มาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจรัฐบาลเซี่ยงไฮ้และมณฑลในเขตอาณาในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19
26 Feb 20201. นครเซี่ยงไฮ้
1.1 เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2563 รบ. เซี่ยงไฮ้ออกมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในช่วงแพร่ระบาดฯ จนกว่าเหตุการณ์จะสิ้นสุดแล้วเป็นเวลา 3 เดือน โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ (1) งดค่าเช่าให้ SMEs ที่ได้เช่าอาคารสำนักงานของรัฐวิสาหกิจจีน รวมถึงเขตพัฒนาต่าง ๆ และนิคมอุตสาหกรรมในห้วงเดือน ก.พ. และ มี.ค. และอนุญาตให้เลื่อนการจ่ายภาษีออกไปไม่เกิน 3 เดือน (2) ออกมาตรการให้ ธ. ภายในเซี่ยงไฮ้เพิ่มสินเชื่อให้แก่ SMEs รวมถึงภาคเอกชนในกลุ่มการท่องเที่ยวร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และโลจิสติกส์ (3) ในกรณีที่วิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากว่าได้รับผลกระทบจากโรคระบาดฯ ได้กำหนดให้ CCPIT เซี่ยงไฮ้ออกหนังสือ force majeure ให้แก่ บ. เหล่านี้ (รายละเอียดเพิ่มเติม http://fgw.sh.gov.cn/xxgk/cxxxgk/37659.htm)
1.2 นอกจากนี้ CCPIT เซี่ยงไฮ้ยังได้ประกาศนโยบายการลงทุนที่รัฐบาลจาก 16 เขตของเซี่ยงไฮ้ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ (1) เขตใหม่ผู่ตง ผ่อนคลายมาตรการเงินกู้แก่กลุ่ม SMEs และขยายขอบเขตเวลาการคืนเงินกู้ลดต้นทุนด้านการเงินสำหรับ SMEs ในด้านการควบรวมกิจการ รวมถึงให้เงินสนับสนุนในการเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 2 เดือนแก่วิสาหกิจด้านนวัตกรรม (2) เขตเป่าซาน อนุมัติให้ SMEs ที่ได้รับอนุมัติ secured loan จากรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ไม่เกิน 3 ล้านหยวน จะได้รับ premium subsidy จากรัฐบาลร้อยละ 100 หากสามารถคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยได้ตามเวลาที่กำหนด รวมถึงมาตรการเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่มีเครดิตดี (รายละเอียดเพิ่มเติม www.cpitsh.org/page.aspx?node=17&id=8953)
1.3 โดยภายหลังการออกมาตรการดังกล่าว รัฐบาลจีนยังได้ประชาสัมพันธ์ไปยังบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนในระบบผ่านทางโทรศัพท์กว่า 2 ล้านบริษัท และบุคคลทั่วไปกว่า 10.25 ล้านราย เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยพยุงภาคธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ไปได้ควบคู่กับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดฯ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มณฑลเจ้อเจียง
2.1 คกก. ปฏิรูปฯ เจ้อเจียงคาดการณ์ผลกระทบในระยะสั้นว่า GDP ในช่วงไตรมาสแรกของเจ้อเจียงจะลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน ภาคอุตสาหกรรมและบริการได้รับผลกระทบอย่างมาก ภาคการส่งออกลดลงอย่างชัดเจน โครงการก่อสร้างใหม่ต้องเลื่อนระยะเวลาไปอย่างไม่มีกำหนด โดย SMEs ได้รับผลกระทบหนักที่สุด
2.2 มาตรการที่รัฐบาลท้องถิ่นผลักดัน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 รบ. เจ้อเจียงประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังนี้ (1) สร้างหลักประกันเรื่องสิ่งของที่จำเป็นในช่วงวิกฤต อาทิ เพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตร วัตถุดิบผลิตอาหาร (2) ช่วยลดภาระและต้นทุนให้แก่ภาคธุรกิจ อาทิ ลดภาระภาษี ลดค่าเช่าสถานประกอบการ ลดค่าสาธารณูปโภครวมถึงลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 50 แก่วิสาหกิจที่เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสฯ (4) สร้างหลักประกันด้านแรงงานให้แก่ภาคธุรกิจ อาทิ คืนเบี้ยหลักประกันสังคมให้บางส่วน (5) พยายามให้วงจรเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างสะดวก อาทิ จัดสรรเวลาการเปิดบริการของตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างมีประสิทธิภาพ (6) บ่มเพาะโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยอาศัย E-commerce เป็นพื้นฐาน (รายละเอียดเพิ่มเติม www.zj.gov.cn/art/2020/2/19/art_1228996604_41944949.html)
2.3 เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563 ศุลกากรหางโจวมีมาตรการส่งเสริมการค้า ดังนี้ (1) ดำเนินการตลอด 24 ชม. และเปิดช่องทางพิเศษสินค้าด้านเวชภัณฑ์ (2) ขยายระยะเวลาชำระภาษีสินค้านำเข้า 15 วัน และขยายเวลายื่นแบบนำเข้าสินค้าผ่านศุลกากร 14 วัน (3) เปิดแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อประสานงานระหว่าง จนท. ศุลกากรกับภาคธุรกิจ
3. มณฑลเจียงซู
3.1 คกก. ปฏิรูปฯ เจียงซูแถลงว่าเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 ว่า มีหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก อาทิ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ธุรกิจการคมนาคมและการจัดส่งพัสดุ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร โดยความต้องการสินค้าอุปโภคลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ ธุรกิจประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนแรงงาน พนักงานกลับมาทำงานได้ช้ากว่าเดิม ภาคการผลิตหยุดชะงัก เนื่องจากผลกระทบการระบบโลจิสติกส์
3.2 ภาคการส่งออกประสบปัญหา เนื่องจากบางประเทศเพิ่มเงื่อนไขการตรวจสอบกักกันโรคที่เข้มงวดขึ้น เป็นผลให้ส่งออกสินค้าได้ลดลงหรือส่งออกไม่ได้ รวมถึงอาจต้องเสียเงินค่าปรับชดเชยให้แก่คู่ค้า ตปท. เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้หรือส่งได้ช้ากว่ากำหนด
3.3 มาตรการที่ รบ. ท้องถิ่นผลักดัน เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 พณ. เจียงซูออกมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ อาทิ (1) สร้างกลไกให้บริการและช่วยเหลือประสานให้ธุรกิจต่างชาติสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ (2) พยายามสนับสนุนให้ธุรกิจที่สำคัญกลับมาทำการผลิตโดยเร็ว (3) ช่วยขจัดปัญหาขาดแคลนแรงงานให้แก่ภาคธุรกิจ (4) ช่วยภาคธุรกิจจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันไวรัสฯ (5) ปรับปรุงรูปแบบและนโยบายดึงดูดการลงทุนอย่างทันท่วงที ส่งเสริมให้โครงการลงทุนต่าง ๆ สามารถลงนามสัญญาความร่วมมือรวดเร็วกว่าเดิม เป็นต้น
3.4 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 รบ. เจียงซูประกาศโครงการลงทุน 220 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 541,000 ล้านหยวน เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสฯ โดยครอบคลุมถึงโครงการเทคโนโลยีสมัยใหม่ โครงการภาคอุตสาหกรรม โครงการด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา โครงการเพื่อคุณภาพชีวิต ปชช. และโครงการด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
3.5 ศุลกากรนครหนานจิงและศุลกากรเมืองซูโจวได้ร่วมกันพัฒนา “ระบบติดต่อประสานงานออนไลน์ระหว่างศุลกากรกับภาคธุรกิจ” เพื่ออำนวยความสะดวกให้ พนง. ภาคธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสามารถติดต่อกับ จนท. ศุลกากรและดำเนินการเกี่ยวกับพิธีศุลกากรได้โดยไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านในช่วงวิกฤตไวรัสฯ ซึ่งได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563
4. มณฑลอานฮุย
4.1 คกก. บริหารสินทรัพย์ภาครัฐอานฮุยแถลงการณ์ว่า ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบไม่มากในช่วงตรุษจีน (สิ้นเดือน ม.ค.) ขณะที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักตั้งแต่เดือน ก.พ. เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจในภาคการคมนาคมและ โลจิสติกส์ ภาคการค้า ภาคการท่องเที่ยว ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์
4.2 มาตรการที่รัฐบาลท้องถิ่นผลักดัน เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 รบ. อานฮุยประกาศนโยบายส่งเสริมการผลิตและการกลับเข้ามาทำงานของภาคเอกชน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) สนับสนุนด้านการเงิน โดย ธ. ประจำมณฑลจะให้เงินเงินกู้ยืมกลุ่ม SMEs 30,000 ล้านหยวน รวมถึงขยายเวลาการคืนเงินกู้แก่เอกชน (2) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่สำหรับภาคธุรกิจหลักต่ำกว่าร้อยละ 1.6 ลดอัตราดอกเบี้ยเดิมในกลุ่ม SMEs มากกว่าร้อยละ 10 (3) ลดค่าสาธาณณูปโภคในกลุ่ม SMEs ร้อยละ 10 ภายในเวลา 3 เดือน (4) ขยายระยะเวลาการจ่ายภาษีสำหรับ SMEs (5) งดเว้นค่าเช่าสถานที่สำหรับ SMEs ในพื้นที่ของรัฐวิสาหกิจเป็นเวลา 3 เดือน (6) ส่งเสริมการจ้างงาน โดยสัญญาแรงงานกับลูกจ้างใหม่ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปจะได้รับเงินอุดหนุน (จ่ายครั้งเดียว) จากภาครัฐ 1,000 หยวนต่อลูกจ้างใหม่หนึ่งคน (7) ยืดหยุ่นเรื่องยื่นชำระเบี้ยประกันชราภาพ เบี้ยประกันการว่างงาน โดยให้ระยะเวลาเลื่อนชำระได้ไม่เกิน 1 ปี (รายละเอียดเพิ่มเติม http://fzggw.ah.gov.cn/pub/content.jsp?newsId=659F7689-170D-42EB-BA89-325F94DB1A9F)
4.3 รบ. เหอเฟยออกมาตรการสนับสนุนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนี้ (1) กำหนดให้ รบ. ท้องถิ่นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการควบคุมไวรัสฯ ในโครงการก่อสร้าง (2) กำหนดให้นำต้นทุนด้านการป้องกันไวรัสฯ มาคำนวณเป็นต้นทุนของโครงการก่อสร้างได้ (3) ดำเนินงานตรวจสอบอนุมัติโครงการก่อสร้างผ่านระบบออนไลน์
**************************************
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน (BIC) เซี่ยงไฮ้
www.wordpress-348433-3180049.cloudwaysapps.com
กุมภาพันธ์ 2563