การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลเสฉวนประจำปี 2562
30 Apr 2020หากมองภาพรวมด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พัฒนาการของมณฑลเสฉวนก้าวกระโดดอย่างมาก เนื่องจากในปี 2543 รัฐบาลกลางได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคตะวันตกของจีนให้มีความเจริญ เพื่อลดปัญหาช่องว่างของการพัฒนาเมืองเมื่อเทียบกับมณฑลชายฝั่งภาคตะวันออก โดยกำหนดให้มณฑลเสฉวนเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันตกทั้ง 12 มณฑล และในปี 2562 มณฑลเสฉวนยึดถือแนวทางสังคมนิยม แนวคิดการพัฒนาใหม่ และส่งเสริมการปรับใช้กลยุทธ์การปฏิรูปสู่ภายนอก ทำให้มณฑลเสฉวนมีการพัฒนาและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในจีน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2521 มูลค่าทางเศรษฐกิจของทั้งมณฑลอยู่ที่ 18,460 ล้านหยวน และในปี 2534 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านหยวน ต่อมาในปี 2554 – 2558 มูลค่าทางเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนได้มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านหยวน และในปี 2561 มูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมดของมณฑลเสฉวนเกิน 4 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านหยวน ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี เฉลี่ยมีมูลค่าเพิ่มถึง 10,000 ล้านหยวนต่อวัน ยังคงครองอันดับที่หกของมณฑลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในระดับประเทศ และยังครองอันดับ 1 ในมณฑลที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจดีที่สุดในภูมิภาคตะวันตก โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเผยข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในมณฑลเสฉวนในปี 2562 ดังนี้
- ภาพรวมเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนในปี 2562
(อ้างอิงภาพจาก : 中商情报网)
GDP ในมณฑลเสฉวนมีมูลค่ารวม 46,615,482 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.5 โดย
1. การผลิตขั้นปฐมภูมิประมาณ 480,724 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
2. การผลิตขั้นทุติยภูมิอยู่ที่ 1,736,533 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
3. การผลิตขั้นตติยภูมิมีมูลค่าอยู่ที่ 2, 444,325 ล้านหยวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
2. ภาพรวมด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2562
อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมในมณฑลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จำนวนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 กลุ่มองค์กรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 นอกจากนั้น พบว่า อุตสาหกรรมกว่า 37 ประเภท มีมูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.2 ดังนี้
1. อุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8
2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ การผลิตอุปกรณ์การสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 3. อุตสาหกรรมสารเคมีตั้งต้นและการผลิตผลิตภัณฑ์จากเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
4. อุตสาหกรรมการผลิตยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
5. อุตสาหกรรมการหลอมโลหะ เหล็กและการแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
6. อุตสาหกรรมการผลิตไวน์ เครื่องดื่มและการผลิตชากลั่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
7. อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7
8. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า การผลิตความร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
นอกจากนั้น ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้
1. การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1
2. การผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.3
3. โทรศัพท์มือถือและการสื่อสารเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.9
4. การผลิตเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดังสูง มีมูลค่าเพิ่มถึงร้อยละ 11.7
1. การผลิตอุปกรณ์การบินและอวกาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2
2. การผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.2
3. การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในสำนักงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9
4. การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4
5. การผลิตยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
ผลกำไรในภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2562 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในมณฑลเสฉวน มีรายรับสูงถึง 3,923,168 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เป็นกำไรสุทธิรวม 2,577,700 ล้านหยวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7
3. การขยายตัวของอุตสาหกรรมภาคบริการและการลงทุน
อุตสาหกรรมภาคบริการ การเงิน ค้าส่งและค้าปลีก ด้านโลจิสติกส์ ในมณฑลเสฉวนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย
1. อุตสาหกรรมภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
2. ด้านการค้าส่งและค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
3. ด้านการการขนส่ง คลังสินค้าและบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 7
4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับที่พักและอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1
5. อุตสาหกรรมด้านการเงินขยายตัวร้อยละ 6.2
6. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 5.8
7. อุตสาหกรรมบริการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
นอกจากนั้นการลงทุนยังคงมีเสถียรภาพ การลงทุนสินทรัพย์ถาวรโดยรวมในปี 2562 ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.2 ลงทุนในอุตสาหกรรมปฐมภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 การลงทุนในอุตสาหกรรมทุติยภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และการลงทุนในอุตสาหกรรมตติยภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7
หากพิจารณาจากการลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 พื้นที่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 491,380,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 พื้นที่ของอาคารพาณิชย์สำเร็จรูป 45,800,000 ตารางเมตร ลดลง ร้อยละ 18.7 ราคาขายชั้นอาคารพาณิชย์ 129,786,000 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
4. ภาพรวมด้านการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค
ยอดค้าปลีกรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าสูงถึง 2,014,430 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ยอดค้าปลีกในเมืองมีมูลค่า 1,583,020 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ยอดค้าปลีกในชนบทจำนวน 431,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6
โดยรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่า 315,530 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 และยอดค้าปลีกสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป 1,698,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 การค้าปลีกสินค้าออนไลน์มีมูลค่าสูงถึง 101,320 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ในส่วนของยอดค้าปลีกสินค้า ได้แก่ ธัญพืช น้ำมัน อาหารและเครื่องดื่ม ยาสูบและแอลกอฮอล์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เครื่องสำอางเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ของใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 อุปกรณ์ด้านกีฬาและความบันเทิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์โสตทัศน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคของชาวเสฉวน (CPI) จากข้อมูลของสำนักงานสำรวจอัตราผู้บริโภค ระบุว่า CPI หรือดัชนีราคาผู้บริโภคของชาวเสฉวนมีอัตราเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ดัชนี CPI สูงสุดร้อยละ 2.5 และต่ำสุดร้อยละ 4 และแนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในปี 2562
5. ภาพรวมด้านการนำเข้าและส่งออก
สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศโดยรวมยังคงมีเสถียรภาพ มูลค่าการนำเข้าและส่งออกด้านการค้าระหว่างประเทศโดยรวม 676,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 จัดอยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 389,230 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และมูลค่าการนำเข้าคิดเป็น 287,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อย 9.9 คู่ค้าที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป ไต้หวันและญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 73.6 ดังนี้
1. การนำเข้าและส่งออกไปยังประเทศ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” คิดเป็นมูลค่ากว่า 197,990 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
2. การนำเข้าและส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 151,510 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
3. การนำเข้าและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าการส่งออกถึง 82,390 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7
4. การนำเข้าและส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีจำนวน 131,770 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4
5. การนำเข้าและส่งออกไปยังไต้หวัน 41,970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8
6. การนำเข้าและส่งออกไปญี่ปุ่น 38,520 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 11.5
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของมณฑลเสฉวนในไตรมาสแรกอยู่ที่ 143,690 ล้านหยวน ไตรมาสที่สองอยู่ที่ 157,040 ล้านหยวน ไตรมาสที่สามอยู่ที่ 179,190 ล้านหยวน และไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 196,670 ล้านหยวน และในเดือนธันวาคม 2562 การนำเข้าและส่งออกมีมูลค่า 63,440 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 ซึ่งมูลค่าการส่งออกคิดเป็น 35,870 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และการนำเข้ามีมูลค่า 27,570 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8
การนำเข้าและส่งออกสินค้าแปรรูปมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่ากว่า 411,110 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 คิดเป็นอัตราร้อยละ 60.8 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศของมณฑลเสฉวน และการนำเข้าและส่งออกผ่านทางการค้าโดยทั่วไปอยู่ที่ 179,080 ล้านหยวน ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 1.4
นครเฉิงตูยังคงอยู่ในอันดับแรกที่มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสูงที่สุด โดยมูลค่าการนำเข้าและส่งออกอยู่ที่ 582,270 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในเขตปลอดภาษีไฮเทคโซนของนครเฉิงตู จัดอยู่ในอันดับหนึ่งจากเขตปลอดภาษีไฮเทคโซนทั่วประเทศเป็นเวลา 21 เดือนติดต่อกัน อัตราการเติบโตของการนำเข้าและส่งออกของเมืองทางตะวันออกในมณฑลเสฉวนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของมณฑลอย่างมาก โดยเมืองหนานชง มีอัตราการนำเข้าและส่งออกเติบโตขึ้นร้อยละ 5.4 และเมืองต๋าโจว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
การส่งออกของมณฑลเสฉวนปี 2562 :
1. การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้ามูลค่า 319,740 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 คิดเป็นร้อยละ 82.1 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของมณฑลเสฉวน
2. การส่งออกของอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติมูลค่า 149,740 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4
3. การส่งออกวงจรไฟฟ้ามูลค่า 82,360 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5
4. การส่งออกรถยนต์มีมูลค่า 7,980 ล้านหยวน ลดลงกว่าร้อยละ 9.3
5. การส่งออกของสินค้าทางวัฒนธรรมมีมูลค่า 8,410 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 2.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของมณฑล
การนำเข้าของมณฑลเสฉวนปี 2562 :
1. การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคของมณฑลเสฉวนมีมูลค่ารวม 5,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
2. การนำเข้าผลไม้ เครื่องสำอาง และอาหารทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 1.6 และ 1.9 ตามลำดับ
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้ามีมูลค่า 251,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 คิดเป็นสัดส่วน 87.5 ของมูลค่าการนำเข้าในมณฑลเสฉวน
4. การนำเข้าวงจรไฟฟ้ามีมูลค่า 170,330 หยวน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.1
5. การนำเข้าสินค้าเกษตรมีจำนวน 5,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของมูลค่าการนำเข้าในมณฑลเสฉวน
การนำเข้าและส่งออกของผลิตภัณฑ์ประเภทข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นมูลค่ากว่า 417,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 และการนำเข้าและส่งออกของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการบินและอวกาศมีมูลค่า 29 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3
6. ภาพรวมด้านการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในปี 2562
บริษัทข้ามชาติที่มีการลงทุนสูงสุดในมณฑลเสฉวน ได้แก่ฮ่องกง ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แคนาดา หราชอาณาจักร โดยการลุงทุนจากฮ่องกงมีจำนวนกว่า1,280 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 37.36 การลงทุนรวม 59,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุนจากบริษัทอื่น ๆ จากประเทศในเอเชีย ทั้งหมด 2,494 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 72.79 มูลค่าการลงทุนรวม 95,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่บริษัทข้ามชาตินิยมลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) การผลิตวัตถุดิบ 2) การให้เช่าและการบริการด้านการค้า 3) การค้าส่งและค้าปลีก 4) การให้บริการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) ด้านอสังหาริมทรัพย์
มณฑลเสฉวนมีการสร้างมาตรการในการเชิญชวนและสนับสนุนนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนในพื้นที่ให้มากขึ้น อีกทั้งสร้างโอกาสให้ธุรกิจในพื้นที่ในการทำ Business Matching กับธุรกิจนอกพื้นที่และบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างหลักประกันความเสี่ยงให้แก่ภาคธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตด้วย
7. ภาพรวมด้านรายได้เฉลี่ยของประชากรและการขจัดความยากจนในปี 2562
1. รายได้เฉลี่ยของประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรายได้ต่อหัวของประชากรในเขตเมืองอยู่ที่ 36,154 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากปี 2561 และหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ส่วนรายได้ของประชากรในชนบทมีมูลค่ารวม 14,670 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และอัตราส่วนรายได้ต่อหัวของผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองและชนบทลดลงจากร้อยละ 2.49 เป็น 2.46
2. การอุปโภคและบริโภคในเขตเมืองมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อหัวของชาวเมือง 25,367 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 โดยมีการใช้จ่ายในภาคการบริการเป็น 11,536 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 การอุปโภคและบริโภคในชนบท 14,056 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 มีการใช้จ่ายในภาคบริการ 5,313 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 แสดงให้เห็นว่าการบริโภคของประชากรกำลังเปลี่ยนจากการบริโภคเพื่อยังชีพที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเป็นการบริโภคที่ตอบสนองต่อสินค้า
3. ในด้านการขจัดความยากจน ในปี 2562 มีประชาชน 187,000 คน และหมู่บ้าน 635 แห่ง ได้พ้นจากสถานะยากจน มีการลงทุนกว่า 150,000 ล้านหยวน เพื่อดำเนินโครงการขจัดความยากจนกว่า 19 โครงการดำเนินการโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตร 10,558 โครงการ
8. รายชื่อโครงการก่อสร้างที่สำคัญในมณฑลเสฉวน ปี 2562
มีโครงการสำคัญกว่า 700 โครงการในมณฑลเสฉวน ครอบคลุมถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมแพลตฟอร์มนวัตกรรม โครงการสร้างระบบนิเวศและการปกป้องสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีการลงทุนทั้งหมด 4.6 ล้านล้านหยวน ซึ่งการลงทุนโดยเฉลี่ยต่อปีสูงกว่า 570 ล้านหยวน โดยโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 274 โครงการ โครงการอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มนวัตกรรม 324 โครงการ โครงการด้านการก่อสร้างเกี่ยวกับการดำรงชีพและสังคม 58 โครงการ โครงการก่อสร้างระบบนิเวศและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 44 โครงการ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างพลังงานจลน์ใหม่ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสาหกรรม โดยสร้างระบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัยรูปแบบ “5 + 1” ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ การดำรงชีวิตที่ดีของประชาชน การปกป้องระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างโครงการที่สำคัญ ดังนี้
ชื่อโครงการ | สถานที่โครงการ | ระยะเวลาการสร้าง | |
โครงสร้างพื้นฐาน
|
สนามบินเล่อซาน | เขตอู่ทงเฉียว เมืองเล่อซาน | 2562 – 2565 |
สนามบินล่างจง | เมืองหนานชงและเมืองล่างจง | 2562 – 2565 | |
ทางรถไฟเฉิงหนานต๋าว่าน | นครเฉิงตู เมืองจือหยาง เมืองซุ่ยหนิง เมืองหนานชง และเมืองต๋าโจว | 2562 – 2566 | |
ทางรถไฟฉงชิ่ง – คุนหมิง | เมืองอี๋ปิน เมืองหลูโจว | 2562 – 2567 | |
ทางรถไฟซีหนิง – เฉิงตู | เขตอาป้า | 2562 – 2570 | |
ทางรถไฟเฉิงตู – จื้อก้ง | นครเฉิงตู เมืองจือหยาง เมืองเน่ยเจียง และเมือง จื้อก้ง | 2562 – 2566 | |
ศูนย์ขนส่งทางบก ทางน้ำและรถไฟเมืองอี๋ปิน | เขตพัฒนาเศรษฐกิจท่าเรือหลินกั่ง เมืองอี๋ปิน | 2562 – 2564 | |
เขตกักเก็บตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศสถานีเฉิงเซียง | นครเฉิงตู | 2562 – 2563 | |
ทางด่วน | เขตอู่ทงเฉียว เมืองเล่อซาน | 2562 – 2565 | |
สนามบินล่างจง | เมืองหนานชงและเมืองล่างจง | 2562 – 2565 | |
ทางรถไฟเฉิงหนานต๋าว่าน | นครเฉิงตู เมืองจือหยาง เมืองซุ่ยหนิง เมืองหนานชง และเมืองต๋าโจว | 2562 – 2566 | |
ทางรถไฟฉงชิ่ง – คุนหมิง | เมืองอี๋ปิน เมืองหลูโจว | 2562 – 2567 | |
ทางรถไฟซีหนิง – เฉิงตู | เขตอาป้า | 2562 – 2570 | |
ทางรถไฟเฉิงตู – จื้อก้ง | นครเฉิงตู เมืองจือหยาง เมืองเน่ยเจียง และเมือง จื้อก้ง | 2562 – 2566 | |
ศูนย์ขนส่งทางบก ทางน้ำและรถไฟเมืองอี๋ปิน | เขตพัฒนาเศรษฐกิจท่าเรือหลินกั่ง เมืองอี๋ปิน | 2562 – 2564 | |
เขตกักเก็บตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ สถานีเฉิงเซียง | นครเฉิงตู | 2562 – 2563 | |
ทางด่วนจากเหมียนหยาง – เฉิงตู G5 | เมืองเหมียนหยาง เมืองเต๋อหยาง นครเฉิงตู | 2562 – 2565 | |
ทางด่วนจากเซี่ยนจาว – ซีชาง G7611 | เมืองเหลียงซาน | 2562 – 2564 | |
ทางด่วนจากอี๋ปิน – เวยซิ่น | เมืองอี๋ปิน | 2562 – 2565 | |
ทางด่วนเชื่อมเขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ – ฉงไหล | นครเฉิงตู | 2562 – 2564 | |
ทางด่วนจากหลูโจว – หย่งชวน | เมืองหลูโจว | 2562 – 2565 |
9. สรุปภารกิจสำคัญของมณฑลเสฉวนในปี 2562
- วางแผนกลยุทธ์และปรับปรุงแนวคิดการพัฒนาคุณภาพสูง
- ปรับรูปแบบการลงทุนและปรับปรุงความสามารถในการเป็นผู้นำการลงทุนในระดับประเทศ
- สร้างโครงสร้างพื้นฐานในเมืองด้วยการลงทุน 140,000 ล้านหยวน
- ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการและส่งเสริมการปรับปรุงระบบการพัฒนาอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมโครงการที่สำคัญต่าง ๆ และปรับปรุงมาตรฐานการก่อสร้างโครงการนั้น ๆ
- ปฏิรูประบบการจัดการในองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
- ให้ความสำคัญกับการจ้างบุคคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพการทำงานของ
- กำจัดสิ่งปฏิกูลและพัฒนาคุณภาพอาคารที่อยู่อาศัยทั้งในเมืองและชนบทกว่า 348,000 ครัวเรือน
- ลดความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ มุ่งเน้นไปที่การปฏิรูประบบที่อยู่อาศัย การปรับปรุงคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานและมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาการก่อสร้างในเมืองให้มีคุณภาพสูง
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในมณฑลเสฉวนโดยรวม ปี 2560 – 2563
- การดำเนินการตามแนวคิดการพัฒนาใหม่และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง สำหรับพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงคือการนำนวัตกรรมมาเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนา ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงในภูมิภาคต่าง ๆ ผลักดันความร่วมมือระหว่ามณฑลเสฉวนและมหานครฉงชิ่ง เพื่อสร้างพื้นที่หลักสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่มีคุณภาพสูง สร้างเขตอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะและสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาในเขตเมืองและเมืองรอบนอกให้ดียิ่งขึ้น
- ผลักดันการขจัดความยากจน ตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อเป็นบทเรียนในการพัฒนาโครงการขจัดความยากจนต่อไป การป้องกันและควบคุมมลพิษ แก้ไขปัญหาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี
- การเร่งการก่อสร้างของระบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัยด้วยลักษณะเฉพาะตัวของมณฑลเสฉวน ส่งเสริมการสร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่รูปแบบ “5 + 1” เร่งการก่อสร้างโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่น ผลักดันการยกระดับอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ครอบคลุม และพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ นอกจากนั้น จะเร่งการสร้างระบบการเกษตรที่ทันสมัย “10 + 3” ปฏิรูปโครงสร้างด้านความต้องการด้านสินค้าการเกษตรในเชิงลึก เร่งการก่อสร้างเขตเกษตรสมัยใหม่ในระดับมณฑล สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบอุตสาหกรรมการบริการที่ทันสมัย “4 + 6” ยกระดับอุตสาหกรรมบริการเพื่อให้ชีวิตของประชาชนมีคุณภาพและมีทางเลือกในการรับบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น
- การส่งเสริม “การพัฒนาสี่ทิศและการเปิดสู่โลกภายนอก” และเร่งการสร้างที่พื้นที่สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีส่วนร่วมในการผลักดันการพัฒนาโครงการและสร้างช่องทางการขนส่งทั้งทางบก ทางราง ทางทะเล และทางอากาศที่เชื่อมต่อยังประเทศ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” มุ่งเน้นไปที่การสร้างแพลตฟอร์มการค้าเสรีระหว่างประเทศ เขตการค้าเสรีนำร่อง พื้นที่ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ เขตพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเป็นส่วนผลักดันในการเปิดประเทศได้มากยิ่งขึ้น
- ยกระดับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นและส่งเสริมส่งเสริมรัฐวิสาหกิจของประเทศ การปฏิรูปด้านการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปการเกษตรและชนบท พัฒนาระบบการดูแลระดับรากหญ้าทั้งในเมืองและชนบท และส่งเสริมการปรับโครงสร้างองค์กรระดับหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการตลาด กฎหมาย เพื่อรองรับการปฏิรูปและการพัฒนาองค์กรเอกชน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเอกชน ใช้นโยบายลดภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลดต้นทุนจากปัจจัยด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเงิน ไฟฟ้า แก๊ส แรงงาน โลจิสติกส์
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัย จัดให้มีการจ้างงานสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัย ผู้ว่างงาน แรงงานอพยพ และผู้เกษียณอายุ ปรับปรุงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เร่งสร้างระบบสาธิต “อินเทอร์เน็ต + สุขภาพทางการแพทย์” เพื่อปรับปรุงด้านการรักษาพยาบาลประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคมที่ครอบคลุม ให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ เช่นแผ่นดินไหว น้ำท่วม และดินโคลนถล่ม
เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญในมณฑลเสฉวนปี 2563
รัฐบาลมณฑลเสฉวนได้วางพื้นฐานการพัฒนา ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ เพื่อการผลักดันและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของมณฑล ตลอดจนกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเป้าหมายในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ มีดังนี้
-
- เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในปี 2563 ดังนี้
1. ในปี 2563 เป้าหมายทางเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนอยู่ที่ 4,430,000 ล้านหยวน และในปี 2565 จะมีมูลค่าถึง 4,200,000 ล้านหยวน
2. รายได้ต่อหัวของประชากรทั้งในเขตเมืองและในชนบทจะเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2555
3. ผลักดันให้นครเฉิงตูมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 7
4. ปริมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ในปี 2563 สูงถึง 2.68 ล้านล้านหยวน
5. GDP ของเขตเศรษฐกิจเสฉวนตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2563 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 690,000 ล้านหยวน
6. GDP ของเขตเศรษฐกิจเสฉวนตอนใต้ในปี 2563 มีมูลค่าอยู่ที่ 750,000 ล้านหยวน
7. GDP ของเขตเศรษฐกิจพานซี (เมืองพานจือฮวาและเขตเหลียงซาน) อยู่ที่ 310,000 ล้านหยวน และเขตเศรษฐกิจเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงเหนือได้กำหนดเป้าหมายให้มีอัตราเติบโตด้านเศรษฐกิจร้อยละ 7 ต่อปี - วงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง
- เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในปี 2563 ดังนี้
ในปี 2563 คาดว่า GDP จะมีมูลค่าสูงถึง 5,500,000 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ทั่วประเทศ ผลักดันให้นครเฉิงตูและมหานครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพสูงสามารถรองรับการพัฒนาในอนาคต เป็นหัวรถจักรชักนำความเจริญเติบโตมาสู่พื้นที่จีนภาคตะวันตกตอนใน โดยเริ่มจากการเสริมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและยกระดับการบริการสาธารณะ ในเขตชนบท รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและลดช่องว่างรายได้ของประชาชนเมืองกับชนบท นอกจากนั้น ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบอุตสาหกรรมหลักของเขตเศรษฐกิจกลุ่มเฉิงตู – ฉงชิ่ง ให้มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น โดยเร่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมสมัยใหม่ อาทิ ด้านการเพาะปลูกพืชและผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น อีกทั้งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมชั้นนำดั้งเดิม ในท้องถิ่น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์ การผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมทางเคมีและด้านการสาธารณสุข เป็นต้น ตลอดจน ยกระดับอุตสาหกรรมภาคบริการ ได้แก่ การขนส่งโลจิสติกส์ การเงินการธนาคาร การค้าขายระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยว เป็นต้น
เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่ นครเฉิงตู
คาดว่าปี 2563 อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่และอุตสาหกรรมการบริการระดับไฮเอนด์จะมีความชัดเจนขึ้น เขตชุมชนระดับสากลจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในขั้นต้น ตลอดจนเร่งบรรลุเป้าหมายของมูลค่ารวม GDP ที่จำนวน 650,000 ล้านหยวน และในปี 2564-2573 จะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเมื่อถึงปี 2573 เขตเศรษฐกิจใหม่เทียนฝู่จะกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพสำหรับการแข่งขันในตลาดโลกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลสำคัญต่อทิศทางของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเร่งบรรลุเป้าหมายของมูลค่ารวม GDP ที่จำนวน 1.2 ล้านล้านหยวน
การดำเนินงานทางเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนในปี 2562 โดยทั่วไปอาจจะยังคงเผชิญกับปัจจัยที่ไม่แน่นอนและแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้น แต่ถือว่ายังคงรักษาเสถียรภาพได้ ชาวเสฉวนมีกำลังในการบริโภคสินค้ามากยิ่งขึ้นและมณฑลเสฉวนพยายามพัฒนาให้เป็นมณฑลหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศ บวกกับการสร้างศูนย์กลางด้านการขนส่งระหว่างประเทศทำให้การพัฒนาในอนาคตอันใกล้นี้น่าจับตามองเป็นอย่างมาก
แหล่งที่มา
ฐานข้อมูลสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมพาณิชย์ประเทศจีน
1. www.bajiahao.com
2. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1656543670481765982&wfr=spider&for=pc
3. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1631161993997234444&wfr=spider&for=pc
4. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1653558956868620168&wfr=spider&for=pc
5. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1655965727612710264&wfr=spider&for=pc
6. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1629180079734103623&wfr=spider&for=pc
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติมณฑลเสฉวน
1. http://www.tjcn.org/jjfx/36142.html
2. http://www.tjcn.org/jjfx/36155.html
อื่น ๆ
- https://cbgc.scol.com.cn/news/213369?from=groupmessage
- http://www.sc.gov.cn/10462/10464/10465/10574/2020/1/21/4d7362ebb40c4d43b1f3e113f0174fdshtml
- http://sprits.cdu.edu.cn/
- http://sc.china.com.cn/2020/tuijian_0118/351356.html
- http://www.sc.gov.cn/10462/10464/10797/2020/1/19/7a8e18a564964c08bb24d69e53a5901shtml
- http://www.gov.cn/shuju/2020-01/19/content_5470590.htm
- http://www.sc.gov.cn/10462/12771/2020/1/22/6635af051bab40dea4794bdea2cf41bshtml
- http://sc.sina.com.cn/news/m/2020-01-26/detail-iihnzhhashtml
- http://gzw.sc.gov.cn/scsgzw/c100114/2020/1/19/264128b3f9d54929a7213aab77b6cshtml
- http://finance.sina.com.cn/roll/2017-05-25/doc-ifyfqvmhshtml
- https://www.sohu.com/a/342787411_120118185
- http://www.sc.gov.cn/zcwj/t.aspx?i=20200331135858-137481-00-000
- https://zhuanlan.zhihu.com/p/78699080
- http://www.sc.gov.cn/10462/10464/10797/2019/1/22/32a9f0ffc9f84488864089511c9189shtml
- https://www.sohu.com/a/376026348_607755
จัดทำโดย
เจ้าหน้าที่ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู