วิจัยการพัฒนาคุณภาพสูงของฉงชิ่งสู่ฉงชิ่ง “แบบใหม่ ” ซึ่งเป็นจุดประกายกลไกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
22 Oct 2024ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นครฉงชิ่งได้พัฒนาการผลิตขั้นสูงและเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้มีคุณภาพ โดยในช่วงครึ่งปีแรก GDP ของนครฉงชิ่งเติบโตขึ้นร้อยละ ๖.๑ ซึ่งสูงกว่า GDP ของประเทศ และอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่มีความโดดเด่นมากขึ้น และนครฉงชิ่งได้กลับมาเป็น “เมืองยานยนต์อันดับหนึ่ง” ของประเทศอีกครั้ง
ณ ปัจจุบัน บริษัท Changan Automobile ได้ร่วมมือกับบริษัท Huawei และบริษัทอื่นๆ เพื่อผลักดัน การผลิตแบบอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอีกด้วย จึงกลายเป็นตัวขับเคลื่อนพลังงานใหม่ ที่สำคัญอีกทางเลือกหนึ่ง และยังมีอุตสาหกรรมใหญ่ในเขตหย่งชวนของนครฉงชิ่ง รวมกับบริษัทอื่นๆ กว่า ๕๐๐ แห่งไว้ด้วยกันกลายเป็นศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลในภาคตะวันตกของจีน
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลและการผลิตแบบอัจฉริยะยังขยายไปหลายด้าน รวมถึงการผลิตแบบอัจฉริยะและการจัดการดิจิทัลในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม การสร้าง “เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง” (Chengdu – Chongqing Economic Circle)[๑] ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย และเขตใหม่เกาซู่ชวน – หยู ซึ่งเป็นเขตความร่วมมือระหว่างมณฑลแห่งแรกของประเทศ ได้ผลักดันการปฏิรูป การจัดเก็บภาษีร่วมกัน อีกทั้งยังดึงดูดบริษัทจำนวนมากให้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพื่อเป็นการพัฒนาเชื่อมโยงกันในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก “เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง” มี GDP อยู่ที่ ๔๐,๓๖๕.๗ พันล้านหยวน (๕,๖๕๑.๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๗ ของภูมิภาคตะวันตกของจีน ซึ่งเป็นการช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคได้อย่างมาก
ทั้งนี้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของนครฉงชิ่งในด้านการผลิตขั้นสูงและระบบดิจิทัลมีศักยภาพในการ เปิดโอกาสสำคัญให้กับประเทศไทย ทั้งในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่และการผลิตแบบอัจฉริยะที่เติบโตในนครฉงชิ่งสามารถเป็นตัวอย่างให้กับประเทศไทยในการปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนในหลายภาคส่วน นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างบริษัทชั้นนำ เช่น บริษัท Changan Automobile และ บริษัท Huawei สามารถเป็นแนวทางให้กับบริษัทไทยในด้านการพัฒนานวัตกรรมและการผลิตอย่าง มีคุณภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตของ “เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง” ยังแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งอาจเป็นแบบอย่างสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและจีน
๑ “เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง” คือ การผลักดันการรวมตัวกันของนครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง เพื่อเป็นเวทีสำคัญสำหรับการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกในอนาคต รวมทั้งเป็นส่วนส่งเสริมการพัฒนาเมืองใหม่โดยรอบโดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมปฏิรูปทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคง ลดจุดอ่อนและสร้างจุดแข็งในระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนา ๖ ด้าน ได้แก่ (๑) การขนส่ง (๒) การท่องเที่ยว (๓) เกษตรกรรม (๔) ความปลอดภัย (๕) วัฒนธรรม และ (๖) วิทยุโทรทัศน์
ที่มา: เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๗
๑. https://news.qq.com/rain/a/20241009A00YON00
ที่มา: เข้าถึงรูปภาพวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๗
๑. https://news.qq.com/rain/a/20241009A00YON00l