ์ซี่เซี่ยลง ปี 1288 ได้ก่อสร้างถนนชื่อ “หนิงเซี่ยฟู่” ชื่อ “หนิงเซี่ย” จึงเริ่มมีการเรียกใช้นับจากนั้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) ได้ก่อสร้างฐานที่มั่นทางทหารที่เรียกว่า “หนิงเซี่ยเหว้ย”
ต่อมาราชวงศ์ชิง (ปี 1616-1911) ได้สร้าง เขตปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “หนิงเซี่ยฝู่” (宁夏府)
และต้นสมัยสาธารณรัฐ (ปี 1912-1949) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เขตปกครองซั่วฟาง”
วันที่ 25 ตุลาคม 1958 ก่อตั้งเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย
(ภาพแผนมณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละเขต)
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
หนิงเซี่ยมีระบบการปกครองของตนเอง คือ ให้ประชาชนชาวหุย มีสิทธิบริหารงานภายใน และมีสิทธิปกครองตนเองทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา
เขตฯ หนิงเซี่ยหุย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 เมือง
เลขาธิการพรรคฯ (ตั้งแต่ มี.ค. 2565) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. (ตั้งแต่ พ.ค. 2565)
ประธานเขตฯ (เทียบเท่าผู้ว่าการมณฑล) (ตั้งแต่ มิ.ย. 2565)
ปธ. สภาที่ปรึกษาทางการเมือง (ตั้งแต่ ม.ค. 2561)
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยได้ที่ http://www.nx.gov.cn
เส้นทางขนส่งทางบก
ถนนภายในเขตหนิงเซี่ยมีทางหลวงระดับประเทศ 6 สาย มีถนนสายหลักผ่านเมืองกู้หยวน อู๋จง หย่งหนิง หลิงอู่ จงเว่ย ต้าอู๋โค้ว โดยผ่านปาอินหาวเทอและอูหลันควงในเขตมองโกลเลีย ผ่านติงเปียนในมณฑลส่านซี และผ่านผิงเหลียงในมณทลกานซู และมีเส้นทางผ่านแถบทุกเขตทุกเมืองทุกอำเภอและมณทลข้างเคียง โดยแบ่งเป็น 3 เส้นทางดังนี้
เส้นทางรถไฟ
เส้นทางทางอากาศ
เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยมีท่าอากาศยานทั้งหมด 3 แห่ง ดังนี้
1. ท่าอากาศยานเหอตง
ตั้งอยู่ที่เมืองหลิงอู่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหยินชวน ห่างจากเมืองหยินชวน 19 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 5,560 หมู่ การเดินทางจากเมืองหยินชวนสู่ท่าอากาศยานเหอตงสามารถใช้รถบริการของสายการบินหรือแท็กซี่ เที่ยวบินที่เปิดให้บริการเช่น ปักกิ่ง ฮ่องกง เซียงไฮ้ กวางโจว เซิ่นเจิ้น หนานจิง เสิ่นหยาง เทียนจิน คุนหมิง ฉงชิ่ง อู่ฮั่น เฉิงตู ซีอาน ไท่หยวน อูรุมชี จี่หนาน หางโจว เจิ้งโจว ชิงเต่า ฉางซา เป็นต้น เที่ยวบินต่างประเทศที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีกรุงโซล และกรุงเทพฯ
2. ท่าอากาศยานภายในประเทศจงเว่ย
ตั้งอยู่ห่างจากเมืองจงเว่ยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 9 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 2,745 หมู่ เส้นทางการบินจากจงเว่ยไปยัง ปักกิ่ง ซีอาน หลานโจว เฉิงตู และหยินชวนในช่วงแรก และจะขยายไปยังกวางโจว เซียงไฮ้ อูรุมชี และเซี่ยเหมินต่อไปในอนาคต
3. ท่าอากาศยานภายในประเทศกู้หยวน
เป็นสนามบินภายในประเทศระดับ 4C ครอบคลุมพื้นที่ 150.2 เฮคตาร์ มีความยาวรันเวย์ทั้งหมด 2,800 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 122,000 คน รองรับการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ได้ 535 ตัน และรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างโบอิ้ง 737 และแอร์บัส 320 อยู่ห่างจากนครกู้หยวน 339 กิโลเมตร ห่างจากนครหลานโจว 410 กิโลเมตร และห่างจากนครซีอาน 400 กิโลเมตรเที่ยวบินที่เปิดให้บริการ เช่น หยินชวน ซีอาน เป็นต้น
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงหนิงเซี่ย
ทางอากาศ
ปัจจุบันสามารถเดินทางโดยเครื่องบินโดยตรงจากกรุงเทพ – นครหยินชวน ได้แล้ว ผ่านสายการบินโอเรียนท์ไทย โดยได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2556 ด้วยเที่ยวบิน OX8350 จากกรุงเทพมายังนครหยินชวน และเที่ยวบิน OX8351 จากนครหยินชวนไปยังกรุงเทพ
ทางถนน
กรุงเทพ-คุนหมิง ใช้ทางด่วนสายคุนหมิง-กรุงเทพ รวมระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง
คุนหมิง-เฉิงตู ใช้ทางด่วนสายสุ่ยหมา รวมระยะทาง 880 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
เฉิงตู-ซีอาน ทางด่วนสายเฉิงตู-ซีอาน (บางช่วงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2009-2010 รวมระยะทาง 910 กิโลเมตร ใช้เวลา 8 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รถไฟมากกว่า การเดินทางจากเฉิงตูไปซีอาน รถบัสธรรมดา ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง ส่วนรถบัสเร็วใช้เวลา 15 ชั่วโมง ซีอาน-หยินชวน ระยะทาง 720 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
ทางรถไฟ
คุนหมิง-ซีอาน ระยะทาง 1,942 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 37 ชั่วโมง และจากซีอาน-หยินชวน ระยะทาง 806 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง
คุนหมิง-เฉิงตู ระยะทาง 1,100 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง และจากเฉิงตู-หยินชวน ระยะทาง1,640 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมง
1.) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015
ตัวเลขทางเศรษฐกิจเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
GDP | 275,210 ล้านหยวน | CPI | ร้อยละ 1.9 |
GDP per Capita | 40,173.67 หยวน | อุตสาหกรรมหลัก | – แร่ธาตุ – ผ้าขนแคชเมียร์ – เงิน – อาหารฮาลาลและสินค้ามุสลิม – ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า – ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง – ไวน์ |
GDP Growth | ร้อยละ 8 | มูลค่าการส่งออก | 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.6 |
ทรัพยากรธรรมชาติ | – ยิปซั่ม – ถ่านหิน – ดินเหนียวทนไฟ – หินปูนขาว – สารละลายซิลิกา – แร่ซัลเฟอร์และเหล็ก – แร่ฟอสฟอรัส | มูลค่าการส่งออก | 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.6 |
มูลค่าการนำเข้า | 1,130 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ70.3 | ||
การค้ากับต่างประเทศ | 5,430 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.9 | ||
การขยายตัวของการค้า | ร้อยละ 37.6 | ตลาดส่งออกที่สำคัญ |
|
สินค้าส่งออกที่สำคัญ |
| ตลาดนำเข้าที่สำคัญ |
|
สินค้านำเข้าที่สำคัญ |
| ตลาดนำเข้าที่สำคัญ |
|
อุตสาหกรรมฮาลาล | ปี 2557 มูลค่าการผลิตอาหารฮาลาลและสินค้ามุสลิมของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย มีประมาณ 39,000 ล้านหยวน เติบโตร้อยละ 15.6 | ||
การท่องเที่ยว | จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ 1.68 ล้านคน เติบโตร้อยละ 9 นักท่องเที่ยวต่างชาติ 33,657 คน เติบโตร้อยละ 32.7 รายได้รวมจากการท่องเที่ยว 14,269 ล้านหยวน |
ตัวเลขเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยปี 2557
การค้ากับไทย | 76.27 ล้านUSD เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยหนิงเซี่ยนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย 13.06 ล้าน USD ลดลงร้อยละ 51 และส่งออกไปไทย 63.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 |
สินค้านำเข้าจากไทย |
|
สินค้าส่งออกไปไทย |
|
การท่องเที่ยว | จำนวนนักท่องเที่ยวจากหนิงเซี่ยไปไทย 2,009 คน |
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง