‘3456’ รหัสการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ของกว่างซี

14 Feb 2017

เมื่อ 23 ธ.ค.2559 คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปประจำเขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi DRC) จัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจง แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 โดยใช้รหัสว่า 3456

รหัส‘3456’ ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ของกว่างซีประกอบด้วย

เลข คือ บทบาทการเป็นเมืองผู้นำของ 3 เมืองสำคัญ ได้แก่ นครหนานหนิง เมืองหลิ่วโจว และเมืองกุ้ยหลิน

เลข 4 คือ พื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมบริการ 4 ภาคส่วน โดยหลักการรวมกลุ่มพื้นที่และแบ่งงานกันทำตามความถนัดในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่เขตอ่าวเป่ยปู้ พื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่ภาคตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางของมณฑล

เลข 5 คือเมืองที่มีอุตสาหกรรม/นโยบายส่งเสริมที่เป็นจุดแข็ง 5 เมือง ได้แก่ เมืองอู๋โจวกับเขตความร่วมมือกวางตุ้งกว่างซี เมืองเป๋ยไห่กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไฮเทค เมืองชินโจวกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการเดินเรือสมัยใหม่ เมืองยวี่หลินกับอุตสาหกรรมการค้าดั้งเดิมฉบับอัพเกรด และเมืองฉงจั่วกับนโยบายปฏิรูปการเงินตามแนวชายแดนและการค้าชายแดน

เลข 6 คือ เมืองที่มีศักยภาพแฝงในอุตสาหกรรมการบริการเฉพาะด้าน 6 เมือง ได้แก่ เมืองฝางเฉิงก่าง เมืองกุ้ยก่าง(Guigang City,贵港市) เมืองเหอฉือ(Hechi City,河池市) เมืองไป่เซ่อ(Baise City,百色市) และเมืองเฮ่อโจว(Hezhou City,贺州市)

เป้าหมายหลักของแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ของรัฐบาลกว่างซีภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 (ระหว่างปี 2559-2563) คือ

Ø  อุตสาหกรรมบริการเชิงการผลิต ได้แก่ โลจิสติกส์สมัยใหม่ การบริการข้อมูลสารสนเทศ การบริการทางการเงิน อีคอมเมิร์ซ นิทรรศการ การบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม การบริการด้านประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การบริการทางทะเล

Ø  อุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่ การท่องเที่ยวและกีฬาสันทนาการ ธุรกิจการค้า สุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ การศึกษาฝึกอบรม อสังหาริมทรัพย์

Ø  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 อัตราการเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมบริการจะต้องสูงกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่า GDP ของมณฑล โดยมีการกำหนดตัวเลขเป้าหมายไว้ที่ 10% (ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีอัตราขยายตัวเฉลี่ย 9.8%)

Ø  ในปี 2563 (ปีสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) มูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมบริการเท่ากับ 1.2 ล้านล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนราว 43%ของมูลค่า GDPทั้งมณฑล (ในปี 2553 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีสัดส่วน 35%ของมูลค่า GDP และในปี 2558 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 38.9%ของมูลค่า GDP)



บีไอซี ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมการบริการเป็นอย่างมาก การส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตบนเส้นทางดุลยภาพใหม่ (New Normal) โดยมีการปรับโครงสร้างและนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งยกระดับคุณภาพทางเศรษฐกิจ(มากกว่าเชิงปริมาณเช่นในอดีต) มีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมการบริการเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาของจีนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

สำหรับนักลงทุนไทยที่สนใจเข้ามาลงทุนในกว่างซี(รวมทั้งพื้นที่อื่นในประเทศจีน) การศึกษาและเกาะติดความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแผนแม่บทการพัฒนาในแต่ละพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละเมือง/มณฑลมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ดังนั้น นโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุนจึงมีความแตกต่างกันตามปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่

 

ลิงค์ข่าว

นครหนานหนิงรุกอุตสาหกรรมวัสดุใหม่กับอิเล็กทรอนิสก์และสารสนเทศ (08 ธ.ค. 2559)

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ข่าวยอดนิยม

อ่านข่าวอื่น

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน