ประสบการณ์ลุยแอฟริกาของผู้ผลิตรองเท้ายักษ์ใหญ่จีน : ธุรกิจการผลิตรองเท้าจีนกำลังหาทางออก
11 Nov 2013หลังจากประสบความล้มเหลวในการเจาะตลาดต่างประเทศ บริษัท Huajian ผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่ที่สุดของจีนได้หาทางออกใหม่โดยก่อตั้งฐานการผลิตรองเท้าที่ประเทศเอธิโอเปีย
นายจาง หยงหัว ประธานกรรมการบริษัท Huajian ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากการพัฒนาเป็นเวลา 2 ปี ปัจจุบัน ฐานการผลิตรองเท้าที่ประเทศเอธิโอเปียมีแรงงาน 3,000 คน และเริ่มมีผลกำไร นายจางยังเพิ่มเติมว่า หวังว่าประสบการณ์การเดินออกไปต่างประเทศของบริษัท Huajian สามารถเป็นบทเรียนของบริษัทการผลิตรองเท้าแห่งอื่น
ในช่วงเวลา 10 กว่าปีก่อน นายจางคำนึงถึงต้นทุนที่มณฑลกวางตุ้งที่นับวันสูงขึ้น และได้วางแผนการพัฒนาใหม่โดยก่อสร้างโรงงานที่ประเทศเวียดนาม แต่ไม่กี่ปีผ่านไป โรงงานที่เวียดนามก็ล้มเหลว ด้วยเหตุที่เวียดนามต้องนำเข้าวัตถุดิบจากกว่างตุ้ง ทำให้โรงงานที่เวียดนามไม่มีประสิทธิผล โดยเทียบดูแล้ว ต้นทุนการผลิตที่เวียดนามกับกว่างตุ้งก็ไม่ต่างกันมากนัก
ความล้มเหลวที่เวียดนามไม่ได้หยุดแผนการเดินออกไปต่างประเทศของบริษัท Huajian เมื่อปี 2554 บริษัท Huajian ได้ลงทุนก่อสร้างฐานการผลิตรองเท้าที่เอธิโอเปียและเริ่มใช้งานในต้นปี 2555 ซึ่งกลายเป็นบริษัทการผลิตรองเท้าแห่งแรกที่ลงทุนในแอฟริกา
นายจางระบุว่า เอธิโอเปียมีข้อได้เปรียบในธุรกิจการผลิตรองเท้าหลายประการ อาทิ เอธิโอเปียมีอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ครบวงจร ซึ่งได้อำนวยวัตถุดิบที่คุณภาพดีและราคาถูกให้แก่ธุรกิจการผลิตรองเท้า นอกจากนี้ เอธิโอเปียมีทรัพยากรแรงงานที่สมบูรณ์ ครึ่งหนึ่งของประชากร 100 ล้านคนเป็นแรงงาน จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์จีนในเดือนมิถุนายนปี 2555 คนงานที่ผลิตรองเท้าที่เอธิโอเปียได้รับค่าตอบแทนเพียง 262.8 หยวนต่อเดือน ในโครงสร้างต้นทุนของบริษัท Huajian ต้นทุนวัตถุดิบ แรงงานและค่าใช้จ่ายที่ดินครองสัดส่วนร้อยละ 50 ร้อยละ 30 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ปัจจุบัน ค่าแรงงานที่มณฑลกวางตุ้งประมาณ 2,400 – 3,000 หยวนต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าแอฟริกาเป็นอย่างมาก จากแผนการพัฒนาของนายจาง บริษัท Huajian จะลงทุน 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพื่อก่อตั้งฐานยุทธศาสตร์ที่เอธิโอเปียภายใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะสร้างตำแหน่งจ้างงาน 1 แสนตำแหน่งทในพื้นที่
ที่ผ่านมา ธุรกิจการผลิตรองเท้าของโลกได้ย้ายฐานผลิตหลายๆ ครั้งแล้ว เริ่มต้นที่ยุโรปและย้ายไปที่สหรัฐ ฯ ในปีค.ศ.1960 แล้วก็ย้ายไปที่ญี่ปุ่นและเกาหลี ต่อจากนั้นย้ายไปที่ไต้หวัน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1990 ย้ายไปที่จีนแผ่นดินใหญ่ แนวโน้มการพัฒนาของธุรกิจรองเท้าในอนาคตก็เป็นประเด็นน่าสนใจ
จากสถิติของสมาคมธุรกิจรองเท้าเอเชีย ด้วยได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น ครึ่งหนึ่งของ
ธุรกิจการผลิตรองเท้าที่มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นฐานผลิตรองเท้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกในอดีตได้ย้ายไปที่ภาคกลางและภาคตะวันตกจีน 1 ใน 3 ของธุรกิจย้ายไปที่อาเซียน โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เนื่องจากต้นทุนของอาเซียนกำลังเพิ่มสูงขึ้น ความเสี่ยงที่ย้ายฐานผลิตรองเท้าไปยังอาเซียนจึงเพิ่มมากขึ้น
นายหลิน อี้ฟู อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และรองผู้ว่าการธนาคารโลกระบุว่า ในมุนมองต้นทุน แอฟริกาเป็นแหล่งเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจการผลิตรองเท้าในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้บริษัทผลิตรองเท้าจีนเดินออกไปต่างประเทศเพื่อหาทางออกใหม่ เป็นเรื่องน่าคิดสำหรับนักลงทุนชาวไทยนะคะ