ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลหูเป่ยได้ที่ http://www.hubei.gov.cn/
ที่ตั้งและพื้นที่
มณฑลหูเป่ยมีชื่อย่อว่า เอ้อ(鄂) ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศจีน ทิศเหนือติดกับมณฑลเหอหนานและมณฑลอันฮุย ทิศตะวันออกติดกับมณฑลเจียงซี ทิศใต้ติดกับมณฑลหูหนานและนครฉงชิ่ง และทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลซานซี
มณฑลหูเป่ย
มณฑลหูเป่ย
ข้อมูลประชากร
ปี 2557 มณฑลหูเป่ยมีประชากรทั้งหมด 59.88 ล้านคน
กลุ่มชาติพันธุ์
ฮั่น 95.6% ตู่เจีย 3.7% และม้ง 0.4%
สภาพภูมิอากาศ
มณฑลหูเป่ยอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อนและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อนชื้น โดยฤดูร้อนมีช่วงเวลานานที่สุดและฤดูหนาวมีเวลาสั้นที่สุด
ทรัพยากรสำคัญ
มณฑลหูเป่ยมีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ มีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติถึง 136 ชนิด ในจำนวนนี้ได้รับการสำรวจแล้ว 87 ชนิด
โดยมีทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ แร่ฟอสฟอรัส แร่แคลเซียมซิลลิเกต ฟอสเฟส ซิลิกา Rutile แบไรท์ แร่โกเมน แร่ Marlstone ซึ่งมีมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศจีน นอกจากนั้นมี ธาตุเหล็ก, ทองแดง, ยิปซั่ม, เกลือสินเธาว์, แมงกานีส, Vanadium, ธาตุปรอท, แร่ Dolomite, หินอ่อน และหินปูน ซึ่งมีมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ
มณฑลหูเป่ยมีทรัพยากรน้ำมากเป็นอันดับสิบของประเทศ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำ 58 แห่งโดยสามารถเก็บน้ำได้ถึง 43,750 คิวบิคเมตร และมีสถานีผลิตพลังงานจากน้ำขนาดใหญ่และกลาง สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากเป็นอันดับสี่ของประเทศ ได้แก่
ทั้งนี้ มณฑลหูเป่ยขาดแคลนทรัพยากรถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
(ภาพแผนที่มณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละพื้นที่)
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
เลขาธิการพรรคฯ
ผู้ว่าราชการมณฑลหูเป่ย
ปธ.สภาผู้แทน ปชช.
ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลหูเป่ยได้ที่ http://www.hubei.gov.cn/
1. นครอู่ฮั่น
เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย
มีที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำฮั่น และตั้งอยู่บริเวณใจกลางของประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 8,494.41 ตร.กม. นครอู่ฮั่นเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การคมนาคม เทคโนโลยี และการศึกษาในภาคกลางของประเทศจีน
นครอู่ฮั่นเป็นเมืองอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เหล็กกล้า เคมีทางผลิตยา สิ่งทอ และอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น
นครอู่ฮั่นถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง ในภาคกลางของจีน ปัจจุบัน รัฐบาลหูเป่ยให้ความสำคัญกับแผน “วงแหวนเศรษฐกิจอู่ฮั่น 1+8” เป็นอย่างมาก โดยนครอู่ฮั่นมีบทบาทนำในการส่งเสริมให้
นครอู่ฮั่นมีชื่อเสียงในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจำนวน 23 แห่งและสถาบันการวิจัยอีก 56 แห่ง สถาบันวิจัยและการศึกษาที่มีชื่อเสียงในอู่ฮั่น เช่น ม. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮวาจง (HuaZhong University of Science and Technology (HUST)) ถือเป็นแหล่งวิจัยด้านพลังงาน gas lasers และ solid laser และเป็นศูนย์การวิจัยทางด้านพลังงานเลเซอร์แห่งแรกของจีน
1. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่จิงเหมิน
(Jingmen New High – tech Industrial Development Zone)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 เป็นเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงระดับชาติ มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ชั้นสูงและอุตสาหกรรมสุขภาพ ภายในเขตเศรษฐกิจ มีนิคมอุตสาหกรรม Li Ning ซึ่งเป็นฐานการผลิตของใช้ด้านการกีฬาที่ใหญ่ระดับสากล บริษัท GEM เป็นบริษัทจัดการถ่านหินที่ใช้แล้วที่ใหญ่ที่สุดของจีนและเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบ Cobalt nickel powder ทีใหญ่ที่สุดในโลกเป็นต้น
2. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสือย่าน
(Shiyan Economic and Technical Development Zone)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับชาติ โดยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญของประเทศ โดยมีมูลค่าการผลิต 5 หมื่นล้านหยวนต่อปี ปัจจุบัน ได้พัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ดังต่อไปนี้
มณฑลหูเป่ย ยังเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงรวมถึงโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น
เส้นทางรถไฟปักกิ่ง-กว่างตง เส้นทางรถไฟขนส่งสายหลักของประเทศ พาดผ่านทิศตะวันออกของมณฑลหูเป่ย จึงสะดวกต่อการขนส่งปัจจัยการผลิตทั้งในและนอกมณฑล
วัตถุดิบที่ขนส่งทางรถไฟในหูเป่ยส่วนใหญ่เป็นประเภทถ่านหิน เหล็ก วัสดุก่อสร้างเช่น ไม้แปรรูป ธัญญาหาร แร่บางชนิด เป็นต้น
ทศวรรษที่ 70 แห่งศตวรรษที่ผ่านมา มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ผ่านเมืองสำคัญ ๆ ในมณฑลจากตะวันตกไปตะวันออก และจากเหนือล่องใต้ จนในปี 2558 มณฑลหูเป่ย มีเส้นทางรถไฟรวมระยะทาง 4,500 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงจากนครอู่อั่น สามารถไปถึงเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง และเขตเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่งภายใน 3-4 ชั่วโมง
ปัจจุบัน มณฑลหู่เป่ยมีทางด่วนทั้งสิ้น 6,500 กิโลเมตร ทางด่วนสำคัญได้แก่
เส้นขนส่งทางน้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในมณฑลหูเป่ย เนื่องจาก มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) แลแม่น้ำฮั่นเจียง เป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำสายหลัก ทั้งนี้เมืองและอำเภอต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ยังใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ดังนั้นมณฑลนี้จึงมีการอุตสาหกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศ
เมืองท่าต่าง ๆ อาทิ อู่ฮั่น หวงสือ ซาซื่อ อี๋ชัง มีการเปิดเส้นทางติดต่อกับต่างประเทศมานาน โดยมีท่าเรืออู่ฮั่นเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของแม่น้ำฉางเจียงตอนล่าง และเป็นท่าเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากเป็น 1 ใน 8 ท่าเรือที่เปิดใช้ในช่วงจีนปฏิรูปอุตสาหกรรมและเปิดประเทศราวปี 1980 และในปีถัดมาก็เปิดเส้นทางเดินเรือ ขนส่งสินค้าไปฮ่องกง ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์
สำหรับแม่น้ำฮั่นเจียง นั้นเป็นเส้นทางติดต่อไปยังถิ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล โดยบนที่ราบเจียงฮั่นนั้นมี ท่าเรือเซียงฝัน และท่าเรือเหล่าเหอโข่ว เป็นท่าเรือที่สำคัญ
Wuhan Tianhe International Airport/武汉天河国际机场
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1995 โดยตั้งห่างจากตัวเมืองอู่ฮั่น 26 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศที่ใหญ่ที่สุด ในภาคกลางจีน เป็น 1 ในสนามบิน ที่ยุ่งที่สุดของจีนด้วย โดยได้รองรับผู้โดยสาร 17 ล้านคนในปี 2557 เป็นสนามบินที่มีสำนักงานของบริษัท สายการบินที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่งของจีน ได้แก่ China Airway China Southern Airway China Eastern Airway และ Hainan Airway
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015
รัฐบาลเหอเป่ยให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง