ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลฮ่องกงได้ที่ link
ที่ตั้งและพื้นที่
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน และดินแดนที่เรียกว่า New Territories (ซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนจีน) รวมถึงเกาะเล็ก ๆ อีก 261 เกาะ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ เกาะลันเตา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติฮ่องกง และ Disneyland) รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1,113.76 ตารางกิโลเมตร
ข้อมูลประชากร
จากสถิติของ Census and Statistics Department ของฮ่องกง ในปี 2565 ฮ่องกงมีประชากรประมาณ 7.29 ล้านคน ประกอบด้วยเพศชาย 3.33 ล้านคน และเพศหญิง 3.96 ล้านคน มีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรลดลงร้อยละ 1.6% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 91.6 เป็นคนจีน ใช้ภาษากวางตุ้ง จีนกลาง และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลัก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม และฮินดู
สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิเฉลี่ยของฮ่องกงเท่ากับ 23.5 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิในฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) อาจลดลงต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อากาศจะสบาย แต่อาจมีความชื้น ฤดูร้อน (พฤษภาคม – สิงหาคม) อุณหภูมิอาจสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสูงและมีฝนตก ตลอดจนอาจได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนหรือพายุไต้ฝุ่น ส่วนช่วงกันยายน – ตุลาคม อากาศจะเริ่มเย็นลง เตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว
ทรัพยากรสำคัญ
ฮ่องกงไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใดๆ มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะมีที่ราบเป็นส่วนน้อย และล้อมรอบด้วยทะเล จึงทำให้ฮ่องกงมีศักยภาพในการเป็นท่าเรือน้ำลึกสำหรับทำการค้ากับต่างประเทศ
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
ฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรซึ่งได้ทำสัญญาเช่าฮ่องกงและพื้นที่อื่นเพิ่มเติมจากจีนเป็นเวลานานถึง 156 ปีและได้กลับคืนสู่การปกครองของจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 สหราชอาณาจักรได้วางโครงสร้างในด้านต่างๆ ให้กับฮ่องกง โดยเฉพาะระบบกฎหมาย ระบบการคมนาคม ระบบราชการ และระบบการศึกษา ฮ่องกงจึงมีวัฒนธรรมแบบตะวันออกผสมตะวันตก และมีค่านิยมที่หยั่งรากลึกในเรื่องการเคารพกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล หน้าที่พลเมืองที่ดี และการต่อต้านการคอรัปชั่น
Basic Law
ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนภายใต้หลักการ “One country, two systems” ตามที่ระบุในกฎหมายธรรมนูญของฮ่องกง The Basic Law of the Hong Kong SAR of the People’s Republic of China ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่ฮ่องกงคืนสู่การปกครองของจีนเมื่อปี 2540 กฎหมายนี้ระบุให้ฮ่องกงธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมในปัจจุบันเป็นเวลาอีก 50 ปี และภายใต้หลักการดังกล่าว จีนได้ให้อิสระแก่ฮ่องกงอย่างมากในการบริหารบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ ยกเว้นด้านการต่างประเทศและด้านการทหาร ซึ่งรัฐบาลจีนเป็นผู้ดูแล
(ภาพแผนมณฑลที่มีแบ่งแยกแต่ละเขต)
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
ฮ่องกงประกอบไปด้วยเขตบริหารงานทั้งหมด 18 เขต ดังนี้
พื้นที่ | เขต |
เกาะฮ่องกง(Hong Kong Island)(香港島) | 1.Central and Western (中西區) |
2.Wan Chai (灣仔)) | |
3.Eastern (東區) | |
4.Southern (南區) | |
เกาลูน (Kowloon)(九龍) | 5. Yau Tsim Mong (油尖旺) |
6. Kowloon City (九龍城) | |
7. Kwun Tong (觀塘)) | |
8. Sham Shui Po (深水埗) | |
9. Wong Tai Sin (黃大仙) | |
เขตดินแดนใหม่ (New Territories)(新界) | 10. Islands (離島) |
11. Kwai Tsing (葵青) | |
12. Tsuen Wan (荃灣) | |
13. Sha Tin (沙田) | |
14. Sai Kung (西貢) | |
15. Tuen Mun (屯門) | |
16. Yuen Long (元朗) | |
17. Tai Po (大埔) | |
18. North (北區) |
ผู้บริหารสูงสุด
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลฮ่องกงได้ที่ link
พื้นที่ของฮ่องกงแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 1. Hong Kong 2. Kowloon และ 3. New Territories โดยมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 เขต ดังนี้
1.1 Central & Western
เขต Central & Western มีพื้นที่ประมาณ 1,255 เฮคตาร์ (1 เฮคตาร์ = 10,000 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรจำนวน 259,300 คน เป็นเขตที่มีการพัฒนาเป็นอันดับแรก ๆ ของฮ่องกง โดยปัจจุบันนับเป็นเขตใจกลางเมืองของฮ่องกง ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน กฎหมาย และการเมือง เขต Central & Western มีสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง อาทิ อาคารสภานิติบัญญัติเก่า ทำเนียบรัฐบาล และศาลสูง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ อาทิ สำนักงานใหญ่ของบริษัททางการเงิน สถานกงสุลใหญ่ของประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานราชการของรัฐบาลฮ่องกง
1.2 Wan Chai
เขต Wan Chai ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 976 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 16,000 คน ในอดีตพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นหมู่บ้านชาวประมง เขต Wan Chai จึงนับเป็นอีกเขตหนึ่งที่มีความเก่าแก่และเต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมดั้งเดิม แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ/การจัดแสดงสินค้า/การท่องเที่ยว/กีฬาแล้วก็ตาม โดยสถานที่สำคัญ ได้แก่ Hong Kong Convention and Exhibition Centre
1.3 Southern
เขต Southern ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 4,000 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 280,000 คน มีอาณาเขตติด Pacific Ocean และมีชายหาดซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างมาก อาทิ ชายหาด Repulse Bay, Shek O และ Stanley ระบบคมนาคมในเขต ได้แก่ รถประจำทาง รถมินิบัส และรถแท๊กซี่ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน (MTR) สาย South Island (East) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
1.4 Eastern
เขต Eastern ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 1,900 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 588,000 คน มีระบบคมนาคมที่สะดวกสบายด้วยเครือข่ายรถไฟใต้ดิน (Mass Transit Railway-MTR) รถประจำทาง รถราง และเรือ สถานที่สำคัญ ได้แก่ Victoria Park ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกง, Taikoo Shing ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาที่พักอาศัยขนาดใหญ่ และมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในเขต Eastern, Hong Kong Museum of Coastal Defence
2.1 Kwun Tong
เขต Kwun Tong ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ประมาณ 1,130 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 609,700 คน และเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่มีการพัฒนาเป็นอันดับแรก ๆ ของฮ่องกง เนื่องจากจำนวนประชากรในเขตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุปสงค์ด้านที่พักและบริการด้านการแพทย์เพิ่มขึ้นด้วย รัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเขตชุมชนเก่าและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ การก่อสร้าง/บูรณะสถานศึกษา สถานพยาบาล และสนามกีฬากลางแจ้ง ทำให้ปัจจุบันประชาชนในเขต Kwun Tong มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.2 Sham Shui Po
เขต Sham Shui Po ตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ประมาณ 1,047 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 365,600 คน ประชากรมีรายรับเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เขต Sham Shui Po เป็นเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่มีการพัฒนาเป็นลำดับแรก ๆ ในฮ่องกง ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะย้ายไปตั้งในจีนแล้ว แต่ Sham Shui Po ยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าส่งสินค้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าและของเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์กลางจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
2.3 Yau Tsim Mong (YTM)
เขต YTM ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ 7 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 301,800 คน จัดเป็นเขตที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น และมีนักท่องเที่ยวค่อนข้างเยอะ เนื่องจากมีโรงแรมและห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกและจับจ่ายใช้สอยของคนท้องถิ่นด้วย สถานที่สำคัญในเขต YTM ได้แก่ Hong Kong Cultural Centre, Hong Kong Museum of Art, Hong Kong Space Museum, Hong Kong Science Museum และ Hong Kong Museum of History
2.4 Kowloon City
ขต Kowloon City มีพื้นที่ประมาณ 1,000 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 374,300 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านพักเอกชน พื้นที่ในเขตแบ่งเป็นส่วนการค้าและอุตสาหกรรม และมีโรงเรียนมากถึงกว่า 200 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist University และ Open University of Hong Kong นอกจากนี้ เขต Kowloon City ยังเป็นเขตที่มีชุมชนไทยตั้งอยู่ด้วย
2.5 Wong Tai Sin
เขต Wong Tai Sin ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ 9.26 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 420,000 คน Wong Tai Sin เป็นเขตที่มีบ้านพักรัฐบาลค่อนข้างมาก (ร้อยละ 85 ของประชากรในเขตพักอยู่ในบ้านพักรัฐบาล) สถานที่สำคัญในเขต Wong Tai Sin ได้แก่ วัด Wong Tai Sin Temple ซึ่งเป็นวัดเต๋าเพียงแห่งเดียวในฮ่องกง และสำนักชี Chi Lin
3.1 Islands
เขต Islands มีพื้นที่ประมาณ 17,600 เฮคตาร์ ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ โดยเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ Lantau Island, Lamma Island และ Cheung Chau มีประชากรทั้งสิ้น 151,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ Tung Chung New Town เขต Islands เป็นเขตที่มีชื่อเสียงด้านบ้านพักตากอากาศและภัตตาคารอาหารทะเล สถานที่สำคัญ ได้แก่ Cheung Sha Beach, Giant Buddha in Po Lin Monastery, AsiaWorld-Expo, Tai O Fishing Village และ Hong Kong Disneyland
3.2 North
เขต North ตั้งอยู่เหนือสุดของฮ่องกง มีพื้นที่ 168 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 305,100 คน เขต North มีอาณาเขตติดกับเมืองเซินเจิ้นของจีนโดยมีแม่น้ำขวางกั้น จึงเป็นเขตเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างฮ่องกงกับเมืองเซินเจิ้นและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ ระหว่างฮ่องกงกับจีน
3.3 Sha Tin
เขต Sha Tin มีพื้นที่ประมาณ 6,940 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 630,273 คน Sha Tin เป็นเขตใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชน และมีเขตอุตสาหกรรมเบา 4 แห่ง ได้แก่ Tai Wai, Fo Tan, Siu Lek Yuen และ Shek Mun เขต Sha Tin มีเส้นทางสำหรับขี่จักรยานโดยเฉพาะ และเป็นที่นิยมสำหรับทั้งชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
3.4 Tseun Wan
เขต Tseun Wan เป็นพื้นที่ New Territories ที่ได้รับการพัฒนาเป็นแห่งแรกของฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 6,000 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 300,000 คน เขต Tseun Wan นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งแถบตะวันตกของ New Territories และยังเป็นทางผ่านสู่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการสร้างบ้านพักเอกชนและอาคารพาณิชย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก แต่บางพื้นที่ในเขตยังคงเป็นชนบท สถานที่สำคัญ ได้แก่ วัด Yuen Yuen, Western Monastery และ Chuk Lam Sim Yuen
3.5 Yuen Long
เขต Yuen Long ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 14,430 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 560,000 คน แม้จะมีการพัฒนา Yuen Long ให้เป็นเขตเมืองอย่างรวดเร็ว แต่วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมบางอย่างยังคงอยู่ อาทิ Tin Hau Festival นอกจากนี้ Yuen Long ยังมีชื่อเสียงด้านสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ อาทิ Hong Kong Wetland Park
3.6 Sai Kung
เขต Sai Kung มีพื้นที่ประมาณ 12,680 เฮคตาร์ เป็นเขตที่มีชื่อเสียงด้านการชมทัศนียภาพทางธรรมชาติสำหรับทั้งชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังขึ้นชื่อด้านภัตตาคารอาหารทะเล สถานที่สำคัญ ได้แก่ Hong Kong University of Science and Technology
3.7 Tuen Mun
เขต Tuen Mun ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 8,200 เฮคตาร์ Tuen Mun เป็นหนึ่งในเขตแรก ๆ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ส่งผลให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากจำนวน 20,000 คนในปี ค.ศ. 1960 เป็นจำนวน 500,000 คนในปัจจุบัน สถานที่สำคัญ ได้แก่ Lingnan University
3.8 Kwai Tsing
เขต Kwai Tsing ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 1,983 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 516,200 คน เขต Kwai Tsing เป็นที่ตั้งของท่าเรือคอนเทนเนอร์ Kwai Chung และท่าเรือคอนเทนเนอร์ Tsing Yi มีบทบาทสำคัญในภาคการขนส่งสินค้าของฮ่องกง
3.9 Tai Po
เขต Tai Po ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 14,800 เฮคตาร์ มีประชากรจำนวน 300,000 คน Tai Po เป็น เขตที่มีการผสมผสานระหว่างหมู่บ้านชนบทกับเขตเมืองที่พัฒนาแล้ว โดยเขตเมืองจะมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่งและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคบริการ
ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีระบบขนส่งสาธารณะดีที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ในแต่ละวัน ฮ่องกงมีผู้โดยสารที่เดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ เส้นทางรถไฟ รถราง รถประจำทาง เรือ และแท๊กซี่ ถึงว่า 11 ล้านคน ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้มีทั้งส่วนที่เป็น Private Company และ Public Corporations
เส้นทางทางบก
1.เส้นทางถนน
ในปี 2554 ฮ่องกงมีเส้นทางถนนทั้งหมด 2,086 กิโลเมตร โดยเป็นถนน 1,316 สาย อุโมงค์ข้ามทะเล 3 แห่ง ถนนลอดอุโมงค์ 13 สาย และสะพานหลัก 5 สะพาน ฮ่องกงมียานพาหนะที่จดทะเบียนจำนวน 630,281 คัน โดยเป็นรถยนต์ส่วนตัว 434,843 คัน ส่งผลให้ฮ่องกงเป็นหนึ่งในเมืองที่ประชากรมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของยานพาหนะน้อยที่สุดในโลก ทั้งนี้ แม้ว่าการจราจรในเขตใจกลางเมืองบางแห่งจะค่อนข้างหนาแน่น แต่สภาพการจราจรายังคงลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นช่วงเวลาเร่งด่วน เนื่องจากฮ่องกงมีโครงข่ายการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
2.เส้นทางรถไฟ
เส้นทางรถไฟเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สำคัญของฮ่องกง โดยในแต่ละวัน จะมีร้อยละ 38 ของชาวฮ่องกงเดินทางโดยใช้เส้นทางรถไฟ (ปี 2554) เส้นทางรถไฟในฮ่องกงประกอบด้วยระบบรถไฟขนส่งมวลชน (Mass Transit Railway-MTR) ระบบรถไฟความเร็วสูง (Airport Express) และระบบรถไฟฟ้าบนดิน (Light Rail)
– ระบบ MTR เป็นระบบขนส่งที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ประกอบด้วยเส้นทาง 9 สาย ได้แก่ Kwun Tong Line, Tsuen Wan Line, Island Line, Tung Chung Line, Tseung Kwan O Line, Disneyland Resort Line, Ma On Shan Line และ West Rail Line มีความยาวทั้งสิ้น 175 กิโลเมตร และมีสถานีกว่า 80 สถานี
– ระบบ Airport Express ให้บริการเส้นทางจากเขต Hong Kong ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง โดยมีระยะทาง 35.2 กิโลเมตร ในปี 2554 มีผู้โดยสารใช้บริการระบบ MTR และ Airport Express วันละประมาณ 4.07 ล้านคน
– ระบบ Light Rail มีระยะทาง 36.2 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีต่าง ๆ จำนวน 68 สถานี ให้บริการพื้นที่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories ในปี 2554 มีผู้ใช้บริการระบบ Light Rail วันละประมาณ 441,900 คน
ระบบรถราง (Trams) เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 รถรางจำนวน 164 ขบวนในฮ่องกงถือเป็นระบบรถรางสองชั้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี 2554 มีผู้ใช้บริการรถรางวันละ 216,300 คน
1.ท่าเรือ Kwai Tsing (Kwai Tsing Container Terminals)
ท่าเรือ Kwai Tsing ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าววิกตอเรีย เป็นท่าเรือที่ใช้สำหรับขนถ่ายสินค้าในลักษณะตู้คอนเทนเนอร์ มีพื้นที่ 2.7ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีขนส่ง (container terminals) 9 สถานี สามารถรองรับเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ 24 ลำ และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ทั้งสิ้น 18 ล้าน TEUs (20-foot equivalent units of containers) โดยปัจจุบัน มีบริษัทขนส่งสินค้า 5 บริษัท ได้แก่ Modern Terminals Ltd. (MTL), Hong Kong International Terminals Ltd. (HIT), COSCO Information & Technology (H.K.) Ltd. (COSCO), Dubai Port International Terminals Ltd. (DPI) และ Asia Container Terminals Ltd. (ACT) เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าในท่าเรือ Kwai Tsing
2. ท่าเรือ River Trade Terminal
ท่าเรือ River Trade Terminal เป็นสถานีขนส่งทางแม่น้ำเพียงแห่งเดียวของฮ่องกง ตั้งอยู่ในเขต Tuen Mun โดยมีพื้นที่จำนวน 65 เฮคตาร์ สามารถรองรับเรือสินค้าได้ 49 ลำ ท่าเรือ River Trade Terminal จะใช้ในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ระหว่างท่าเรือของฮ่องกงกับท่าเรือในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (PRD)
3. ท่าเรือข้ามฟาก (Ferries)
ท่าเรือข้ามฟากในฮ่องกง ได้แก่ Hong Kong-Macau Ferry Terminal ในเขต Central และ China Ferry Termianl ในเขต Tsim Sha Tsui ให้บริการเดินเรือจากฮ่องกงไปมาเก๊าและอีก 24 ท่าเรือในจีน ในปี 2554 มีผู้ใช้บริการท่าเรือข้ามฟากวันละ 135,600 คน
1. ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
– ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ( Hong Kong International Airport-HKIA) เป็นท่าอากาศยานที่มีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีอาคารผู้โดยสาร 2 อาคาร และมีทางวิ่ง 2 ทาง
– HKIA เปิดให้บริการในเดือน ก.ค. 2541 โดยมีหลักการ 4 ข้อ ได้แก่ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ความสะดวกสบาย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ HKIA ได้รับรางวัลท่าอากาศยานดีเด่นถึงกว่า 50 รางวัล
– ในปี 2555 HKIA รองรับผู้โดยสารจำนวน 56.5 ล้านคน และสินค้าจำนวน 4.03 ล้านตัน มีจุดหมายปลายทางทั้งหมด 170 แห่ง (50 แห่งเป็นจุดหมายปลายทางในจีน) โดยมีเที่ยวบินวันละประมาณ 100 เที่ยว ซึ่งดำเนินการโดยสายการบินต่าง ๆ กว่า 100 บริษัท
โครงการขยายทางวิ่ง ( runway) ที่ 3 ของ HKIA
– เนื่องจาก HKIA ต้องรองรับจำนวนผู้โดยสารและสินค้าที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และได้มีการคาดการณ์ว่า ระบบทางวิ่งเดิมซึ่งสามารถรองรับเที่ยวบินได้จำนวน 420,000 เที่ยว/ปี จะรองรับจำนวนผู้โดยสารและสินค้าสูงสุดได้ถึงในปี 2562-2565 เท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาบทบาทในด้านการเป็นผู้นำการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของท่าอากาศยาน HKIA จึงวางแผนขยายทางวิ่งที่ 3 โดยภายใต้ระบบทางวิ่ง 3 ทาง HKIA จะสามารถรองรับเที่ยวบินได้มากถึง 620,000 เที่ยว/ปี ซึ่งจะส่งผลให้ HKIA สามารถตอบสนองความต้องการทางการบินได้ถึงปี 2573
– ปัจจุบัน โครงการขยายทางวิ่งที่ 3 อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment-EIA) ซึ่งหากรายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล คาดว่าโครงการขยายทางวิ่งที่ 3 จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 8 ปี และจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2566 (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.threerunwaysystem.com)
2. เส้นทางการบินระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย
ปัจจุบัน มีเที่ยวบินตรงระหว่างฮ่องกง – กรุงเทพฯ เฉลี่ยวันละ 22 เที่ยวบิน จากสายการบิน 11 บริษัท ได้แก่
1) การแถลงนโยบายของผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงประจำปี ค.ศ. 2013-2014)
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2556 นาย Leung Chun-ying ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงได้แถลงนโยบายของรัฐบาล (Policy Address) ต่อสภานิติบัญญัติฮ่องกง โดยสาระสำคัญของนโยบาย สรุปดังนี้
2) การแถลงการณ์งบประมาณประจำปี ค.ศ. 2013-2014
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 นาย John Tsang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกงได้แถลงงบประมาณปี ค.ศ. 2013-2014 ต่อสภานิติบัญญัติฮ่องกง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
โอกาสทางธุรกิจ
(กรุณาคลิกที่หัวข้อเพื่ออ่านรายละเอียด)
ข้อมูลจาก InvestHK (www.investhk.gov.hk)
ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ปี 2555
1. ตัวเลขสถิติภาพรวม
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ปี 2553 | ปี 2554 | ปี 2555 | |
---|---|---|---|
ประชากร (ล้านคน) | 7.02 | 7.07 | 7.17 |
GDP (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) | 223.3 | 249.4 | 262.8 |
Real GDP Growth (ร้อยละ) | 7.1 | 5.0 | 1.4 |
GDP per Capita (ดอลลาร์สหรัฐ) | 31,800 | 34,400 | 36,800 |
อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละ) | 2.4 | 5.3 | 4.1 |
อัตราการว่างงาน (ร้อยละ) | 4.3 | 3.4 | 3.4 |
GDP / สัดส่วนทางอุตสาหกรรม
สาขาอุตสาหกรรม | ปี 2554 (HK$ million) |
---|---|
ภาคเกษตรกรรม | 885 |
ภาคการผลิต (Manufacturing) | 30,633 |
ค่าน้ำ / ไฟ / แก๊ส / การบริหารจัดการ | 34,916 |
ภาคการก่อสร้าง | 61,283 |
ภาคบริการ (รวม) | 1,695,430 |
– นำเข้า/ส่งออก, ค้าส่ง/ค้าปลีก | 445,121 |
– บริการด้านที่พักและอาหาร | 57,171 |
– บริการขนส่งและคมนาคม | 148,084 |
– ข้อมูลสารสนเทศ | 56,577 |
– การเงินและประกันภัย | 304,688 |
– บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพ และธุรกิจ | 191,984 |
– บริหารงานภาครัฐ, บริการสังคม/บุคคล | 305,123 |
– เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ | 186,681 |
ภาษี | 64,504 |
2. ตัวเลขสถิติการค้า
การค้าภายในประเทศ2553 | 2554 | 2555 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | |
Imports of goods | 3,364,840 | +25% | 3,764,596 | +11.9 | 3,912,163 | +3.9 |
Domestic exports | 69,512 | +20.4 | 65,662 | -5.5 | 58,830 | -10.4 |
Re-export | 2,961,507 | +22.8 | 3,271,592 | +10.5 | 3,375,516 | +3.2 |
Total exports | 3,031,019 | +22.8 | 3,337,253 | +10.1 | 3,434,346 | +2.9 |
Trade Balance | -333,821 | – | -427,343 | – | -477,817 | – |
ตารางการค้าบริการกับต่างประเทศของฮ่องกง
2553 | 2554 | 2555 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | |
Imports of services | 548,068 | +15.5 | 579,196 | +5.7 | N/A | N/A |
Exports of services | 626,170 | +24.9 | 706,075 | +12.8 | N/A | N/A |
Net exports | 78,102 | – | 126,879 | – | N/A | – |
ข้อมูลจาก Census and Statistics Department (www.censtad.gov.hk)
การค้ากับประเทศไทย
ตารางการค้าไทย-ฮ่องกง
2553 | 2554 | 2555 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | HK$ million | Year-on year change % | |
Imports fr om HK | 1,817.41 | +5.03 | 2,339.61 | +28.73 | 1,731.47 | -25.99 |
Exports to HK | 11,248.93 | +18.61 | 11,952.54 | +6.25 | 13,097.10 | +9.58 |
Total trade | 13,066.34 | +16.51 | 14,292.15 | +9.38 | 14,828.57 | +3.75 |
Trade balance | 9,431.52 | +21.64 | 9,612.93 | +1.92 | 11,365.63 | +18.23 |
ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. ตัวเลขสถิติการลงทุน
การลงทุนของภาครัฐในพื้นที่
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประจำปี 2556-2557 จำนวน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้
การลงทุนระหว่างประเทศ
ข้อมูลจาก Census and Statistics Department (www.censtad.gov.hk)
การลงทุนกับประเทศไทย
ในปี 2555 ฮ่องกงลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 5 รวมมูลค่าการลงทุน 12,864 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ และภาคการบริการ โดยนักลงทุนฮ่องกงเห็นว่า ไทยมีข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรและแรงงานที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นประตู (Gateway) สู่อาเซียน ในขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่า ฮ่องกงเป็นฐานที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุนในจีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta-PRD) ที่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (การค้า การลงทุนและการบริการ) กับฮ่องกงภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจจีน-ฮ่องกง (Closer Economic Partnership Arrangement-CEPA)
ข้อมูลจาก Thailand Board of Investment (www.boi.go.th)
4. ตัวเลขสถิติภาคบริการ / การท่องเที่ยว
ภาพรวมการท่องเที่ยวของฮ่องกง
ภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ฮ่องกง
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง