ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลไห่หนานได้ที่ http://www.hainan.gov.cn/code/V3/leader.php
มณฑลไห่หนานหรือมณฑลไหหลำ (海南省) ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของจีนล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งต่อมาได้ยกระดับขึ้นเป็นมณฑลและประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2531 และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งเกาะ มีพื้นที่ 35,354 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 28 ของประเทศ มณฑลไห่หนานเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจากเกาะไต้หวัน โดยทิศเหนือมีช่องแคบโฉงโจว (琼州海峡) กั้นระหว่างมณฑลไห่หนานกับมณฑลกวางตุ้ง ทิศตะวันตกมีอ่าวเหนือกั้นแดนกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันออกหันหน้าเข้าเกาะไต้หวัน ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้หันหน้าเข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์ บรูไน และมาเลเซีย ในทิศใต้นั้นมีเกาะเจิงหมู่อั้นซา (曾母暗沙) ในหมู่เกาะหนานซา (南沙) ถือเป็นเขตพรมแดนใต้สุดของจีน
ลักษณะของเกาะไห่หนานเป็นวงรีคล้ายผลสาลี่ พื้นที่ที่เป็นแผ่นดินประกอบด้วยเกาะมณฑลไห่หนาน หมู่เกาะซีซา (西沙) จงซา (中沙) และหนานซา มีพื้นที่ทางทะเลประมาณ 2 ล้านตร.กม. โดยมีช่องแคบโฉงโจวที่คั่นระหว่างคาบสมุทรเหลยโจว (雷州) ของมณฑลกวางตุ้งกับมณฑลไห่หนาน กว้างประมาณ 18 ไมล์ทะเล
มณฑลไห่หนานมีแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทาง ตอนกลางไหลผ่าน เช่น แม่น้ำหนานตู้เจียง (南渡江) ชางฮัวเจียง (昌化江) และว่านเชียนเหอ (万泉河) ไหลผ่านพื้นที่ในเกาะกว่า 47%
ข้อมูลประชากร
มณฑลไห่หนานมีประชากรทั้งสิ้น 8.86 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรอยู่ในลำดับที่ 28 ของประเทศ มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่กว่า 37 ชนเผ่า กว่า 1.45 ล้านคน หรือ 21.04% ของประชากรทั้งมณฑล ได้แก่ ชาวหลี (黎族) ม้ง/แม้ว (苗族) และหุย (回族) ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิม รวมทั้งชาวฮั่น มีสัดส่วนมากที่สุด
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของมณฑลไห่หนานเป็นแบบลมมรสุมเขตร้อน มีอากาศอบอุ่นตลอดปี ไม่มีฤดูหนาว แต่มักเกิดพายุไต้ฝุ่นบ่อยครั้ง มีฝนตกเพียงพอ ตอนกลางและชายฝั่งตะวันออกอากาศชื้น ทางฝั่ง ตะวันตกเฉียงใต้อากาศค่อนข้างแห้ง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22.8-25.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของนครไหโข่วปีที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 18.5 – 30.0 องศาเซลเซียส โดยเดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำสุดและเดือนกรกฎาคมมีอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิเฉลี่ย 25.4 องศาเซลเซียส
ทรัพยากรสำคัญ
มณฑลไห่หนานมีแร่ธาตุที่ขุดพบได้และนำมาใช้ประโยชน์กว่า 57 ชนิด โดยเฉพาะแร่อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กและดีบุก โดยมีแหล่งสำรองแร่ไทเทเนียมถึง 70% ของแหล่งสำรองรวมทั้งประเทศ และยังเป็นฐานผลิตเกลือทะเลที่สำคัญของจีน เช่น เหมืองเกลืออิ๋งเกอไห่ (Yinggehai Salt Field) ซึ่งเป็นฐานผลิตเกลือระดับต้นๆ ของจีน และยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีก ได้แก่ ทราย กระจก เซอร์โคเนียม ไพลิน คริสตัล เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
ไห่หนาน (ไหหลำ) 海南ชื่อย่อ 琼 qióng เมืองเอกไหโข่ว มณฑลไห่หนานคือมณฑลที่มีขนาดเล็กที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ สมัยโบราณดินแดนนี้ใช้เป็นสถานที่เนรเทศข้าราชการ ปัจจุบันกลายแหล่งปลูกยางพาราและมะพร้าวจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่มีชื่อ เสียง ไห่หนานยังเป็นเมืองตากอากาศชั้นแนวหน้าที่มีหาดทรายสวยงามอย่าง อ่าวย่าหลง หาดสุดทะเลจรดปลายฟ้า กวางเหลียวหลัง ยังมีแหล่งสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนอย่างวัดหนานซานที่ศักดิ์สิทธิ์
ทัศนียภาพของเกาะไหหลำรายล้อมท้องทะเลสีครามแห่งทะเลจีนใต้และเต็มไปด้วยความเป็นธรรมชาติของเมืองเขตร้อน ชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ต่างมุ่งลงมาสู่ผืนแผ่นดินใต้สุดของประเทศ เพื่อแสวงหาความสุขในช่วงวันหยุดพักผ่อนหรือช่วงที่ฤดูหนาวที่มาเยือน ท้องทะเลและหาดทรายขาวสะอาดเปรียบดั่งสวรรค์ของชาวจีนอย่างแท้จริง โดยทางรัฐบาลจีนเองก็ได้เร่งพัฒนาการท่องเที่ยวของไห่หนานให้สมกับที่ได้ ชื่อว่าเป็น “ฮาวายแห่งเอเชียตะวันออก“
