เมื่อไม่นานมานี้ กรมทรัพยากรมนุษย์และหลักประกันสังคมเขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi Human Resources and Social Security Department,广西人力资源和社会保障厅) ได้ประกาศเกณฑ์การปรับขึ้นเงินเดือนเพื่อให้วิสาหกิจใช้เป็นฐานอ้างอิงการปรับขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานลูกจ้างประจำปี 2559
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกว่างซี เพื่อให้ระดับรายได้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่
ในประกาศฯ รัฐบาลกว่างซีได้เสนอเกณฑ์อ้างอิงการปรับเงินเดือนสำหรับนายจ้าง (บริษัทเอกชน สมาคม รัฐวิสาหกิจ) ที่ให้แก่พนักงานลูกจ้างตามสภาพผลประกอบการ โดยเกณฑ์อ้างอิงขั้นต่ำอยู่ที่ร้อยละ 3 แต่ไม่เกินร้อยละ 12 และเกณฑ์ค่าเฉลี่ยมาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ 8 ในกรณีที่กิจการมีผลกำไรต่ำหรือขาดทุนเสนอให้มีการปรับขึ้นตามเหมาะสมโดยใช้เกณฑ์อ้างอิงขั้นต่ำเป็นมาตรฐาน
หลักเกณฑ์ที่รัฐบาลกว่างซีใช้เพื่อประกอบการพิจารณาเกณฑ์การปรับเงินเดือนวิสาหกิจในแต่ละปีใช้องค์ประกอบหลัก อาทิ ภาวะเศรษฐกิจและสังคม ภาวะเงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) รายได้เฉลี่ยของพนักงานลูกจ้างของปีก่อน รวมถึงเป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจประจำปีนั้นๆ และองค์ประกอบเสริม อาทิ สถานการณ์การจ้างงานโดยรวม ต้นทุนแรงงานวิสาหกิจ (Labor Cost) และผลประการการธุรกิจ (Benefit) เป็นต้น
เกณฑ์การพิจารณาปรับเงินเดือนพนักงานในกว่างซี ระหว่างปี 2556-2559 |
||||
ดัชนี |
ปี 2556 |
ปี 2557 |
ปี 2558 |
ปี 2559 |
เกณฑ์ต่ำสุด |
0% |
2% |
3% |
3% |
เกณฑ์เฉลี่ย |
12% |
11% |
10% |
8% |
เกณฑ์สูงสุด |
19% |
18% |
16% |
12% |
การประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวเป็นมาตรการส่วนหนึ่งของ "กลไกการเจรจาเงินเดือน" (Collective salary negotiation system) ระหว่าง 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล วิสาหกิจ และแรงงานที่รัฐบาลจีนกำลังผลักดันเพื่อใช้กำหนดเป็นกรอบมาตรฐานของการจ้างงาน อาทิ อัตราค่าจ้างสวัสดิการ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน
แม้ว่าขณะนี้ การผลักดันกลไกดังกล่าวยังมีความคืบหน้าไม่มากนักเนื่องจากกลุ่มนายจ้าง (วิสาหกิจ)ยังสงวนท่าทีต่อมีการส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งกลไกดังกล่าว ด้วยความหวั่นวิตกว่าสหภาพแรงงานบริษัทจะยื่นข้อเรียกร้องเงินเดือนที่สูงเกินไป แต่คาดหมายว่า กลไกการเจรจาเงินเดือน 3 ฝ่ายน่าจะบรรลุผลสำเร็จได้ในอนาคต
COMMENT