BIC Publication

Inner-mongolia เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ข้อมูลพื้นฐาน

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะอยู่ระหว่างเส้นลองจิจูด 97 องศา 12 ลิปดา ถึง 126 องศา 04 ลิปดาตะวันออก และละติจูด 37 องศา 24 ลิปดา ถึง 53 องศา 23 ลิปดาเหนือ 

ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้มีพรมแดนติดกับมณฑลต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 8 มณฑล ได้แก่ มณฑลเฮยหลงเจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง เหอเป่ย ซานซี ส่านซี มณฑลกานสู และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ส่วนทิศเหนือติดกับประเทศมองโกเลียและประเทศรัสเซีย

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,183,000 ตารางกิโลเมตร โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.3 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสามรองจากเขตปกครองตนเองซินเจียง และเขตการปกครองตนเองทิเบต มีระยะทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกรวม 2,400 กิโลเมตร และระยะทางจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ 1,700 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศรัสเซียและประเทศมองโกเลียคิดเป็นระยะทางกว่า 4,220 กิโลเมตร

พื้นที่ภูมิประเทศของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในประกอบด้วยพื้นที่ราบสูงร้อยละ 53.4 พื้นที่ภูเขาร้อยละ 20.9 พื้นที่เนินเขาร้อยละ 16.4 และแม่น้ำและทะเลสาปร้อยละ 0.8

พื้นที่ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในนอกจากพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง พื้นที่ราบสูงที่สำคัญได้แก่

  • ที่ราบสูงถัวเปยเอ๋อ
  • ที่ราบสูงซีหลินกัวเล่อ
  • ที่ราบสูงอาลาช่าน
  • ที่ราบสูงเอ้อเอ๋อตัวซี

โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,000 เมตร พื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นทะเลทรายปาตาจี๋หลิน และทะเลทรายโกบีซึ่งกินอาณาบริเวณชายแดนบางส่วน

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประสบปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การใช้พื้นที่โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลให้มองโกเลียในประสบกับปัญหาต่อเนื่องตามมา อาทิ

  • ปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
  • ปัญหาการกัดกร่อนของลมทะเลทราย
  • ปัญหาการเหือดแห้งของลำน้ำ
  • ปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย

ซึ่งปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายนั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ทะเลทรายได้ขยายวงกว้างออกไปครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของเขตปกครองฯ ในแต่ละปี พื้นที่ทะเลทรายจะขยายกว้างออกไปโดยเฉลี่ยมากกว่า 67,000 เฮคเตอร์ การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายก่อให้เกิดลมพายุทราย ซึ่งพายุทรายทำให้ลำน้ำต่าง ๆ ภายในเขตปกครองฯ ตื้นเขิน เกิดเป็นวงจรที่ส่งผลต่อความแห้งแล้งของพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ แม้ทางรัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาดังกล่าว โดยได้เริ่มดำเนินการควบคู่กับนโยบายการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกของจีนตั้งแต่ช่วงปี 2542 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก

ทรัพยากรสำคัญ

ที่ราบสูงเอ้อเอ๋อตัวซีซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเป็นพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุมาก โดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน 

ปัจจุบัน มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุมากกว่า 120 ชนิด เป็นทรัพยากรแร่ธาตุที่ทำการสำรวจปริมาณแล้ว 78 ชนิด ในจำนวนนี้ มี 42 ชนิดที่มีปริมาณมากจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน มีการค้นพบถ่านหินในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 100,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีการขุดสำรวจแล้วเป็นปริมาณกว่า 240,000 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งประเทศ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากมณฑลซานซี

นอกจากนี้ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติมาก โดยน้ำมันปิโตรเลียมคาดการณ์ว่ามีปริมาณ 2,000 – 3,000 ล้านตัน และก๊าซธรรมชาติมีประมาณ 1,000,000 ล้านตัน 

ส่วนแร่โลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งประเภทโลหะที่มีสี และโลหะที่ไม่มีสี อาทิ แร่สังกะสี แร่พลุมบลัม แร่สแตนนั่ม แร่บิสมัส แร่ทองแดง แร่โมลิบดีนั่ม และแร่อลูมิเนียม เป็นต้น ล้วนมีในปริมาณมากและหลากหลายชนิด โดยในจำนวนนี้ แร่สังกะสี แร่พลุมบลัม แร่สแตนนั่ม และแร่บิสมัสมีเป็นปริมาณมากอยู่ในห้าลำดับแรกของประเทศ สำหรับแร่ฟลูออไรด์มีปริมาณมากที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ มองโกเลียในเป็นแหล่งแร่ฟลูโอไรด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในเป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญของประเทศ มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 18,667,000 ตารางกิโลเมตร มากที่สุดในประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศ ทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ต้นสน และต้นเบิร์ช (Birch) เป็นต้น