(แผนที่มณฑลไห่หนาน)
การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง
ไห่หนานแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เมืองใหญ่ 6 เมืองระดับอำเภอ 4 อำเภอ 6 อำเภอปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย และ 1 สำนักงานบริหาร โดยมีนครไหโข่ว เป็นเมืองเอกของมณฑลและมีเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ นครไหโข่ว และเมืองซานย่า
– นครไหโข่ว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณปากแม่น้ำหนานตู๋เจียง มีประชากร 2.04 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่อยู่ติดกับแผ่นดินใหญ่มากที่สุด เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของมณฑลไห่นาน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของนครไหโข่ว ได้แก่ การผลิตเวชภัณฑ์ เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการเกษตรเขตร้อน การผลิตยานยนต์ พลังงานใหม่ การวิจัยนวัตกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
– เมืองซานย่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะ เป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงของมณฑลไห่หนาน เป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญและแหล่งพักผ่อนหนีหนาวที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชาวจีนและชาวต่างชาติ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการครองสัดส่วนมากถึง 65% ของ GDP ของเมือง
เลขาธิการพรรคฯ
ผู้ว่าการมณฑลไห่หนาน
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลไห่หนานได้ที่ http://www.hainan.gov.cn/code/V3/leader.php
เมืองไหโข่ว (海口)
มีพื้นที่ 2,304.8 ตร.กม. เป็นเมืองเอกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการเมืองของมณฑลไห่หนาน ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะไห่หนาน ทางเหนือใกล้กับช่องแคบโฉงโจว (琼州) อยู่ห่างจากตำบลไห่อัน (海安) เมืองจ้านเจียง ในมณฑลกวางตุ้ง 18 ไมล์ทะเลซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับมณฑลกวางตุ้งมากที่สุด
เมืองไหโข่วเป็นฐานผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Haima (ไหหม่า) ฐานการผลิตของกลุ่มเยซู่ (Yeshu) ที่ผลิตเครื่องดื่มนานาชนิด อาทิ น้ำมะพร้าว น้ำแร่ ยี่ห้อฮั่วซานเหยียน (火山岩) น้ำผลไม้ ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเครื่องดื่มที่ใช้เลี้ยงรับรองระดับชาติ รวมถึงเป็นฐานอุตสาหกรรมการบินของสายการบินไห่หนาน (Hainan Airline)
เมืองโป๋อ๋าว
ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล บริเวณปากแม่น้ำว่านเฉวียน ห่างจากไหโข่วประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดการประชุมประจำปีของ Boao Forum เป็นรูปแบบการประชุมแบบการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ทำให้ปัจจุบันรัฐบาลกำหนดแผนระยะยาวเพื่อก่อสร้างและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก โดยมีการก่อสร้างโรงแรม 25 แห่ง สนามกอล์ฟ 6 แห่ง
เมืองซ่านย่า (三亚)
มีพื้นที่ 1,919.6 ตร.กม. มีพื้นที่ทางทะเลมากถึง 5,000 ตร.ก.ม. เป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญและแหล่งพักผ่อนหนีหนาวที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชาวจีนและชาวต่างชาติ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีที่ 25.4 องศาเซลเซียส
ซ่านย่าเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่ถึง 6 แสนคน แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี มีท่าเรือเชื่อมโยงเส้นทางเรือไปยังท่าเรือใหญ่ของจีนและให้บริการเรือโดยสารและบรรทุกสินค้าไปยังฮ่องกง และยังมีสนามบินนานาชาติเฟิ่งหวงของเมืองซานย่าที่รองรับเที่ยวบิน ทั้งในและต่างประเทศ
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองไหโข่ว
海口国家高新技术产业开发区
อนุมัติก่อตั้งเมื่อปี 2534 มีพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ปัจจุบันเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองไหโข่วเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยานยนต์ พลังงานใหม่ วัสดุชนิดใหม่ และนวัตกรรมวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นความสะดวกในการขนส่ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยสะดวก
By the end of 2012, Haikou had 3 state level development zones.
Name | Area (km²) | Pillar Industries | GDP in 2010 (RMB billion) |
---|---|---|---|
Haikou Free Trade Zone | 1.93 | Bio-pharmaceuticals, automobiles, information technology | N.A. |
Hainan International Science and Technology Industrial Park | 2.77 | Bio-pharmaceuticals, microelectronics, optical-mechanical-electronic integration | N.A. |
Haikou National New Hi-Tech Industrial Development Zone | 4.67 | Electronic information, biopharmaceutical, Ocean engineering, environmental protection | N.A. |
ที่มา : http://stats.haikou.gov.cn/tzhk/kfyq/201103/t20110306_179928.html
ปัจจุบันรัฐบาลมณฑลพยายามผลักดันมณฑลไห่หนานให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนัก ท่องเที่ยวต่างชาติ โดยได้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 4 เขต ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทางชายหาดเมืองซานย่า (Sanya Beach Holiday Development Zone) เขตพัฒนาแหล่งบันเทิงและจับจ่ายสินค้านครไหโข่ว (Haikou Entertainment & Shopping Development Zone) เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชาวหลีและม้งเมืองถงซา (Tongsa Li & Miao Ethnic Traditions & Holiday Development Zone) และเขตพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนเมืองซิงหลง (Xinglong Hot-spring Resort Development Zone)
เส้นทางถนน
ระบบเส้นทางถนนโดยเฉพาะถนนเลียบชายฝั่งในมณฑลไห่หนานส่วนใหญ่ สร้างขึ้นโดยกองทัพญี่ปุ่น ที่เข้ามายึดเกาะเพื่อใช้เป็นฐานทัพทางการทหารในช่วงปี 2480-2488 และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการสร้างทางด่วนมณฑลไห่หนานเลียบชาย ฝั่งด้านตะวันออกจากไหโข่วถึงซานย่าระยะทาง 269 กม. ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างทั้งสองเมืองเหลือเพียง 4 ชม. นอกจากนี้ยังมีเส้นทางใหม่เชื่อมนครไหโข่วไปยังเขตพัฒนาเศรษฐกิจหยางผู่ (Yangpu Economic Development Zone, 洋浦经济开发区) ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะด้วย
สะพาน Qiongzhou
สะพาน Qiongzhou เป็นสะพานที่กำลังจะก่อสร้างในปี 2558 เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างเกาะไห่หนานกับแผ่นดินใหญ่ ความยาว 26.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 140 ล้านหยวน โดยมีจุดมุ่งหมายจะให้เมืองไหโข่วเป็นศูนย์กลางการคมนาคมจากทั้งเกาะสู่แผ่นดินใหญ่
รถไฟ
รัฐบาลมณฑลไห่หนานได้ทุ่มงบประมาณจำนวน 10,000 ล้านหยวน ในการดำเนินโครงการพัฒนาที่สำคัญต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น การก่อสร้างเส้นทางรถไฟมณฑลไห่หนาน-กวางตุ้ง สายแรก ซึ่งได้เปิดให้บริการไปแล้วเมื่อปี 2546 โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,500 ล้านหยวน ในช่วง 18 เดือนแรกของการเปิดให้บริการขาดทุนประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2547 ได้มีการทำข้อตกลงขนส่งแร่เหล็กและปูนซีเมนต์จากมณฑลไห่หนานไปยังจีนแผ่นดิน ใหญ่โดยใช้เส้นทางรถไฟสายนี้ ซึ่งสามารถช่วยพลิกสถานการณ์การให้บริการสายรถไฟนี้กลับมามีกำไรได้ เส้นทางรถไฟนี้วิ่งจากท่าเรือจ้านเจียงในมณฑลกวางตุ้งข้ามช่องแคบโฉงโจวเข้า มายังมณฑลไห่หนาน ระยะทางรวม 139 กม. จากนั้นมีทางรถไฟต่อโดยเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกจากนครไหโข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนานไปจนถึงเมืองซานย่า เมืองชายทะเลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ด้วยระยะทางราว 182 กม.
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง
รถไฟความเร็วสูงไหโข่ว –ซานย่า เป็นเส้นทางที่รถไฟผ่านทั้งหมด 6 เมือง/อำเภอทางภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลของมณฑลไห่หนาน เริ่มจากนครไหโข่ว (海口) ผ่านเมืองเหวินชาง (文昌) โฉงไห่ (琼海) ว่านหนิง (万宁) อำเภอหลิงสุ่ย (陵水) และสิ้นสุดที่เมืองซานย่า (三亚) ระยะทางรวม 302.11 กิโลเมตร ระยะเวลาการเดินทางจากไหโข่วถึงซานย่า 1.22 ชม.
มณฑลไห่หนานกำลังมีการขยายท่าเรือให้สามารถรองรับธุรกิจได้มากขึ้น ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือทั้งสิ้น 152 แห่ง โดยท่าเรือที่สำคัญๆ ได้แก่ ท่าเรือไหโข่ว (海口港) ท่าเรือซานย่า (三亚港) ท่าเรือหยางผู่ (洋浦港) และท่าเรือปาสั่ว (八所港) ในบริเวณท่าเรือที่สำคัญๆ นี้มีท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือขนาด 10,000 ตัน ได้ 24 แห่ง
ท่าอากาศยานที่สำคัญของมณฑลไห่หนานตั้งอยู่ในนครไหโข่วและ เมืองซานย่า ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติเหม่ยหลานในนครไหโข่ว (Haikou Meilan International Airport: HAK, 海口美兰国际机场) เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 อยู่ห่างจากนครไหโข่วประมาณ 25 กม. ถือเป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีผู้สัญจรเข้ามาใช้บริการมากที่สุดของจีน ท่าอากาศยานแห่งนี้ยังได้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ประเภท H ของฮ่องกงในปลายปี 2545 ในปี 2555 มณฑลไห่หนานรองรับผู้โดยสารจำนวน 18 ล้านคน และสินค้าจำนวน 629 ล้านตัน รองรับเส้นทางบิน 728 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางบินในประเทศ 659 เส้นทาง และระหว่างประเทศ 69 เส้นทาง
ท่าอากาศยานที่สำคัญอีกแห่งของมณฑลไห่หนาน ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติเฟิ่งหวงที่เมืองซานย่า (Sanya Phoenix International Airport: SYX, 三亚凤凰国际机场) อยู่ห่างจากตัวเมืองงซานย่าประมาณ 11 กม. เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2537 รองรับเส้นทางบิน 123 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางบินในประเทศ 93 เส้นทาง ระหว่างประเทศ 6 เส้นทาง และอีก 24 เส้นทางบินในการเช่าเหมาลำเพื่อการท่องเที่ยว
ด้านธุรกิจสายการบิน กลุ่มบริษัท Hainan Airlines Group ของมณฑลไห่หนานเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ โดยเป็นสายการบินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของจีน ซึ่งสายการบินของรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ สายการบินไชน่า เซาเทิร์นแอร์ไลน์ สายการบินแอร์ ไชน่า และสายการบินไชน่า อีสเทิร์นแอร์ไลน์ โดยสำนักงานใหญ่ของสายการบินไห่หนานแอร์ไลน์ตั้งอยู่ที่นครไหโข่ว
สายการบินที่สำคัญ
ไห่หนานแอร์ไลน์ : กรุงเทพฯ – หนานหนิง – ไห่โข่ว
ไชน่าเซาเทิร์น : กรุงเทพฯ – กว่างโจว – ไหโข่ว
แอร์ไชน่า : กรุงเทพฯ – ปักกิ่ง – ไหโข่ว
ฮ่องกงแอร์ไลน์ : กรุงเทพฯ -ฮ่องกง -ไหโข่ว
คาเธ่ย์แปซิฟิค : กรุงเทพฯ -ฮ่องกง –ไหโข่ว
1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)
2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2013
รัฐบาลมณฑลไห่หนานได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัย และพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่
** ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถือเป็นลิขสิทธิ์การจัดทำ ของศูนย์ข้อมูล เพื่อธุรกิจไทยในจีน ซึ่งท่านสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลักษณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โปรดอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลเพื่อ ธุรกิจไทยในจีน www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com” ทุกครั้ง เมื่อมีการนำข้อมูลไปใช้ต่อ
** อนึ่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมาจาก การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีนซึ่งเป็นผู้จัดทำ ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และ ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง