โอกาสส่งออกกุ้งขาวแวนนาไมไทยสู่ตลาดเสฉวน
20 Mar 2020
“กุ้งขาวแวนนาไม” หรือที่เรียกกันในไทยว่ากุ้งขาว หนึ่งในสามสายพันธุ์กุ้งที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก เป็นสินค้าประมงที่สำคัญของไทยและนิยมเพาะเลี้ยงมากขึ้นในปี 2542 เนื่องจากเป็นกุ้งที่โตเร็ว ได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากกว่ากุ้งกุลาดำ และมีความแข็งแรงจึงมีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติไปได้กว้างไกล มีระยะเวลาการเลี้ยงสั้น การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมจึงเป็นที่นิยม ปัจจุบันไทยมีการเพราะเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้นถึงร้อยละ 99 การเลี้ยงกุ้งกุลาดำเหลือเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ผลผลิตกุ้งขาวโดยส่วนใหญ่มีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ จากการจับในแหล่งน้ำและการเพาะเลี้ยง ผลผลิตกุ้งของไทยส่วน ใหญ่มาจากการเพาะเลี้ยง ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 การเพาะเลี้ยงกุ้งแวนนาไมของไทยส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางภาคใต้ตอนบน (ร้อยละ 29.93) รองลงมาคือภาคตะวันออก (ร้อยละ 24.53) ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน (ร้อยละ 18.78) ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย (ร้อยละ 15.93) และภาคกลาง (ร้อยละ 10.80) ลักษณะเฉพาะของกุ้งขาวคือ บริเวณหนามด้านบนจะหยักและถี่ ปลายกรีจะตรง เห็นลำไส้ชัดกว่ากุ้งชนิดอื่น ๆ ขณะที่โตเต็มวัยสมบูรณ์จะมีความยาวประมาณ 230 มิลลิเมตร หรือ 9 นิ้ว
สถานการณ์การส่งออกกุ้งขาวแวนาไมของไทย
ข้อมูลจากกลุ่มเศรษฐกิจการประมง ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม มีจำนวน 115,291 ตัน คิดเป็นร้อยละ 94.28 ของการผลิตกุ้งทะเลทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมลดลงร้อยละ 0.54 การส่งออกกุ้งขาวแวนนาไมของไทย ช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 มีปริมาณการส่งออก 59,767.32 ตัน มูลค่า 17,711.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.44 และคิดเป็นร้อยละ 75.02 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกกุ้งทะเลทั้งหมด การส่งออกมีปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 9.05 และ 15.45 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2561 สำหรับตลาดส่งออกหลัก คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน อาเซียน และสหภาพยุโรป คิดเป็นมูลค่าการส่งออกร้อยละ 26.43 ร้อยละ 26.34 ร้อยละ 18.87 ร้อยละ 5.25 และร้อยละ 4.23 ตามลำดับ
การส่งออกกุ้งขาวแวนนาไม เดือนมกราคม – มิถุนายน ปี 2561 และ 2562
ม.ค. – มิ.ย. 61 | ม.ค. – มิ.ย. 62 (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||||
ปริมาณ(ตัน) | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
|
กุ้งขาวแวนนาไม | 65,716.29 | 20,947.98 | 59,767.32 | 17,711.37 | -9.05 | -15.45 |
1.1 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง – แช่เย็นจนแข็ง – มีชีวิต – สด แช่เย็น – สำหรับทำพันธุ์ |
35,636.70 25,925.10 4,155.75 5,538.32 17.54 |
9,928.97 8,382.50 663.03 661.78 221.66 |
34,504.81 23,525.70 5,054.92 5,911.39 12.81 |
8,912.58 7,297.21 857.11 576.67 181.58 |
-3.18 -9.26 21.64 6.74 -26.96 |
-10.24 -12.95 29.27 -12.86 -18.08 |
1.2 ปรุงแต่ง – บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ – ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ |
30,079.59 8,170.16 21,909.43 |
11,019.01 3,373.87 7,645.14 |
25,262.51 8,058.38 17,204.12 |
8,798.79 3,131.13 5,667.66 |
-16.01 -1.37 -21.48 |
-20.15 -7.19 -25.87 |
(อ้างอิงจาก : กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง)
ปริมาณการส่งออกกุ้งขาวแวนนาไมจากไทยในประเทศต่าง ๆ
ประเทศ | ไตรมาส 1/2561 (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ไตรมาส 1/2562 (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) | |||
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
|
สหรัฐอเมริกา | 9,862 | 3,570 | 8,568 | 2,897 | -13.1 | -18.9 |
ญี่ปุ่น | 9,231 | 3,249 | 9,267 | 3,196 | 0.4 | -1.6 |
จีน | 3,921 | 953 | 5,975 | 1,536 | 52.4 | 61.1 |
เวียดนาม | 2,194 | 734 | 391 | 134 | -82.2 | -81.8 |
แคนาดา | 1,181 | 402 | 1,082 | 337 | -8.4 | -16.1 |
ออสเตรเลีย | 1,280 | 493 | 991 | 343 | -22.5 | -30.4 |
สหภาพยุโรป | 1,354 | 474 | 1,486 | 506 | 9.8 | 6.8 |
ตลาดอื่น ๆ | 8,382 | 1,759 | 8,143 | 1,604 | -2.9 | -8.8 |
รวม | 37,405 | 11,634 | 35,903 | 10,553 | -4.0 | -9.3 |
(อ้างอิงจาก : สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย)
(อ้างอิงจาก : สมาคมกุ้งไทย – รวบรวมจากกรมศุลกากร)
สำหรับรายชื่อผู้ประกอบการที่มีการส่งออกกุ้งขาวจากไทยมายังจีน (ทั้งในรูปแบบกุ้งสดแช่เย็น กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งสดที่ผ่านการปรุงแต่งแล้ว) มีจำนวน 4 บริษัท ได้แก่ (1) บริษัท Thai Royal Frozen Food จำกัด (2) บริษัท Golden Seafood International จำกัด (3) บริษัท ฝูไท่ อินเตอร์ไพร์ส จำกัด และ (4) บริษัท Thai Union Seafood จำกัด
แม้ว่าตลาดส่งออกหลักของกุ้งไทยจะยังเป็นสหรัฐฯ ปริมาณ 36,740 ตัน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 32,816 ตัน และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี 2562 จีนได้ขยับแซงสหภาพยุโรป (อียู) ขึ้นมาเป็นตลาดอันดับ 3 มีปริมาณ 22,034 ตัน สมาคมผู้ส่งออกกุ้งไทยประเมินว่าผลผลิตกุ้งในปี 2563 จะอยู่ที่ 3.5 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผลิตได้ 2.9 แสนตัน และคาดว่าการส่งออกกุ้งขาวไทยในปี 2563 จะมีมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2562 ช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรได้ปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งและเรียนรู้จัดการกับปัญหาโรคระบาดได้ดี และคาดว่าในปี 2564 ปริมาณการผลิตกุ้งขาวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 5.3 ล้านตัน แต่กุ้งขาวในจีนจะเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านตันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าการผลิตกุ้งของจีน ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจีนจึงยังต้องการนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กุ้งขาวแวนนาไมแห่งมณฑลเสฉวน
ชาวเสฉวนนิยมเรียกว่า “หนานเหม่ยไป๋ตุ้ยเซีย (南美白对虾)” รัฐบาลจีนมีการส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งตั้งแต่ปี 2521 และมีการนำกุ้งขาวแวนนาไมเข้ามาเลี้ยงในประเทศจีนครั้งแรกในปี 2541 โดยเริ่มเลี้ยงจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ และขยายลงมายังตอนใต้ ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ได้กลายมาเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งหลักของประเทศ อันเนื่องมาจากเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนาที่หนาแน่นสูง และภูมิอากาศเอื้อต่อการเลี้ยงมากกว่าทางตอนเหนือและตอนกลาง ทว่า มณฑลเสฉวน เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ไม่มีพื้นที่ติดกับทะเล แหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในมณฑลเสฉวนยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จึงไม่สามารถผลิตกุ้งได้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและยังจะต้องพึ่งพาการนำเข้าจากเมืองในแถบบริเวณชายฝั่งทะเลอยู่
แต่ในปี 2551 ได้เริ่มมีการศึกษาคว้าและทดลองรูปแบบการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์โดยรวมของมณฑลเสฉวน ทำการทดลองในเขตซวงหลิว โดยเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความเค็มต่ำ อุณภูมิต่ำและความกดอากาศต่ำกว่ามณฑลชายฝั่งทะเล ทำให้มีสีจืดกว่ากุ้งขาวที่มาจากมณฑลชายฝั่งทะเลและรสชาติไม่แตกต่างกับกุ้งจากมณฑลชายฝั่งทะเล ถือเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ จำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคม โดยส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในแถบใกล้เคียง และราคาไม่ต่างจากกุ้งขาวแวนนาไมในมณฑลที่ติดกับแถบชายฝั่งเท่าใดนัก นอกจากนั้น แหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งของมณฑลเสฉวนยังมีอยู่ที่บริเวณแถบตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑล คือ เมืองเต๋อหยาง เมืองเหมียนหยาง และเมืองเหมยซาน เนื่องจากอุณหภูมิและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะเมืองเต๋อหยางที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและสภาพของน้ำในท้องถิ่นดี โดยบ่อเพาะเลี้ยงขนาด 1.6 ไร่ สามารถผลิตกุ้งขาวปลอดสารพิษได้มากถึง 400 สร้างมูลค่าส่งออกมากกว่า 100,000 หยวน ราคากุ้งขาวในเมืองเต๋อหยางนั้นแตกต่างจากกุ้งขาวในเมืองบริเวณชายฝั่งอย่างมาก การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในมณฑลเสฉวนเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นในปี 2554 มีการผลิตกุ้งขาวได้จำนวน 30 ล้านตัว/2.4 ไร่ และในปี 2555 มีการผลิตกุ้งขาวเพิ่มมากถึง 250 ล้านตัว/2.4 ไร่
กุ้งขาวแวนนาไม ถือเป็นอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมและมีสัดส่วนการครองตลาดสูงสุดในมณฑลเสฉวน ชาวเสฉวนนิยมบริโภคกุ้งขาวที่มีขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารยอดนิยม คือ “กานกัว (干锅)” นิยมรับประทานกุ้งแบบสดมากกว่าแบบแช่แข็ง เพราะเชื่อว่ากุ้งสดจะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าแช่แข็ง มีปริมาณบรรจุประมาณ 50 ตัว/กิโลกรัม และนิยมการแช่แข็งแบบทั้งตัวเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทย ระบุว่า ขนาดกุ้งที่เป็นที่นิยมในมณฑลเสฉวนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตแต่อย่างใด เนื่องจากกุ้งจะโตตามขั้นตอนและขนาดอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อกุ้งโตและมีขนาดเท่ากับที่ผู้ประกอบการนำเข้าของมณฑลเสฉวนต้องการ ก็สามารถนำมาแช่แข็งและส่งออกได้เลย
การนำเข้ากุ้งขาวแวนนาในมณฑลเสฉวน
รายงานจากสำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า ในปี 2562 จีนนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ปริมาณ 718,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4,440 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) หากพิจารณาตามประเภทของกุ้ง พบว่า กุ้งที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ กุ้งน้ำอุ่นแช่แข็ง กุ้งน้ำเย็นแช่แข็ง และกุ้งมีชีวิต (2) หากพิจารณาตามแหล่งนำเข้ากุ้งพบว่า แหล่งนำเข้ากุ้ง 2 อันดับแรกของจีน ได้แก่ เอกวาดอร์และอินเดีย โดยมูลค่านำเข้ากุ้งจากสองประเทศดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของมูลค่านำเข้ากุ้งจากต่างประเทศทั้งหมดของจีน จีนนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์จำนวน 322,636 ตัน (ขยายตัวร้อยละ 324) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,850 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขยายตัวร้อยละ 285) และนำเข้ากุ้งจากอินเดียปริมาณ 155,027 ตัน (ขยายตัวร้อยละ 346) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 904 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขยายตัวร้อยละ 337) และความต้องการกุ้งของจีนยังมีสูงถึง 2,000,000 ตัน
มณฑลเสฉวนนำเข้ากุ้งขาวมาจากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ติดชายฝั่งของจีน อาทิ ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกว่างโจว ทั้งนี้ นครเฉิงตูก็การนำเข้าสินค้าประมงในปริมาณมากเช่นกัน ซึ่งสินค้าประมงของไทยที่นำเข้าผ่านด่านทางอากาศนครเฉิงตูที่มีจำนวนมากที่สุดคือกุ้ง ปัจจุบัน การนำเข้ากุ้งไทยมายังมณฑลเสฉวน โดยส่วนใหญ่จะขนส่งที่ปริมาณ 5 ตัน/วัน ตลาดหลักที่นำเข้ามาคือนครเฉิงตู ใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ชั่งโมง โดยขนส่งผ่านมาทางท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนั้น ร้านค้าออนไลน์ในนครเฉิงตูมีการจำหน่ายกุ้งสดจากไทย ราคาอยู่ที่ 200 หยวน/กิโลกรัม กุ้งขาวแช่แข็งแบบสุก ราคา 90 – 100 หยวน/750 กรัม และกุ้งขาวแช่แข็งแบบสดเฉลี่ย 110 – 148 หยวน/กิโลกรัม
ราคากุ้งขาวแวนนาไมในมณฑลเสฉวน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2563)
เขตพื้นที่ | ราคา |
เขตจิงหยาง เมืองเต๋อหยาง มณฑลเสฉวน | 0.03 หยวน/ตัว |
เขตตูเจียงเยี่ยน นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน | 0.03 หยวน/ตัว |
เขตฝูเฉิง เมืองเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน | 110 หยวน/กล่อง |
เขตเผิงซาน เมืองเหมยซ่าน มณฑลเสฉวน | 30 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม |
เขตชุ่ยผิง เมืองอี๋ปิน มณฑลเสฉวน | 35 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม |
ธุรกิจอาหารแช่แข็งเหิงหยวนต๋า เขตผีตู นครเฉิงตู (恒源达冷冻食品经营部) | 80 หยวน/กล่อง (1 กล่อง 10 – 17 ตัว) |
บริษัท แช่แข็ง เสฉวนการค้า จำกัด (四川深冻时代商贸有限公司) | 110 หยวน/กล่อง (1 กล่อง 2 กิโลกรัม) |
ฝ่ายการค้าช่างเหม่ยเจียหง เขตจินหนิว นครเฉิงตู (尚美佳鸿商贸部) | 85 หยวน/กล่อง (1 กล่อง 1.6 กิโลกรัม) |
(อ้างอิงจาก : https://www.cnhnb.com/hangqing/cd-2001440-2620-0-4249/)
รายชื่อผู้กระจายสินค้าสัตว์น้ำมีชีวิตและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งของไทยในมณฑลเสฉวน
1.รายชื่อผู้กระจายสินค้าสัตว์น้ำมีชีวิตและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งของไทยในมณฑลเสฉวน
บริษัท | โทรศัพท์ | E – mail | Website | สินค้า |
Chengdu City Aquatic Product Industry Association | Ms. Zheng Meiliang
+86 – 28 – 66509870 +86 – 13540739395 WechatID : meiliang55 |
[email protected] | http://www.cdscxh.cn/ | ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ |
Chengdu NanchunShiyeCo.,Ltd. | +86 – 28 – 86664220
+86 – 28 – 83250778 |
[email protected] | http://cdncsy.com | ปลา ปู กุ้งและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ |
Chengdu Cold Chain Logistic Commercial Association | +86 – 13908205379
(028)61308687 Mr. Yang Yijian |
[email protected] | – | สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ |
(อ้างอิงจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู)
2.ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง
บริษัท | โทรศัพท์ | อีเมล | เว็บไซต์ | สินค้า |
Chengdu NanchunShiyeCo.,Ltd. | +86 – 28 – 86664220
+86 – 28 – 83250778 |
[email protected] | http://cdncsy.com | ปลา ปู กุ้งและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ |
Sichuan Deep Frezelt Times Business & Trade Co., Ltd. | +86 – 13980903156
WechatID : R13980903156 |
[email protected] | – | หอย ปลาหมึก และกุ้งแช่แข็ง |
Chengdu Modern Asset Management Co., Ltd. | +86 – 13881919985 +86 – 28 – 62580938 (Mr. Yang) |
[email protected] | – | อาหารทะเลแช่แข็ง (กุ้งเป็นหลัก) |
Chengdu Cold Chain Logistic Commercial Association | +86 – 13908205379
(028)61308687 Mr. Yang Yijian |
[email protected] | – | สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ |
(อ้างอิงจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู)
3.รายชื่อผู้จัดจำหน่ายกุ้งขาวแวนนาไม (南美白对虾)ในมณฑลเสฉวน
ผู้ประกอบการ | โทรศัพท์ | ที่อยู่ |
Sichuan Deep Freeze Trading Company (四川深冻时代商贸有限公司) | หลิว อี้ฉวน
+18788219323 |
No. A-52, 1st Floor, Building 1, Qingshiqiao Farmers Market, No. 1 Qingshiqiao Middle Street, Jinjiang District, Chengdu |
Jinniu District Shangmei Jiahong Commerce Department (金牛区尚美佳鸿商贸部) | หยิน เจียหง
+19828342789
|
No.48 Yingmenkou Road , Jinniu District, Chengdu |
Shuangliu District Ruixin Danjing Commerce (双流区瑞鑫丹坭商贸部) | หลิว กั๋วเฟิง
– |
China (Sichuan) Pilot Free Trade Zone, Chengdu, No.98 Chengbai Road, Xihonggang Street ,Shuangliu District, Chengdu |
Badu District Hengyuanda Frozen Food Business (郫都区恒源达冷冻食品经营部) | เฉิน กั๋วหยุน
+13720811907 |
No. DP08-19.20, Freezing Zone, No. 889, Haibawang Road, Andu Town, Chengdu |
Badu District Jubaicui Food Management (郫都区聚百粹食品经营部) | เหยา ห่ายฮุย
– |
No. DP01-079, Freezing Zone, Chengdu Food Logistics Park, Haibawang Road, Andu Town, Chengdu |
Badu District Rongxin Frozen Food Business Department (郫都区融鑫冷冻食品经营部) | เฉิน ขุย | No. DP08-36, Freezing Zone, Chengdu Food Logistics Park, Haibawang Road, Andu Town, Chengdu |
Shexian Frozen food management (郫县半岛冷冻食品经营部) | หยาง เต๋อ | No. DP7-5, Freezing Zone, Chengdu Food Logistics Park, Haibawang Road, Yongdu Village, Chengdu |
Qingbaijiang District Tiandu Frozen Food Business Department (青白江区天度冷冻食品经营部) | จง จุ้นชิว | China (Sichuan) Pilot Free Trade Zone, No.1 Guitong North Road, Qingbaijiang District, Chengdu |
Sichuan Hongyuebo Agricultural Technology Co., Ltd. (四川宏越博农业科技有限公司) | จิน เฉิง
15208237257 |
No. 8, Group 10, Qingping Village, Longwang Town, Qingbaijiang District, Chengdu |
Huitong Department of Aquatic Products (郫都区汇通水产品经营部) | เจิ้ง เหวินทง | No. DP13-33, the frozen food area of Chengdu Food Logistics Park, Yongdu Village, Andu Town, Pidu District, Chengdu. |
(อ้างอิงจาก : https://b2b.baidu.comt)
แหล่งนำเข้าสินค้าแช่แข็งที่สำคัญในมณฑลเสฉวน
- ตลาดไห่จี๋ซิง (成都海吉星)
(อ้างอิงภาพจาก : https://ss0.bdstatic.com/)
เป็นตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร มีขนาดพื้นที่กว่า 217 ไร่ มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจีนตะวันตก ภายในแบ่งออกเป็นโซนสินค้าเกษตรประเภทต่าง ๆ อาทิ โซนผัก โซนผลไม้ โซนเนื้อสัตว์ โซนอาหารทะเลสดและแช่แข็ง และโซนขนมและของขบเคี้ยว (snack) จากที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีสินค้าเกษตรนำเข้ามาจากประเทศไทยด้วย อาทิ อาหารทะเล (กุ้ง กั้ง ปูม้า) ผลไม้ (ทุเรียน มะม่วง มังคุด กล้วยไข่) ในแต่ละปีตลาดสินค้าเกษตรแห่งนี้มีปริมาณการซื้อ – ขายสินค้าประมาณ 2 ล้านตัน มีมูลค่ากว่า 18,000 ล้านหยวน และที่สำคัญตลาดแห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรให้กับผู้บริโภคชาวเฉิงตูถึงร้อยละ 80 และกระจายไปยังเมืองและมณฑลโดยรอบของมณฑลเสฉวนอีกกว่า 20 พื้นที่ นอกจากนี้ ตลาดยังมีห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจตัวอย่างสินค้าที่ทันสมัย ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากแขนงต่าง ๆ โดยเป็นบุคคลภายนอก
- ตลาดอิ๋นลี่ (成都银犁水产市场)
(อ้างอิงภาพจาก : https://image.baidu.com/search/detail?ct=503316480&z=0&ipn=d&word=银犁市场)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 เป็นตลาดค้าส่งสินค้าแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีพื้นที่มากกว่า 120 ไร่ การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ปัจจุบันระยะแรกอยู่บนพื้นที่ 16 ไร่ ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว เป็นโกดังห้องเย็นสำหรับสินค้าแช่แข็งประเภท กุ้ง ไก่ เป็ด เนื้อวัว ฯลฯ ตลอดจนมีพื้นที่ตลาดสำหรับการค้าส่งสินค้าแช่แข็ง โดยสินค้าแช่แข็งที่อยู่ในโกดังแห่งนี้จะถูกกระจายไปทั่วประเทศ มียอดมูลค่าการซื้อขายต่อปีประมาณ 3 หมื่นล้านหยวน ปัจจุบัน ตลาดอิ๋นลี่มีการนำเข้าสินค้าทะเลแช่แข็งของไทยแล้ว นั่นก็คือกุ้ง แต่ยังมีปริมาณไม่มากนัก นอกจากนั้น บริษัท อิ๋นลี่ จำกัด ยังได้ดำเนินการก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซเพื่อจำหน่ายสินค้าแช่แข็งโดยเฉพาะ โดยมีทีมงานบริหารคอยกำกับดูแลตั้งแต่การจัดตั้งเว็บไซต์ การสั่งสินค้าออนไลน์ และการจัดส่งสินค้าอย่างครบวงจร
- ตลาดชิงสือเฉียว (成都青石桥海鲜市场)
(อ้างอิงภาพจาก : 四川在线)
เป็นตลาดค้าส่งและปลีกประเภทสัตว์น้ำมีชีวิตที่มีชื่อเสียงที่สุดในนครเฉิงตู โดยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100 ล้านหยวนต่อปี มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ตารางเมตร สำหรับสินค้าที่วางจำหน่าย ประกอบด้วย สัตว์น้ำแช่เย็นและแช่แข็ง อาทิ กุ้งมังกร หอยงวงช้าง ตะพาบน้ำ และปูม้า ในบริเวณส่วนหลังของตลาด มีตลาดขายส่งอาหารทะเล เป็นแหล่งอาหารทะเลยอดนิยมของวัยรุ่นและวัยทำงานในมณฑลเสฉวน เช่น อาหารทะเลย่างหรือผัด บนถนนความยาวไม่ถึง 200 เมตร มีร้านอาหารทะเลเรียงรายกว่า 20 ร้าน ลูกค้าสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และผู้บริโภคทั่วไป
- ห้าง Modern Trade เช่น Supermarket, Convenience Store, Mini Mart หรือร้านค้าออนไลน์ทั่วไป
อาทิ ห้างคาร์ฟูร์ ห้างญี่ปุ่นอิโตะโยกาโด (กุ้งแช่แข็ง กุ้งมีชีวิตและกุ้งสด) บริษัทจัดซื้อออนไลน์ (团购公 司)และร้านค้าออนไลน์เหม่ยช่าย (美菜) ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์แช่แข็งหรืออาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทาน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติ
ข้อควรรู้สำหรับผู้ประกอบการไทย
1. ศึกษาขั้นตอนการเคลียร์สินค้าอาหารทะเลนำเข้ามายังด่านท่าอากาศยานซวงหลิว นครเฉิงตู
2. มีใบอนุญาตการส่งออกที่ถูกต้องจากไทยและการขออนุญาตทางฝ่ายจีนเพื่อนำเข้า โดยมีเอกสารที่ครบถ้วนตามที่ Custom Immigration Quarantine (CIQ) มณฑลเสฉวนและสำนักงานศุลกากรนครเฉิงตูต้องการ
3. ผู้ส่งออกต้องส่งเอกสารเพื่อแสดงความจำนงในการส่งออกสินค้าผ่านทางอีเมลไปยัง CIQ เสฉวน ก่อนที่สินค้าจะถูกเริ่มขนส่ง เป็นเวลา 8 ชั่วโมก่อนเริ่มที่จะขนส่ง
4. ถ้าสินค้าประมงที่นำเข้ามา ระบุว่า เป็นสินค้าประเภทที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้นำเข้าต้องตรวจสอบให้ดีว่า ณ ตอนที่สินค้ามาถึงและรอ CIQ ตรวจสอบ สินค้าชนิดนั้น ๆ ยังมีชีวิตอยู่จริง หากมีการตายเกิดขึ้นเกินร้อยละ 50 CIQ เสฉวนจะส่งของคืน หรือหากมีการตายเกิดขึ้นเล็กน้อย ทาง CIQ จะนำไปตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุการตาย หากมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของผู้บริโภค CIQ จะทำลายสินค้าทิ้งทันที
5. ติดต่อบริษัทนำเข้าเพื่อเลือกเที่ยวบินที่จะนำเข้าสินค้า
6. ประมาณการค่าภาษีนำเข้าและค่าผ่านด่าน ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า ปริมาณ และระยะเวลาที่ทำธุรกิจ ร่วมกับบริษัทนำเข้า โดยสามารถติดต่อผ่านทางเว็บไซต์หรืออีเมล์ ตามรายชื่อบริษัทผู้กระจายสินค้าสัตว์น้ำมีชีวิต และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งของไทยในมณฑลเสฉวนข้างต้น หรือติดต่อผ่าน บริษัทขนส่งได้โดยตรงและหากประสงค์สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากกรมศุลกากร จีน สามารถติดต่อได้ทางเว็บไซต์ http://www.customs.gov.cn/
7. ควรมีการทดสอบตัวอย่าง (Sample test) หากสินค้าชนิดนั้นยังไม่เคยมีการนำเข้าในจีนมาก่อน
8. การตรวจสอบและพิธีการศุลกากรจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2 ชั่วโมง กรณีที่เอกสารทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่นำเข้ากุ้งมายังมณฑลเสฉวนและมหานครฉงชิ่ง ระบุว่า “ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์กุ้งถือว่าเลวร้ายมากเพราะเจอปัญหาโรคระบาด รวมทั้งราคากุ้งตกต่ำเพราะสหรัฐฯ ผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ปรับขึ้นภาษีนำเข้า และส่งผลให้กุ้งอินเดียที่ผลิตได้มากไม่สามารถส่งไปสหรัฐฯ ได้หมด จึงทำให้กดดันราคาในตลาดโลกและทำให้กุ้งไทยราคาตกลงด้วย อีกทั้งการที่เกษตรกรมีปัญหาเรื่องเงินทุน และการขาดความต่อเนื่องในการเพาะเลี้ยงกุ้ง อาจจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้จำนวนกุ้งลดน้อยลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยังเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกกุ้งด้วย”
ผู้ประกอบการไทยยังคาดด้วยว่า “ในปี 2563 สถานการณ์การผลิต การส่งออกและโรคระบาดในกุ้งจะดีขึ้น รวมทั้ง ธ.ก.ส. มีโครงการสนับสนุนเงินชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่ออัตราร้อยละ 3 ให้แก่สถาบันเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการตลาดบริโภคกุ้งทะเลในประเทศ และโครงการสนับสนุนเงินจ่ายขาดในการซื้อลูกพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมคุณภาพปลอดโรค ทั้งนี้ โครงการจะสนับสนุนเงินสมทบให้รายละไม่เกิน 40,000 บาท โดยเกษตรกรสามารถลงลูกกุ้งของโครงการ ได้ตั้งแต่ มิ.ย. 2562 – ก.พ. 2563”
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยมองว่า กุ้งจากอินเดียและกุ้งจากเวียดนามที่มีต้นทุนต่ำกว่ากุ้งของไทย และสามารถตีตลาดต่างประเทศได้มากกว่านั้นไม่เป็นอุปสรรค เนื่องจากชาวจีนบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการผลิตกุ้งในจีนยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้การขยายตลาดยังมีช่องว่างและยังต้องนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันผู้บริโภคชาวเสฉวนต้องการสินค้าที่มีได้มาตรฐานมากกว่าสินค้าราคาถูก กุ้งขาวจากไทยซึ่งมีมาตรฐานอยู่แล้ว จึงสามารถเจาะตลาดเสฉวนได้แม้ราคาจะแพงกว่ากุ้งจากประเทศอื่น สำหรับด้านการขนส่งกุ้งขาวแวนนาไมจากประเทศไทยมายังมณฑลเสฉวน ระบุว่า สามารถใช้โอกาสจากเส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง รวมเข้ากับเส้นทางรถไฟ “หรงโอว+” ได้
บทสรุป
แม้ว่าการขยายตลาดการส่งออกกุ้งขาวของไทยจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และตลาดส่งออกหลักของกุ้งไทยจะยังเป็นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แต่ในปี 2562 จีนได้ขยับแซงสหภาพยุโรปขึ้นมาเป็นตลาดอันดับ 3 แล้ว ตลาดบริโภคสินค้าประมงของจีนมีขนาดใหญ่ขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวจีนและชาวมณฑลเสฉวนมีความต้องการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น มณฑลเสฉวนเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง มองว่าไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรและการประมง สินค้ามีคุณภาพและได้มาตรฐาน พบสารปนเปื้อนน้อย แม้ผู้ประกอบการส่งออกกุ้งขาวไทยจะได้รับผลกระทบจากกุ้งเอกวาดอร์ กุ้งอินเดียและกุ้งเวียดนามที่มีราคาต่ำกว่า แต่ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน โดยปรับวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์กุ้งขาวจากไทย ปรับตัวให้สอดคล้องกับตลาดกุ้ง กำหนดระยะเวลาและขยายช่องทางการขนส่ง
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการไทย
โอกาส | o ชาวจีนบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการผลิตกุ้งในจีนยังไม่แน่นอน ส่งผลให้การขยายตลาดยังมีช่องว่าง และจึงยังต้องนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
o ผู้บริโภคชาวจีนและชาวเสฉวนให้ความเชื่อใจกับอาหารนำเข้า |
อุปสรรค | o การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงธุรกิจภาคการประมงของไทยด้วย
o ปัญหาเรื่องของราคา เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้น o ภาวะการแข่งขันในต่างประเทศ เช่น อินเดียและเวียดนามมีต้นทุนถูกกว่าไทย o เกษตรกรไทยมีปัญหาเรื่องเงินทุน การขาดความต่อเนื่องในการเพาะเลี้ยงกุ้ง o อาจมีการปลอมปนสายพันธุ์กุ้ง |
ข้อเสนอแนะ | o ภาครัฐดูแลอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลต่อราคาส่งออก
o ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค o ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง o เจรจากับตลาดคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่และทำให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยยั่งยืน o การประชาสัมพันธ์เชิงรุกการให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน การเสริมสภาพคล่อง การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการผลิต ภาคการส่งออก เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งของประเทศอยู่รอด |
แหล่งอ้างอิง (ข้อมูล)
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
- https://www.cnhnb.com/hangqing/cd-2001440-2620-0-4249/
- https://www.cnhnb.com/hangqing/cd-2001440-2620-0-4288/
- http://www.shuichan.cc/news_view-html
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/860005
- http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/923-pdf
- https://www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/Monthly%20report/Shrimp/1)%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%20%206%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%2062-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82.pdf
- http://www.thaifta.com/ThaiFTA/Portals/0/shrimp_julpdf
- http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/shrimp/history/01-03.php
- https://www.prachachat.net/economy/news-424903
- https://www.komchadluek.net/news/local/406065
- https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/CommoitiesPriceReport/CommodityReport_Q162%20%207-05-19pdf
- https://www.moc.go.th/index.php/flower-service-all-10/category/category-product004-2-copy-copy.html
- https://www.prachachat.net/local-economy/news-421696
- https://wenku.baidu.com/view/7277b7cb02020740bf1e9bhtml?from=search
- http://www.taojindi.com/xiexie/2zjcf-312576-1574725687.html
- https://www.naewna.com/local/408133
- https://b2baidu.com/ss?q=%E6%88%90%E9%83%BD%E5%8D%97%E7%BE%8E%E7%99%BD%E5%AF%B9%E8%99%BE&from=b2b_straight&srcid=5103&from_restype=product
แหล่งอ้างอิง (ภาพ)
- สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
- https://ssbdstatic.com
- https://image.baidu.com/search/detail?ct=503316480&z=0&ipn=d&word=银犁市场
- 四川在线
แหล่งอ้างอิง (ตาราง)
- กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง
- สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
- สมาคมกุ้งไทย – รวบรวมจากกรมศุลกากร
- https://www.cnhnb.com/hangqing/cd-2001440-2620-0-4249/
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
- https://b2baidu.comt
รวบรวมข้อมูล/บทวิเคราะห์โดยศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู
ภายใต้การกำกับดูแลของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู
20 มกราคม 2563