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทรัพยากรพลังงานลมในเขตปกครองตนเองอาลาช่าน (Alxa) เขตปกครองตนเองซีหลินกัวเล่อ (Xilingol) และภูเขาหยางซาน ซึ่งมีความเร็วลม 3.3 – 5.7 เมตรต่อวินาที สามารถผลิตพลังงานลมได้ 200 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยมากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณกระแสลมสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้

นอกจากนี้ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 86,667,000 เฮคเตอร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของพื้นที่ทุ่งหญ้าทั้งประเทศ พื้นที่ทุ่งหญ้าของมองโกเลียในมีพืชกว่า 1,000 ชนิด มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการทำปศุสัตว์

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

ชาวมองโกล ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ใช้ม้าเป็นพาหนะในการต่อสู้ที่เก่งที่สุด ผู้ที่ได้รวบรวมมองโกเลียเข้าไว้ด้วยกันคือ เจงกิสข่าน หรือชื่อเดิมคือ เตมูจิน (Temujin) เกิดในตระกูลขุนศึกเมื่อปี ค.ศ.1162 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสู้รบอย่างโหดเหี้ยมระหว่างชนเผ่า 

ทำให้เตมูจินต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อเตมูจินอายุได้เก้าปี บิดาของเขาถูกลอบสังหาร จึงทำให้เขาและครอบครัวต้องลี้ภัยไปออกจากพื้นที่อยู่อาศัยเดิม เตมูจินเป็นผู้มีความสามารถ โดยเมื่ออายุได้เพียงสิบกว่าปีก็สามารถใช้วิธีทางการทูตสานสัมพันธไมตรีกับชนเผ่าต่าง ๆ

ในปี ค.ศ. 1206 เตมูจินสามารถรวบรวมชาวมองโกลเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้รับการขนานนามว่า “เจงกิสข่าน” หรือ “จักรพรรดิผู้เกรียงไกร” ในปี ค.ศ. 1211 เตมูจินเริ่มเดินทัพโจมตีปักกิ่ง และได้สังหารชีวิตผู้คนกว่า 30 ล้านคน หลังจากนั้นได้เดินทัพไปทางทิศตะวันตกและเผาทำลายล้างเส้นทางสายไหม ทำให้ชื่อ “เจงกิสข่าน” ขจรไปไกลถึงตะวันตก และต่อมาได้ทำการรบกับชาวเติร์ก ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศอิรัก อิหร่าน และภาคตะวันตกของเตอร์กิสถาน ภาคเหนือของประเทศอินเดีย และปากีสถาน ประเทศรัสเซีย และดินแดนตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปยังมหาสมุทรอาร์กติก

ยุคสมัยของ “เจงกิสข่าน” จบลงระหว่างการปราบกบฏในมณฑลชีเชียช่วงค.ศ. 1277 เนื่องจากเตมูจินตกจากหลังม้า และได้รับความบอบช้ำภายในจนสวรรคตในเวลาต่อมา ซึ่งการสวรรคตดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดของการขยายจักรวรรดิไปยังตะวันตก ปี ค.ศ.1911 มองโกเลียในอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศจีน ปี ค.ศ.1952 สถาปนาเมืองฮูเหอเฮ่าเท่อ (Hohhot) เป็นเมืองหลวง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันระลึกถึงชนชาติมองโกเลีย และเขตการปกครองตนเองมองโกเลียในนับเป็นเขตแรกของจีนที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตปกครองตนเอง

ข้อมูลประชากร

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 49 ชนชาติ อาทิ

  • ชนชาติฮั่น
  • ชนชาติมองโกล
  • ชนชาติหุย
  • ชนชาติแมนจู
  • ชนชาติเกาหลี
  • ชนชาติต๋าว่อเอ่อร์
  • ชนชาติเอ้อเวินเค่อ
  • ชนชาติเอ้อหลุนชุน
  • ชนชาติจ้วง
  • ชนชาติซีป๋อ
  • ชนชาติรัสเซีย
  • ชนชาติทิเบต
  • ชนชาติเหวยอู๋เอ่อร์
  • ชนชาติอี๋
  • ชนชาติปู้อี

โดยประชากรชาวฮั่นและชาวมองโกลมีจำนวนมากที่สุด สิ้นปี 2557 เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีประชากรจำนวน 25.05 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 72,000 คน อัตราการเกิดพันละ 9.31

สภาพภูมิอากาศ

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในตั้งอยู่ห่างจากมหาสมุทร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ ประกอบกับบางส่วนของพื้นที่มีภูเขาสกัดกั้นลมจากชายฝั่ง จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมภาคพื้นทวีป มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมาก ฤดูร้อนมีระยะเวลาสั้นและอากาศร้อนรุนแรง ฤดูหนาวอากาศหนาวรุนแรง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี -1–10องศาเซลเซียส เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีปริมาณน้ำฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 50 – 450 มิลลิเมตร โดยปริมาณน้ำฝนจะมีมากในพื้นที่ตะวันออกและลดน้อยลงไล่ไปตามพื้นที่ทางทิศตะวันตก

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

Inner Mongolia Tourist Map

ภายในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในประกอบด้วย 3 เขตปกครองตนเอง ได้แก่

  • เขตปกครองตนเองซิ่งอัน ( Xinggan )
  • เขตปกครองตนเองซีหลินกัวเล่อ ( Xilingol )
  • เขตปกครองตนเองอาลาช่าน ( Alxa )

รวมทั้งอีก 9 เมือง ได้แก่

  • นครฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot ) ซึ่งเป็นเมืองเอกของมองโกเลียใน
  • เมืองเปาโถว ( Baotou )
  • เมืองอูไห่ ( Wuhai )
  • เมืองชื่อเฟิง ( Chifeng )
  • เมืองถงเหลียว ( Tongliao )
  • เมืองเอ้อเอ๋อตัวซี ( Ordos )
  • เมืองฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ ( Hulun Beir )
  • เมืองปาหย่านเน่าเอ๋อ (Ulaan Chab )
  • เมืองวูหลานฉาปู้ ( Baynnur )

รูปแบบการปกครองของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

หน่วยงานต่าง ๆ ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาประจำเขตปกครองตนเอง 
มองโกลียใน
กรมการวัฒนธรรม
กรมพาณิชย์สำนักงานสรรพากร
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานวิทยุและโทรทัศน์
กรมสันติบาลสำนักงานการประมง
กรมการคลังสำนักงานการท่องเที่ยว
กรมการยุติธรรมสำนักงานการควบคุมเทคโนโลยีและคุณภาพ
กรมการศึกษาสำนักงานการรักษาสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากรสำนักงานการบริหารอุตสาหกรรมและพาณิชย์
กรมสวัสดิการแรงงานและสังคมสำนักงานการบริหารและควบคุมสินค้าอาหารและยา
กรมการคมนาคมคณะกรรมการด้านการวางแผนครอบครัวและประชากร
กรมการชลประทานสำนักงานธัญพืช
กรมการป่าไม้สำนักงานการต่างประเทศ
กรมการสาธารณสุขสำนักงานกฎหมายแห่งรัฐบาลประชาชนเขตปกครองตนเอง 
มองโกเลียใน
กรมการตรวจสอบบัญชีสำนักงานการกีฬา
กรมการเกษตรและปศุสัตว์คณะกรรมการการศาสนาแห่งชนกลุ่มน้อย
กรมโยธาธิการสำนักงานอุตสาหกรรมการสื่อสาร
กรมการพลเรือนคณะกรรมการบริหารและตรวจตราทรัพย์สินแห่งชาติ

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหวัง จุน (Wang Jun)

เลขาธิการพรรคฯ

นายปาเท่อร์ (Bateer)

ประธานเขต ฯ

นายหวัง จุน (Wang Jun)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายเหริน ย่าผิง (Ren Yaping)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ได้ที่ http://www.nmg.gov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครฮูเหอเห้าเท่อ (Hohhot)

นครฮูเหอเห้าเท่อเป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ได้รับขนานนามว่า “เมืองแห่งสีเขียว” โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของเขตฯ ในอดีตเป็นเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหม

นครฮูเหอเห้าเท่อมีพื้นที่ 17,000 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เขตเมือง 149 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 2,580,000 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมีจำนวนมากกว่า 1,500,000 คน โดยมีประชากรชนชาติมองโกลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สุด นอกนั้นเป็นชนชาติฮั่น แมนจู หุย เกาหลี และอื่น ๆ รวมทั้งหมด 36 ชนชาติ

นครฮูเหอเห้าเท่อแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขต และ 4 อำเภอ ได้แก่ 
เขตเมืองใหม่ เขตไส้หั่น เขตหยู่ฉวน เขตหุยหมิน อำเภอหวู่ชวน อำเภอชิงสุ่ยเหอ อำเภอเหอหลินเก๋อเอ๋อ และอำเภอโทวเค่อโทว 
นอกจากพื้นที่ 4 เขต และ 4 อำเภอดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่ของเขตชนชาติถู่โม่ฉือโจ่วด้วย

นครฮูเหอเห้าเท่อเป็นเมืองสำคัญในอันดับต้น ๆ ของประเทศจีนในด้านการทำฟาร์มปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงวัว แกะ และแพะ นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงสัตว์ประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เป็ด ห่าน กวาง และกระต่าย

2. เมืองเปาโถว (Baotou)

เมืองเปาโถวเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน เมืองเปาโถวได้รับการจัดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก โดยเป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญของมองโกเลียใน และเป็นแหล่งแร่เหล็กแหล่งใหม่ของประเทศจีนทางตอนเหนือ

เมืองเปาโถวตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาหยินซานและเทียนซานซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญของมองโกเลียใน ภูเขาหยินซานและเทียนซานอุดมไปด้วยแร่โลหะและแร่อโลหะมากกว่า 100 ชนิด รวมทั้งยังมีถ่านหินอีกเป็นปริมาณมาก ซึ่งทำให้เมืองเปาโถวและเมืองรอบข้างเป็นแหล่งผลิตถ่านหิน โดยมีปริมาณการผลิตมากกว่าร้อยละ 25 ของปริมาณการผลิตถ่านหินทั่วประเทศ

 

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot Economic and Technological Development Zone)

เป็น 1 ใน 49 เขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2543 มีระยะห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 500 กิโลเมตร และระยะห่างจากท่าเรือเทียนจิน 800 กิโลเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 350 – 500 มิลลิเมตร

ภายในเขตพัฒนาฯ ประกอบด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหรูยี่ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินจินชวน เน้นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมไอที อุตสาหกรรมยาชีวภาพ อุตสาหกรรมวัสดุสมัยใหม่ อุตสาหกรรมการสกัดและแปรรูปทองคำและเงิน อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม และอุตสาหกรรมอาหารปลอดสารพิษ 

นอกจากนี้ เขตนี้ยังมีจุดเด่นคือ เป็นฐานอุตสาหกรรมยาระดับประเทศ และเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย

ในเขตนี้มีการลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน อาทิ

  • บริษัท TCL Corporation
  • บริษัท Skyworth
  • บริษัท ShuangQi Pharmaceutical Co.,Ltd
  • บริษัท Inner Mongolia Grand Pharmaceutical Co.,Ltd
  • บริษัท Inner Mongolia Saibeixing Beer

นอกจากนี้แล้ว เมืองฮูเหอยังมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจอื่น ๆ อีก 9 แห่ง ได้แก่

  1. เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot Export Processing Zone )
  2. เขตเศรษฐกิจเชิ่งเล่อ (Shengle Economic Park ) 
  3. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินเฉียว (Jinqiao Economic and Technological Development Zone ) 
  4. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินซาน (Jinshan Economic and Technological Development Zone) 
  5. เขตอุตสาหกรรมทัวเตี้ยน (Tuodian Industry Zone ) , 
  6. เขตนิคมอุตสาหกรรมอวี้หลง (Yulong Industry Park ) 
  7. เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหงเชิ่ง ( Hongsheng Science and Technology Zone) 
  8. เขตอุตสาหกรรมจินไห่ ( Jinhai Industry Zone)
  9. เขตอุตสาหกรรมพลังงานสูงหวู่ชวน ( Wuchuan High – energy Industry Zone)
การคมนาคมและโลจิสติกส์

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

ปี 2557 เขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้ลงทุนก่อสร้างทางหลวง 66,100 ล้านหยวน เส้นทางหลวงของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีความยาวมากกว่า 170,000 กิโลเมตร โดยมีทางด่วน 4,237 กิโลเมตร

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีเส้นทางรถไฟสายหลัก 14 สาย เส้นทางรถไฟสายรอง 12 สาย และเส้นทางรถไฟท้องถิ่นอีก 5 สายที่เชื่อมต่อกับมณฑลอื่นทั่วประเทศ ในปี 2557 เส้นทางรถไฟมีระยะทางรวมกันทั้งหมดมากกว่า 12,000 กิโลเมตร โดยมี

  • เส้นทางปักกิ่ง-เปาโถว
  • เส้นทางเปาโถว-หลานโจว
  • เส้นทางปักกิ่ง-ทงฮั้วเชื่อมระหว่างตะวันออกและตะวันตก

เมืองเอ้อเหลียนเห้าฉือ (Erenhot) เป็นจุดชายแดนที่สำคัญที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางรถไฟมองโกเลียซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศมองโกเลียและประเทศจีน เส้นทางรถไฟมองโกเลียเชื่อมระหว่างกรุงปักกิ่งและอูหลานปาทัว (Ulan Bator) ของประเทศมองโกเลีย ก่อนที่จะเชื่อมเส้นทางต่อไปยังประเทศรัสเซีย และเปลี่ยนเส้นทางรถไฟต่อไปยังไซบีเรีย เส้นทางรถไฟมองโกเลียนับเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่เชื่อมฝั่งตะวันออก (กรุงปักกิ่ง) กับฝั่งตะวันตกของโลกซึ่งอยู่ห่างกันด้วยระยะทางนับพันกิโลเมตร

เส้นทางขนส่งทางอากาศ

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีสนามบินทั้งหมด 13 แห่ง ได้แก่

  • สนามบินฮูเหอเห้าเท่อไป่ถา (Huhehaote Baita airport)
  • สนามบินเปาโถว ( Baotou airport)
  • สนามบินชื่อเฟิง (Chifeng airport)
  • สนามบินไห่ลาเอ๋อ (Hailaer airport)
  • สนามบินซีหลินเฮาเท่อ (Xilinhaote airport)
  • สนามบินูอูหลานเฮ้าเท่อ (Wulanhaote airport)
  • สนามบินทงเหลียว (Tongliao airport)
  • สนามบินเอ้อเหลียนเฮ่าเท่อ(Erenhot)
  • สนามบินหม่านโจวหลี่(แมนจูเรีย)
  • สนามบินเอ้อเอ่อตัวซือ(Ordos)
  • สนามบินอูห่าย(wuhai)
  • สนามบินทุกแห่งมีเที่ยวบินไปยังกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว

ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋ถ่านครฮูเหอเห้าเท่อก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2501 ตั้งอยู่ห่างจากนครฮูเหอเห่เท่อ 14.3 กิโลเมตร อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 12 และเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพทางการเติบโต
  • ยอดการค้าสินค้าปลีกอุปโภคบริโภคเติบโตเฉลี่ยแล้วร้อยละ 18 ต่อปี
  • รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยแล้วร้อยละ 12 ต่อปี
  • เร่งส่งเสริมการพัฒนาของธุรกิจบริการ พัฒนาให้ธุรกิจบริการครองสัดส่วนของ GDP ร้อยละ 68 และร้อยละ 40
  • อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวน 250,000 อัตราต่อปี พร้อมควบคุมอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 4.2
  • งบประมาณของ R&D ครองสัดส่วนของ GDP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีนวัตกรรม
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 6
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 13
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 11
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3
  • รายได้ของประชากรในตัวเมืองและเขตขนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และร้อยละ 10
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวน 250,000 อัตรา

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน
  • อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโลกสำหรับแร่หายากซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ
  • มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในจีนและมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของปริมาณทุ่งหญ้าทั่วประเทศจีน ทำให้มองโกเลียในเป็นฐานการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

นโยบายส่งเสริมการลงทุนรัฐบาลจี๋หลินให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • อุตสาหกรรมการก่อสร้างระบบสาธารณะและอุตสาหกรรมการพัฒนาทรัพยากร
  • ธุรกิจการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทที่มีอยู่แล้ว
  • อุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบของมณฑลจี๋หลิน
  • อุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนและเทคโนโลยีมาก

ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้ http://www.jl.gov.cn/tzjl/tzzc/201103/t20110331_970005.html

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

Print