ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาคมณฑลเฮยหลงเจียงได้ที่ http://www.hlj.gov.cn/
มาเก๊าตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของจีน และอยู่ทางตะวันตกของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (PRD) โดยมีพรมแดนติดกับมณฑลกวางตุ้ง และมีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรจากฮ่องกง ในปี 2565 มาเก๊ามีพื้นที่ 33 ตาราง-กิโลเมตร เพิ่มเติมจากในอดีตอันเนื่องมาจากการถมทะเล โดยพื้นที่มาเก๊าจะประกอบด้วยคาบสมุทรมาเก๊า (Macao Peninsula) และเกาะอีก 2 เกาะ คือ เกาะ Taipa และเกาะ Coloane โดยมีสะพาน 3 สะพานเชื่อมเกาะ Taipa กับคาบสมุทรมาเก๊า ได้แก่ Nobre de Carvalho Bridge, Friendship Bridge (Ponte da Amizade) และ Sai Van Bridge สำหรับเกาะทั้งสองเชื่อมติดกันด้วยพื้นที่ส่วนที่เป็นการถมทะเล นอกจากนี้มาเก๊ายังมีพื้นที่เพิ่มมาจากการสร้างขึ้นใหม่ในส่วนที่เรียกว่า New Urban Zone Area A และพื้นที่ในส่วนของ Macao border crossing area ในบริเวณด่าน จูไห่-มาเก๊า (Zhuhai – Macao checkpoint) อันเป็นที่ตั้งของสะพานที่เชื่อม ฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เข้าด้วยกัน
ข้อมูลประชากร
จากสถิติของ Statistics and Census Service ของมาเก๊า ในปี 2564 มาเก๊ามีประชากรประมาณ 682,070 คน ประกอบด้วยเพศชายจำนวน 320,285 คน และเพศหญิงจำนวน 361,785 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นคนจีน และที่เหลือเป็นคนชาติต่างๆ มาเก๊าใช้ภาษาโปรตุเกสและจีนกลางเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาจีนกวางตุ้งจะเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า และคริสต์
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
– ชาวประมงจากมณฑลฝูเจี้ยนและชาวนาจากมณฑลกวางตุ้งเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในมาเก๊า โดยมาเก๊าในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ “Ou Mun” ซึ่งหมายถึง ประตูแห่งการค้า เนื่องจากมาเก๊าตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเพิร์ล และยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมในอดีตด้วย
– แม้จีนจะไม่ได้เป็นศูนย์กลางการค้าของโลกแล้ว แต่เมืองกว่างโจวยังคงรุ่งเรืองจากธุรกิจเดินเรือและการค้าทางทะเล ทำให้ในช่วงปี ค.ศ. 1550 ชาวโปรตุเกสที่เป็นพ่อค้าและนักสำรวจเดินทางมายัง Ou Mun และเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า A Ma Gao ซึ่งหมายถึง ดินแดนแห่งเทพผู้คุ้มครองกะลาสีเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อมาเก๊า (Macau) ในปัจจุบัน
– ชาวโปรตุเกสเริ่มเข้ามาก่อร่างสร้างเมืองในมาเก๊า ทำให้มาเก๊ากลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป และเป็นพื้นที่ที่วัฒนธรรมตะวันออกผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตก
– หลังหมดยุคทองของการล่าอาณานิคมของโปรตุเกส ชาวดัชต์และอังกฤษเริ่มเข้ามาครอบครองกิจการ อย่างไรก็ดี จีนยังเลือกทำการค้ากับต่างประเทศโดยผ่านชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในมาเก๊า ต่อมาเมื่อเกิดสงครามฝิ่นในปี ค.ศ. 1841 ฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้พ่อค้าต่างชาติเริ่มเดินทางออกจากมาเก๊า
– ปัจจุบัน มาเก๊าเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบันเทิงระดับโลก โดยมีเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตกเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว
ทรัพยากรสำคัญ
มาเก๊ามีพื้นที่จำกัดและไม่มีพื้นที่ที่เป็นป่าธรรมชาติ จึงไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ รายได้หลักของมาเก๊าจึงมาจากการท่องเที่ยว และธุรกิจคาสิโน
สภาพภูมิอากาศ
มาเก๊ามีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น โดยมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 75-90 สภาพอากาศได้รับผลกระทบจากมรสุมเป็นส่วนใหญ่ และมีความแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นในฤดูร้อนและฤดูหนาวอย่างเห็นได้ชัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีของมาเก๊าในปี 2564 คือ 23.5 องศาเซลเซียส โดยเดือน ก.ค. จะเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุด และเดือน ม.ค. จะเป็นเดือนที่อากาศเย็นที่สุด นอกจากนี้ มาเก๊ายังมีฤดูพายุไต้ฝุ่นในช่วงเดือน พ.ค. – ต.ค. โดยจะมีพายุมากที่สุดในเดือน ก.ค. – ส.ค.
2. ข้อมูลด้านการปกครอง
ระบบการเมือง
ในอดีตมาเก๊าเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) มาเก๊าได้กลับคืนสู่จีน โดยมีฐานะเป็นเขตบริหารพิเศษ (Special Administrative Region-SAR) ของจีนภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (One Country, Two Systems) ตามที่ระบุในกฎหมายธรรมนูญของมาเก๊า หรือ Basic Law ซึ่งกฎหมายดังกล่าวระบุให้มาเก๊าธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมเป็นเวลาอีก 50 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2592 (ค.ศ. 2049)
ภายใต้ Basic Law มาเก๊าจะมีอิสระในการปกครองตนเองทุกด้าน ยกเว้นด้านการทหารและการต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลจีนจะเป็นผู้ดูแล โดยมาเก๊าจะมีคณะรัฐบาล มีสภานิติบัญญัติ และมีอำนาจทางการศาลเป็นของตนเอง นอกจากนี้ มาเก๊ายังคงสถานะการเป็นเมืองท่าเสรีและมีเขตศุลกากรที่เป็นอิสระแยกจากจีน รวมถึงสามารถดำเนินนโยบายด้านการค้า เศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ ได้อย่างอิสระ
ระบบการปกครอง
รัฐบาลมาเก๊าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการปกครองเขตบริหารพิเศษมาเก๊า โดยมีผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive) เป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ secretariats, bureaux, departments และ divisions สนับสนุนงานด้านบริหาร
ผู้บริหารสูงสุดของมาเก๊าได้รับเลือกจาก Election Committee จำนวน 400 คนและได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลจีน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน ผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบันคือ นาย Ho lat Seng เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2562
เขตปกครอง
ในช่วงที่มาเก๊าเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ได้มีการแบ่งเขตปกครองเป็นเทศบาล 2 แห่ง ได้แก่
1) Municipality of Macau ดูแลรับผิดชอบพื้นที่บนคาบสมุทรมาเก๊า
2) Municipality of the Islands ดูแลรับผิดชอบพื้นที่บนเกาะ Taipa และเกาะ Coloane
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) หลังมาเก๊าคืนสู่จีน ได้มีการยุบการปกครองโดยเขตเทศบาลทั้งสอง และมีการจัดตั้ง Civic and Municipal Affairs Bureau ขึ้นแทน โดยหน่วยงานดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของ Secretariat for Administration and Justice ของมาเก๊า อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2562 ก็ได้มีการยกเลิกหน่วยงานนี้และจัดตั้งหน่วยงานใหม่ภายใต้ชื่อว่า Municipal Affairs Bereau ในการปกครองมาเก๊าจวบจนถึงปัจจุบัน
ผู้บริหารสูงสุดมาเก๊า (Chief Executive)
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562
Secretary for Administration and Justice
Secretary for Economy and Finance
Secretary for Security
Secretary for Social Affairs and Culture
Secretary for Transport and Public Works
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาคมณฑลเฮยหลงเจียงได้ที่ http://www.hlj.gov.cn/
เขตบริหารพิเศษมาเก๊าประกอบด้วยคาบสมุทรมาเก๊า (Macao Peninsula) และเกาะอีก 2 เกาะ คือ เกาะ Taipa และเกาะ Coloane นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ Cotai ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล
1. คาบสมุทรมาเก๊า (Macao Peninsula)
คาบสมุทรมาเก๊าเป็นเขตที่มีความเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุดในมาเก๊า มีพื้นที่ 8.5 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมต่อกับเมืองจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง พื้นที่ในคาบสมุทรมาเก๊าแบ่งเป็น 5 เขต ได้แก่ Our Lady of Fatima Parish, St. Anthony Parish, St. Lazarus Parish, Cathedral Parish และ St. Lawrence Parish
2. เกาะไทปา (Taipa)
มีพื้นที่ 6.33 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ Greater Taipa และเกาะ Lesser Taipa เกาะไทปาเชื่อมต่อกับเกาะโคโลอาน โดยทางหลวง Estrada do Istmo และมีสะพาน 3 สะพานเชื่อมต่อกับคาบสมุทรมาเก๊า ปัจจุบัน เกาะไทปากลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีประชากรหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างที่พักในลักษณะอพาร์ทเม้นมากมาย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊าและมหาวิทยาลัยแห่งมาเก๊า (University of Macau) ด้วย
3. เกาะโคโลอาน (Coloane)
มีพื้นที่ 8.07 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะไทปา ชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะเป็นบริเวณท่าเรือน้ำลึก (Macau Deepwater Port) ส่วนชายฝั่งทางตอนใต้และตะวันออกเป็นชายหาด Cheoc Van Bay ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
4. Cotai Strip
มีพื้นที่ 5.2 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวเกิดจากการถมทะเลระหว่างเกาะไทปาและเกาะโคโลอานเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจคาสิโนของมาเก๊า ทำให้ Cotai เป็นเขตท่องเที่ยวยามค่ำคืนที่มีชื่อเสียงของมาเก๊า โดยปัจจุบัน สถานคาสิโนที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงในเขต ได้แก่ Venetian Macao และ City of Dreams
1) เส้นทางถนน
มาเก๊ามีเส้นทางถนน 311.3 กิโลเมตร ประกอบด้วยเส้นทางถนนบนคาบสมุทรมาเก๊าจำนวน 180.5 กิโลเมตร เส้นทางถนนบนเกาะไทปาและ Cotai Strip จำนวน 80.3 กิโลเมตร และเส้นทางถนนบนเกาะโคโลอาน อีก 40.6 กิโลเมตร โดยมีสะพาน 3 สะพานเชื่อมคาบสมุทรมาเก๊ากับเกาะไทปาและเกาะโคโลอานได้แก่ Nobre de Carvalho Bridge, Friendship Bridge และ Sai Van Bridge นอกจากนี้ ยังมี Lotus Flower Bridge เชื่อม Cotai Strip กับเขตเหิงฉินในเมืองจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง
มาเก๊ามีระบบขนส่งสาธารณะที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงคาบสมุทรมาเก๊า เกาะไทปา และเกาะโคโลอาน อย่างทั่วถึง โดยรัฐบาลมาเก๊าได้ลงนามในสัญญากับบริษัท Sociedade de Transportes Colectivos de Macau (TCM), Transportes Urbanos de Macau (Transmac) และ Reolian Public Transport เป็นเวลา 7 ปี โดยให้บริษัททั้งสามเป็นผู้จัดหาบริการด้านการคมนาคมในมาเก๊า ซึ่งปัจจุบัน (2555) มาเก๊ามีรถโดยสารประจำทางจำนวน 61 สาย และมีรถบัสจำนวนทั้งสิ้น 656 คัน แบ่งเป็นรถมินิบัสจำนวน 225 รถบัสขนาดกลางจำนวน 159 คัน และรถบัสขนาดใหญ่จำนวน 272 คัน
นอกจากนี้ มาเก๊ามีรถแท๊กซี่ป้ายทะเบียนสีดำจำนวน 880 คัน รถแท๊กซี่สีเหลืองจำนวน 100 คัน และมีการออกใบประกอบวิชาชีพสำหรับคนขับรถแท๊กซี่จำนวน 10,236 ฉบับ
2) เส้นทางรถไฟ
มาเก๊าอยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า โดยเส้นทางจะครอบคลุมคาบสมุทรมาเก๊า ชายฝั่ง Taipa และ Cotai Strip รวมทั้งท่าเรือมาเก๊า และท่าอากาศยานมาเก๊า โดยปัจจุบัน อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 ซึ่งมีระยะทาง 21 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่งตะวันออกและเชื่อมกับชายฝั่ง Taipa ซึ่งคาดว่าโครงการระยะที่ 1 จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2558
1) ท่าเรือ Outer Harbour Ferry Terminal
Outer Harbour Ferry Terminal เป็นท่าเรือสำหรับเรือที่เดินทางระหว่างมาเก๊า ฮ่องกง และเมืองเซินเจิ้น เปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 1993 โดยมีท่าเทียบเรือทั้งหมด 14 แห่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 รัฐบาลได้ขยายท่าเรือดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยบริเวณท่าเรือและตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของนักท่องเที่ยว ล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 รัฐบาลได้เพิ่มประสิทธิภาพของท่าเรือโดยการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระ
2) ท่าเรือ Taipa Ferry Terminal
รัฐบาลสร้างท่าเรือ Taipa Ferry Terminal บนเกาะ Taipa เพื่อเป็นการสนับสนุนธุรกิจคาสิโนและลดความหนาแน่นของการจราจรในท่าเรือ Outer Harbour Ferry Terminal โดยท่าเรือ Taipa Ferry Terminal ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานมาเก๊าบนเนื้อที่ 17,000 ตารางกิโลเมตร เป็นท่าเรือสำหรับเรือความเร็วสูง (high-speed ferries) ที่เดินทางระหว่างมาเก๊าและฮ่องกง
3) ท่าเรือ Inner Harbour Ferry Terminal
ท่าเรือ Inner Harbour Ferry Terminal เป็นท่าเรือสำหรับขนส่งสินค้า เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2008 โดยมีเส้นทางการเดินเรือไปยังเขต Wanzai ในเมืองจูไห่จำนวน 3 เส้นทาง
1) ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า
ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊าตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของเกาะ Taipa บริหารจัดการโดย Macau International Airport Company (CAM) ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลมาเก๊าและจะมีสิทธิในการบริหารท่าอากาศยานในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาท่าอากาศยานฯ การเงิน และการเงินไปจนถึงปี ค.ศ. 2039 ซึ่ง CAM ได้พยายามผลักดันและส่งเสริมท่าอากาศยานฯ สู่บริการด้านการบินในระดับสากล โดยปัจจุบัน ท่าอากาศยานฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 6,000,000คน ซึ่งเส้นทางบินหลัก ได้แก่ จีน ไต้หวัน และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2) เส้นทางการบินระหว่างมาเก๊ากับประเทศไทย
ปัจจุบัน มีเที่ยวบินตรงระหว่างมาเก๊า – กรุงเทพฯ เฉลี่ยวันละ 8 เที่ยวบิน จาก 3 สายการบิน ได้แก่
1) การแถลงนโยบายของผู้บริหารสูงสุดมาเก๊าประจำปี ค.ศ. 2013-2014
รัฐบาลมาเก๊าได้ดำเนินนโยบายต่าง ๆ ภายใต้หลักการ “ประชาชนมาก่อน” เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างสังคมที่มีความสมานฉันท์และมีเสถียรภาพ เพื่อให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยในปี 2556 รัฐบาลมาเก๊าจะยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และใช้ข้อได้เปรียบของมาเก๊าในการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2) นโยบายด้านเศรษฐกิจและการลงทุนประจำปี ค.ศ. 2013
– สร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
– ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค
– สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
1. ตัวเลขสถิติภาพรวม
ปี 2553 | ปี 2554 | ปี 2555 | |
---|---|---|---|
ประชากร (คน) | 542,200 | 557,400 | 582,000 |
GDP (ล้านปาตาคา) | 170,095 | 292,100 | 348,216 |
Real GDP Growth (ร้อยละ) | 1.6 | 20.7 | 9.9 |
GDP per Capita (ปาตาคา) | 312,512 | 531,723 | 611,930 |
อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละ) | 1.17 | 5.81 | 6.11 |
อัตราการว่างงาน (ร้อยละ) | 3.6 | 2.6 | 2.0 |
GDP / สัดส่วนทางอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมภาคบริการเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาเก๊า โดยครองสัดส่วนร้อยละ 93.6 ของมูลค่า GDP ของฮ่องกง (ปี 2554) ซึ่งในจำนวนดังกล่าว ธุรกิจคาสิโนเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มากที่สุด แรงงานมาเก๊าทำงานอยู่ในภาคบริการเป็นส่วนใหญ่ โดยอยู่ในธุรกิจคาสิโน โรงแรมและร้านอาหาร และบริการสังคม/ส่วนตัวมากที่สุด
– สถิติทางคุณภาพชีวิตประชาชน
2. ตัวเลขสถิติการค้า
– การค้าภายในประเทศ
ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 6.11 มีธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกจำนวน 12,737 แห่ง มูลค่ารายรับและรายจ่ายทั้งหมดรวม 68.77 พันล้านปาตาคา และ 61.52 พันล้านปาตาคาตามลำดับ
การค้าระหว่างประเทศ
External Merchandise Trade
2010 | 2011 | 2012 | |
---|---|---|---|
Merchandise exports (million MOP) | 6 960 | 6 971 | 8 160 |
Domestic export | 2 390 | 2 390 | 2 285 |
Tobacco and wine | 278 | 468 | 528 |
Garments, knitted or crocheted | 694 | 448 | 335 |
Garments, not knitted or crocheted | 474 | 452 | 325 |
Re-exports | 4 570 | 4 581 | 5 875 |
Machines and apparatus | 442 | 620 | 1 419 |
Diamond and diamond jewellery | 614 | 225 | 200 |
By major destination | |||
Hong Kong | 3 003 | 3 109 | 4 095 |
Mainland China | 1 102 | 1 098 | 1 369 |
USA | 782 | 556 | 507 |
European Union | 409 | 383 | 316 |
Japan | 109 | 144 | 162 |
Vietnam | 188 | 119 | 136 |
Singapore | 73 | 62 | 63 |
Merchandise imports (million MOP) | 44 118 | 62 289 | 70 928 |
Consumer goods | 26 245 | 38 481 | 43 356 |
Capital goods | 6 949 | 10 920 | 13 162 |
Fuels and lubricants | 5 263 | 6 584 | 7 628 |
Raw material and semi-manufactures | 5 662 | 6 305 | 6 782 |
By major country/territory of origin | |||
Mainland China | 13 718 | 19 121 | 23 199 |
European Union | 9 961 | 15 507 | 16 647 |
Hong Kong | 4 628 | 7 588 | 8 211 |
Switzerland | 3 313 | 4 466 | 5 608 |
Japan | 3 812 | 3 911 | 4 244 |
USA | 2 619 | 3 732 | 3 608 |
ข้อมูลจาก Macao Statistics and Census Service (http://www.dsec.gov.mo)
การค้ากับประเทศไทย
2553 | 2554 | 2555 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
US$ million | Year-on-year change % | US$ million | Year-on-year change % | US$ million | Year-on-year change % | |
Imports from Macao | 8.94 | 54.68 | 7.42 | -17.06 | 6.17 | -16.74 |
Exports to Macao | 22.05 | 46.86 | 17.78 | -19.34 | 16.51 | -7.15 |
Total trade | 30.99 | 49.03 | 25.20 | -18.68 | 22.68 | -9.97 |
Trade balance | 13.10 | 41.96 | 10.37 | -20.89 | 10.34 | -0.30 |
ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. ตัวเลขสถิติการลงทุน
– การลงทุนของภาครัฐในพื้นที่
1. สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (HK-Zhuhai-Macau Bridge) ในส่วนของมาเก๊า
ความสำคัญ เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกที่เชื่อมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเพิร์ลเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าระหว่างมาเก๊า ฮ่องกง และเมืองจูไห่
สถานะ อยู่ระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมสะพานในส่วนของฮ่องกงกับเมืองจูไห่และมาเก๊า
เวลาแล้วเสร็จ ปี 2559
2. โครงข่ายรถไฟฟ้าในมาเก๊า (Macau Light Transit System)
ความสำคัญ เป็นระบบรถไฟฟ้าแห่งแรกของมาเก๊า โดยเส้นทางจะครอบคลุมคาบสมุทรมาเก๊า ชายฝั่ง Taipa และ Cotai รวมทั้งท่าเรือมาเก๊า และท่าอากาศยานมาเก๊า
สถานะ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 ซึ่งมีระยะทาง 21 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่งตะวันออกและเชื่อมกับชายฝั่ง Taipa
เวลาแล้วเสร็จ คาดว่าโครงการระยะที่ 1 จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2558
– การลงทุนระหว่างประเทศ
2009 | 2010 | 2011 | |
---|---|---|---|
Stock (million MOP) | 84 052 | 109 036 | 118 896 |
Flows (million MOP) | 6 848 | 22 657 | 5 189 |
Income (million MOP) | 19 657 | 28 350 | 46 706 |
4. ตัวเลขสถิติภาคบริการ / การท่องเที่ยว
– ภาพรวมการท่องเที่ยวของมาเก๊า
– ภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-มาเก๊า
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง